ศรีสะเกษ อึ้ง !! โรคพยาธิใบไม้ตับ-มะเร็งท่อน้ำดี คร่าชีวิต ปชช. เฉลี่ยวันละ 1 คน ปีละ 400 ราย เร่งรณรงค์ป้องกันเพื่อคนศรีสะเกษสุขภาพดี

ศรีสะเกษ อึ้ง !! โรคพยาธิใบไม้ตับ-มะเร็งท่อน้ำดี คร่าชีวิต ปชช. เฉลี่ยวันละ 1 คน ปีละ 400 ราย เร่งรณรงค์ป้องกันเพื่อคนศรีสะเกษสุขภาพดี

ศรีสะเกษ อึ้ง !! โรคพยาธิใบไม้ตับ-มะเร็งท่อน้ำดี คร่าชีวิต ปชช. เฉลี่ยวันละ 1 คน ปีละ 400 ราย เร่งรณรงค์ป้องกันเพื่อคนศรีสะเกษสุขภาพดี
เมื่อเร็วๆนี้ ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ นายพรชัย วงศ์งาม นายอำเภออุทุมพรพิสัย เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนวาระคนศรีสะเกษสุขภาพดี ปลอดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ โดยมี นายปรีชา ปิยะพันธ์ สาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภออุทุมพรพิสัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้การต้อนรับและร่วมกิจกรรม
นายปรีชา กล่าวว่า ด้วยจังหวัดศรีสะเกษ ให้ความสำคัญในการดำเนินงาน ตามวาระจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีทั้งหมด 10 วาระ ซึ่งโครงการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นนโยบายในการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข ตามยุทธศาสตร์ “ทศวรรษกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568” ซึ่งมีที่มาคือ โรคพยาธิใบไม้ตับ อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ-มะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปรุงจากปลาน้ำจืดมีเกล็ดดิบ ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อโดยไม่ผ่านการปรุงให้สุกด้วยความร้อน โดยปลาที่มีตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับนี้ เกิดจากการทิ้งสิ่งปฏิกูลจากรถสูบส้วมโดยไม่ผ่านการบำบัดให้ถูกวิธี ทำให้เกิดวัฏจักรวงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยคนที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีมากกว่าคนไม่เป็น 16 เท่า ซึ่งปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษ มีอัตราความชุกพยาธิ ร้อยละ 3.26 และมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งตับ-มะเร็งท่อน้ำดี ปีละประมาณ 400 คน หรือเฉลี่ยประมาณวันละ 1 คน
ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินงานลดโรคตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้กำหนดให้เป็น 1 ใน 10 วาระของจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีภารกิจประกอบด้วย การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ทำให้ปลาปราศจากตัวอ่อนพยาธิ ด้วยการสร้างระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ในการบริโภคอาหารที่ทำจากปลาดิบ-ปลาร้าดิบ ที่ต้องผ่านการปรุงให้สุกด้วยความร้อนทุกครั้ง การพัฒนาแหล่งผลิตปลาร้า-ปลาส้มให้ผ่าน GMP รวมทั้งการสร้างความรอบรู้แก่ประชาชนและนักเรียน และดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ-มะเร็งท่อน้ำดีระยะท้าย โดยบรรเทาความเจ็บปวดและเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ โดยใช้กัญชาซึ่งเป็นการแพทย์ทางเลือกใหม่ โดยจะเห็นได้ว่าการดำเนินงานที่กล่าวมาทั้งหมด จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนของภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มาของการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ในวันนี้.
************


ข่าว/ภาพ…… บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม