กาญจนบุรี ด่วน รอง.ผู้ว่าฯประกาศเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่าง 2-4 มี.ค.อาจมีทั้ง พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า

กาญจนบุรี ด่วน รอง.ผู้ว่าฯประกาศเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่าง 2-4 มี.ค.อาจมีทั้ง พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า

กาญจนบุรี ด่วน รอง.ผู้ว่าฯประกาศเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่าง 2-4 มี.ค.อาจมีทั้ง พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า

วันนี้ 1 ก.พ.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร้อยตรี พงศธร ศิริสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ผู้อำนวยการจังหวัดกาญจนบุรี มีโทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาญจนบุรี ด่วนที่สุดที่ กจ (กอปภ.จ.) 0021/ว005 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2564 จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ผู้อำนวยการจังหวักาญจนบุรี

ถึงผู้ปฏิบัติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี, ประชาสัมพันธ์จังหวัดกาญจนบุรี, หัวหน้าส่วนราชการ, ผู้อำนวยการอำเภอ ทุกอำเภอ และผู้อำนวยการท้องถิ่นทุกแห่ง และถึงผู้รับทราบ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการกองพลหารราบที่ 9 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 17 , รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ,รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกาญจนบุรี (ฝ่ายทหาร) โดยระบุว่า ด้วยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง กอปรกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (37/2564) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 05.00 น.แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 1-4 มีนาคม 2564 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง จะมีผลกระทบในวันที่ 1-3 มีนาคม 2564 ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมถึงจังหวัดกาญจนบุรี มีผลกระทบวันที่ 2-4 มีนาคม 2564

ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ จึงให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดำเนินการดังนี้

1. ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรป้องกันผลผลิตทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายด้วย

2.ติดตามและประเมินสถานการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุหรือปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หากมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่

3.หากเกิดสถานการณ์สาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทันที โดยประสานจัดกำลังจิตอาสาเข้าร่วมปฏิบัติงานด้วย พร้อมทั้งแจ้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาญจนบุรีทราบทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์/หรสาร 034-515998 และ 034-516795 และจดหมายอี้เล็กทรอนิกส์ dpmkan@hotmail.co.th สำหรับอำเภอ ขอให้แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ (เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล) ทราบและดำเนินการด้วย./
//////////////////////////////////////////

 


ปรีชา ไหลวารินทร์ / กาญจนบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม