เชียงราย UN ติดตามโครงการช่วยเหลือประชาชนไรสถานะที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

เชียงราย UN ติดตามโครงการช่วยเหลือประชาชนไรสถานะที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

เชียงราย UN ติดตามโครงการช่วยเหลือประชาชนไรสถานะที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

เจ้าหน้าที่ UNDP ลงพื้นที่ติดตาม 7 หมู่บ้าน ดูความคืบหน้าโครงการช่วยเหลือผู้ไม่ได้รับสถานะทางทะเบียนให้สามารถช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้ หลังโควิด-19ระบาด

เจ้าหน้าที่โครงการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 นำโดย นายไกรทอง เหง้าน้อย ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ที่ปรึกษาโครงการ ได้ลงพื้นที่ จ.เชียงราย บ้านเฮโก บ้านรวมใจ บ้านกิ่วสไต ตำบลป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย บ้านป่าคาสุขใจ บ้านพนาสวรรค์ บ้านจะบูสี ตำบลแม่สลองนอก และบ้านอาโยะ ต.แม่สลองในอ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 7 หมู่บ้าน เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ

โดยโครงการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์กรสหประชาชาติ หรือ UNDP โดยได้รับงบประมาณจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อช่วยเหลือบุคคลไร้สัญชาติ หรือไม่มีสถานะทางทะเบียน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในช่วงที่ไวรัสโควิด 19 ระบาด ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวไม่ได้รับการช่วยเหลือจากสวัสดิการต่างๆของรัฐบาลเนื่องจากไม่มีสถานะทางทะเบียน

โดยมีผู้ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 107 คน แบ่งเป็น บ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 24 ราย บ้านเฮโก ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย จำนวน 23 ราย บ้านรวมใจ ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย จำนวน 10 ราย บ้านกิ่วสไต ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย จำนวน 6 ราย บ้านพนาสวรรค์ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 22 ราย บ้านจะบูสี ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 6 ราย และบ้านอาโยะตำบลแม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 16 ราย ซึ่งจากการดำเนินงานมาตั้งแต่ช่วงเดือน ก.พ.64 ที่ผ่านมา ทำให้หมู ไก่ แลปลาของผู้เข้าร่วมโครงการเริ่มขยายพันธุ์ ทำให้สามารถลี้ยงชีพได้โดยด้วยตนเอง และเหลือพอที่จะสามารถนำไปจำหน่ายในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

นายไกรทอง เหง้าน้อย กล่าวว่า การดำเนินการของโครงการ ก็เพื่อต้องการให้กลุ่มประชาชนที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากทางภาครัฐเพราะไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอายุ และไม่รู้หนังสือ ประกอบกับอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนทำให้การรับรู้เกี่ยวกับข่าวสารการลงทะเบียนต่างๆ เป็นไปได้ยาก อาจจะตกสำรวจจึงไม่ได้รับสิทธิ์ต่างๆ ซึ่งการเข้ามาช่วยเหลือเป็นการส่งเสริมให้มีอาชีพและสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ อย่างยั่งยืน แต่หากนำเงินมามอบให้ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไรมาก จึงได้จัดทำโค รงการนี้ขึ้นเพื่อช่วยเหลือบุคคลกลุ่มดังกล่าว

ด้านอรอุมา เยอส่อ เจ้าหน้าที่ประสานงานภาคสนาม ของโครงการ กล่าวว่า จากการที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดผลกระทบกับชุมชน โดยที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ทำให้ต้องกลับมาอยู่ในชุมชน กลุ่มมที่ 2 ก็คือกลุ่มครู ข้าราชการในพื้นที่ กลุ่มพัฒนาชุมชน ไม่สามารถเขาไปในพื้นที่ได้ก็ได้รับผลกระทบที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ในส่วนของชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนอยู่แล้วจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะมีพื้นฐานของการอยู่ในชุมชน อยู่แล้ว และใช้ชีวิตร่วมกับทรัพยากรที่มี สามารถหาอาหารในป่าได้ ในส่วนของข้าวสารก็จะมีการเก็บไว้ในยุ้งฉาง ทำให้มีความมั่นคงทางอาหาร และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งทรัพยากรมีจำนวนมาก และต้องการการสนับสนุนในการแปรรูปผลผลิตที่มีอยู่มากเช่น ลิ้นจี่ เชอรี่ ขนุน ผลไม้ตามฤดูกาล หากได้รับการสนับสนุนด้านการแปรรูปก็จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นรายได้ช่วยเหลือให้กับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างเช่นกลุ่มวัยรุ่นที่ตกงานและกลับเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านจะได้มีงานมีรายได้
/////////////////////////

ณัฐวัตร ลาพิงค์/เชียงราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม