ราชบุรี – ปศุสัตว์จับมือส.ส.ราชบุรี และท้องถิ่นฉีดพ่นยาป้องกันโรคลัมปีสกิน

ราชบุรี – ปศุสัตว์จับมือส.ส.ราชบุรี และท้องถิ่นฉีดพ่นยาป้องกันโรคลัมปีสกิน

ราชบุรี – ปศุสัตว์จับมือส.ส.ราชบุรี และท้องถิ่นฉีดพ่นยาป้องกันโรคลัมปีสกิน

สำนักงานปศุสัตว์ราชบุรี จับมือกับ ส.ส.แคมป์ และท้องถิ่น นำน้ำยาฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค ลัมปีสกิน ที่กำลังระบาดในพื้นที่ ต.คูบัว จ.ราชบุรี ไม่ให้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง

วันที่ 18 พ.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ทางกรมปศุสัตว์ ได้คุมเข้มโรค ลัมปีสกิน และเร่งนำวัดซีลเพื่อกำจัดโรคดังกล่าวให้หมดไปโดยเร็วนั้น ทางสำนักงานปศุสัตว์จ.ราชบุรี จึงได้มีหนังสือห้ามทำการเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ ที่มีแนวโน้มแพร่ระบาดออกไปจากพื้นที่ หมู่ 6 ,13 ,14 และ15 ในพื้นที่ต.คูบัว เป็นการชั่วคราว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้นๆทุกครั้ง

ล่าสุด นายบุรินทร์ สรสิทธิ์สุขสกุล ปศุสัตว์จ.ราชบุรี พร้อมนางสาวกุลวลี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ และนายพจฐณศล ธนิกกุล นายกอบต.คูบัว ได้ลงพื้นที่นำน้ำยาฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค ลัมปีสกิน บริเวณคอกวัวของชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ 15 และ 16 ต.คูบัว อ.เมือง หลังได้รับการร้องทุกข์จากชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว จึงได้ร่วมกันนำน้ำยาเข้ามาฉีดที่มีการเกิดโรคดังกล่าวขึ้น เพื่อกำจัดแมลงตัวพาหะนำเชื้อโรค เช่น ยุง เห็บ หมัด ฯลฯ และป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ใกล้เคียง

นายบุรินทร์ สรสิทธิ์สุขสกุล ปศุสัตว์จ.ราชบุรี กล่าวว่า วันนี้ได้ออกมาช่วยชาวบ้านแก้ปัญหาโรคระบาดในวัว ซึ่งเป็นโรคหวัดใหม่ชื่อโรค รัมปีสกิน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดกับโคกะบือเท่านั้น ไม่ติดต่อถึงคน โรคนี้มีลักษณะอาการคือพอได้รับเชื้อเข้าไป ผิวหนังของวัวจะเป็นตุ่มๆ เหมือนกับคนที่เป็นอีสุกอีใส เป็นทั่วร่างกาย เท่าที่เจอมามันจะเป็นเฉพาะลูกสัตว์ที่มีอายุน้อยๆ ภูมิต้านทานน้อยๆ ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนจากแบคทีเรียหรือโรคอื่นๆ อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ แต่ในสัตว์ใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาอาจจะดูน่าเกียดผิวหนังมันจะหยองๆขนหยองๆ

ส่วนประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือในวัวนมก็สามารถติดโรคนี้ได้ หากติดในลูกวัวอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่ถ้าเป็นแม่วัว จะทำให้น้ำนมลดลง ทำให้ชาวบ้านสูญเสียรายได้ และถ้าเกิดวัวนมติดเชื้อแล้ว จะไม่สามารถส่งน้ำนมได้โรงนมได้ เนื่องจากต้องควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่พื้นที่อื่น ทางปศุสัตว์จึงต้องพยายามควบคุมไม่ให้แพร่กระจายไปยังวัวนม เพื่อไม่ให้ชาวบ้านสูญเสียรายได้จากการส่งน้ำนมขาย

ปศุสัตว์จ.ราชบุรี กล่าวต่อว่า ขณะนี้ในจ.ราชบุรี มีสองอำเภอที่ติดเชื้อ คือ อ.เมือง และอ.บ้านโป่ง การติดต่อของโรคนี้มาจากไวรัส พอสัตว์ได้รับเชื้อมันจะอยู่ในกระแสเลือด เมื่อสัตว์กินเลือด เช่น ยุง เห็บ เหลือบ ลิ้น และหมัด มากัดกินเลือดจากสัตว์ที่ติดเชื้อจะทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่สัตว์ตัวอื่น จึงมีความจำเป็นในการนำน้ำยามาฉีดพ่น เพื่อตัดวงจรพาหะนำเชื้อ ทำให้ไม่มีการแพร่กระจายของโรคต่อไป

ตอนนี้ทำกรมปศุสัตว์กำลังดำเนินการนำเข้าวัคซีล เพราะเนื่องจากเป็นโรคใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศ จึงต้องมีการสั่งนำเข้าวัคซีลจากต่างประเทศ ทำให้เกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ต้องรอวัคซีลสักระยะหนึ่ง โดยทางกรมปศุสัตว์ ด่านกักกันสัตว์ และทาง ส.ส.กุลวลี ตลอดจนส่วนงานราชการท้องถิ่น ได้ร่วมกันแก้ปัญหาอยู่ในขณะนี้

ขณะที่ น.ส.กุลวลี ส.ส.ราชบุรี กล่าวว่า อยากจะฝากถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นอบต. หรือเทศบาลสามารถที่จะลงพื้นที่ร่วมกับทางด่านกักกันสัตว์ และทางปศุสัตว์จังหวัด ในการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงตามคอก หรือเกษตรอาจจะกางมุ้งให้โคกะบือ เพื่อให้ปลอดภัยจากโรค ลัมปีสกิน ซึ่งกำลังระบาดในหมู่ที่ 14 และ 15 ต.คูบัว และพื้นที่ของต.อ่าทอง ซึ่งตอนนี้ทุกภาคส่วนกำลังพยายามที่จะจำกัดโรคดังกล่าวให้แคบที่สุด เพื่อไม่ให้กระจายไปสู่พื้นที่ตำบลข้างเคียง เพื่อลดความเสียหายให้กับพี่น้องที่เลี้ยงโคกะบือ โดยในจ.ราชบุรี โรคลัมปีสกิน นั้น ได้ระบาดอยู่ในพื้นที่ ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง และพื้นที่ หมู่ที่ 6 ,13 ,14 ,15 ต.คูบัว อ.เมือง ซึ่งคาดว่า มีสัตว์ติดเชื้อแล้วมากกว่า 300 ตัว ซึ่งถ้ามีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ก็จะสามารถยับยั้งไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อของโรคดังกล่าวไปมากกว่านี้ได้

//////////////////////////////

สุจินต์ นฤภัย(เต้) จ.ราชบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม