ผู้ว่าสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการสุรินทร์รุ่งเรืองสู่เมืองเกษตรอินทรีย์ กับแบรนด์ “ทุเรียนเมืองช้าง” ลงมือตัดลูกทุเรียนลูกแรกของปี คาดได้ผลผลิตกว่า 5,000 ลูก

ผู้ว่าสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการสุรินทร์รุ่งเรืองสู่เมืองเกษตรอินทรีย์ กับแบรนด์ “ทุเรียนเมืองช้าง” ลงมือตัดลูกทุเรียนลูกแรกของปี คาดได้ผลผลิตกว่า 5,000 ลูก

จังหวัดสุรินทร์


สุรินทร์-ผู้ว่าสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการสุรินทร์รุ่งเรืองสู่เมืองเกษตรอินทรีย์ กับแบรนด์ “ทุเรียนเมืองช้าง” ลงมือตัดลูกทุเรียนลูกแรกของปี คาดได้ผลผลิตกว่า 5,000 ลูก
วันนี้(28 พ.ค.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านโคกกลัน หมู่ 7 ต.ปราสาททนง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการสุรินทร์รุ่งเรืองสู่เมืองเกษตรอินทรีย์ กับแบรนด์ “ทุเรียนเมืองช้าง” พร้อมกับลงมือขึ้นต้นทุเรียนตัดลูกทุเรียนลูกแรกเป็นปฐมฤกษ์ ที่ปลูกใน สวนของนางฉลอง ดุจจานุทัศน์ อายุ 56 ปี ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนจากที่เป็นแปลงนาข้าวที่เคยปลูกข้าวหอมมะลิ ขุดเป็นสระน้ำ พร้อมกีบได้นำทุเรียนพันธุ์หมอนทอง โดยตะเวนหาชื้อมาจากร้านค้าขายต้นไม้ทั่วไป เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา โดยนางฉลอง ดุจจานุทัศน์ ได้ดำเนินการเป็นปลูกในพื้นที่ดินเหนียวที่ราบ ไม่เหมือนกับการปลูกทุเรียน ในจังหวัดต่างของทางภาคตะวันออก หรือพื้นที่ในภาคอีสานด้วยกันที่ปลูกบนพื้นที่สูงตามหุบเขา ซึ่งนางฉลอง ดุจจานุทัศน์ ได้นำต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง มาปลูกบริเวณรอบสระน้ำที่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จำนวน 28 ต้น ซึ่งแต่ละต้นเริ่มออกดอกให้ผลผลิตมาแล้วในปีที่ผ่านมา ประกอบกับได้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานกรมวิชาการเกษตร คอยติดตามและให้คำแนะนำในการปลูกพร้อมกับหมั่นคอยมาดูแลผลผลิต จนกระทั่งเก็บผลผลิตได้ในวันนี้


จากนั้นนายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ขึ้นบันได ไปตัดลูกทุเรียนหมอนทอง ลูกแรกในปีนี้ พร้อมกับก็ได้เดินชมสวนทุเรียน และตัดลูกทุเรียน เป็นลูกที่สองอีกต้นหนึ่งถัดจากต้นทุเรียนที่ตัดลูกแรก และปลอกลูกทุเรียนหมอนทอง ที่นางฉลอง ดุจจานุทัศน์ เจ้าของสวนได้ตัดมาก่อนหน้านี้แล้วเมื่อวันที่ 25 พ.ค.2564 ที่ผ่านมา และแจกจ่ายแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆที่เดินทางมาชมสวน พร้อมทั้งสื่อมวลชนที่เดินทางมาเพื่อทดลองชิม ผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยส่วนราชการ ได้ทดลองชิมรสชาติของทุเรียนหมอนทองเมืองช้าง ซึ่งมีพูใหญ่เหลืองสวยงาม พร้อมกับบอกเสียงเดียวกันว่า “อร่อย แข็งนอกนุ่มใน นุ่มปากละมุนลิ้นหวานหอมไม่แพ้ทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่ที่มีชื่อเสียงในทุกจังหวัด ในพื้นที่ต่างๆที่เคยชื้อมารับประทาน
ขณะที่ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ระบุว่า ทุเรียนหมอนทอง ที่ปลูกสวนทุเรียนแห่งนี้ จะเก็บผลิตผลิตเมื่อความสุกได้ระดับ 90 % เก็บจากต้นได้ 3-4 วันก็สามารถปอกเปลือกมารับประทานได้ เพราะมีความสุกมากพอแล้ว และที่ขั้วของผลทุเรียนไม่มีการชุบน้ำยา เพื่อให้ทุเรียนเขียวตลอด แต่จะให้ทุเรียนสุกตามเวลา แม้น้ำหนักจะลดลงบ้างก็ไม่เป็นไร ทุเรียนหมอนทองที่นี่จะลูกใหญ่นำหนัก 3-4 กิโลกรัม พื้นที่ปลูกทุเรียนในจังหวัดสุรินทร์ มีถึง 7 อำเภอ คือ อ.บัวเชด, อ.กาบเชิง, อ.ศีขรภูมิ, อ.ศรีณรงค์, อ.พนมดงรัก, อ.สังขะ และ อ.ปราสาท ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน จำนวน 22 ราย โดยคาดว่าน่าจะได้ผลิตในปีนี้ประมาณ 5,435 ลูก เป็นปีแรกที่ได้ผลผลิตมาก โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกทุเรียนที่ อ.พนมดงรัก, อ.กาบเชิง, และ อ.สังขะ ซึ่งเป็นที่ราบสูงมีหุบเขาและได้มีการปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก โดยคาดว่าน่าจะให้ผลิตได้มาก และรสชาติก็ไม่แพ้ทุเรียนที่ปลูกในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ทางจังหวัดสุรินทร์ ได้มีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกร ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกพืช จากเดิมที่เคยปลูกข้าวหอมมะลิ เป็นหลัก และเป็นข้าวหอมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดมาอย่างยาวนาน ให้ปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชชนิดอื่นๆเพื่อสร้างรายได้ที่แตกต่างออกไป ตามโครงการสุรินทร์ รุ่งเรือง สู่เมืองเกษตรอินทรีย์ ซึ่งตลอดระยะเวลาในช่วง ที่ผ่านเกษตรกรในอำเภอต่างๆก้ได้ปรับเปลี่ยนจากเน้นปลูกข้าวมาปลูกไม้ผล และเลี้ยงสัตว์มากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน อย่างเช่นเกษตรกรรายนี้ถือว่าปรับพื้นที่ทำนา ในที่ราบมาปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ทำด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่น แม้จะเป็นพื้นที่ราบ ไม่เหมือนที่อื่นๆก็ประสบผลสำเร็จและเก็บผลิตมาแล้หลายปี ทางจังหวัด ก็จะให้การสนับสนุนเกษตรกรรายอื่นๆอีกต่อไป


ภาพ/ข่าว: รมิตา สิงหเสรี / ปุรุศักดิ์ แสนกล้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม ข่าววาไรตี้-ท่องเที่ยว-อาชีพ เกษตร ปศุสัตว์ เศรษฐกิจ