เลย-ปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความ เหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำน้ำลาย

เลย-ปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความ เหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำน้ำลาย

เลย-ปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความ เหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำน้ำลาย
อ.เมืองเลย จ.เลย โดยกรมชลประทานจัดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความ เหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำน้ำลาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 10 ก.พ. 2564 ณ ศาลาประชาคมอำเภอเมืองเลย จ.เลย นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำน้ำลายอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเลย โดยมี นายเริงชัย รักอยู่ ผู้อำนวยการโครงการชลประธานจังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายภาคประชาชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมจำนวนมาก

นายเริงชัย รักอยู่ ผู้อำนวยการโครงการชลประธานจังหวัดเลย กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระราชดำริกับอธิบดีกรมชลประทาน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับงานชลประทาน ให้พิจารณาวางโครงการชลประทานลุ่มน้ำเลย ต่อมาในเดือนเมษายน 2547 จังหวัดเลยได้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติและเห็นชอบ ให้กรมชลประทานจัดทำรายละเอียดโครงการ เพื่อดำเนินการพัฒนาต่อไป โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำลาย จังหวัดเลย เป็น 1 ใน 4 โครงการ ที่ได้รับความเห็นชอบกรมชลประทาน จึงมอบหมายให้ สำนักงานชลประทานที่ 5 ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และสำรวจออกแบบรายละเอียด ซึ่งหลังจากแบบ
แล้วเสร็จเมื่อมิถุนายน 2549 โดยจากการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่ขออนุญาตก่อสร้างบริเวณหัวงานและอ่างเก็บน้ำบางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูห้วยหมาก ป่าภูหอก และป่าภูบ่อบิด ในส่วนป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (โซน C) จำนวนกว่า 80 ไร่ ซึ่งเข้าข่ายประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเข้าสู่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ (คชก) เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อรายงานฯ และเสนอกรมป่าไม้ เพื่อประกอบการพิจารณาขออนุญาตใช้พื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อการก่อสร้างโครงการตามกฎหมายและระเบียบที่กำหนดต่อไป
ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดเลย กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนได้ดำเนินการจัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่มาแล้ว 3 ครั้ง คือ การประชุมปฐมนิเทศโครงการ ประชุมกลุ่มย่อย 2 ครั้ง โดยในวันนี้จะ เป็นการประชุมครั้งสุดท้าย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการประกอบด้วย ผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงเปิดโอกาสให้ทุฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนแนะต่อการพัฒนาโครงการ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ต่อไป
————————–//———————-


บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย

 

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม