เลย-ทม.เลย นำชุมชนร่วมธนาคารขยะสร้างรายได้ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

เลย-ทม.เลย นำชุมชนร่วมธนาคารขยะสร้างรายได้ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

เลย-ทม.เลย นำชุมชนร่วมธนาคารขยะสร้างรายได้ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
อ.เมืองเลย จ.เลย หรือ “ธนาคารขยะรีไซเคิล” กิจกรรมที่ช่วยลดภาระการจัดการขยะ เพิ่มปริมาณการคัดแยกขยะในชุมชน แถมยังช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 3 มิ.ย.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานความก้าวหน้าของโครงการ”ธนาคารขยะหรือขยะรีไซเคิล”ของเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ว่า ตามที่ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการจัดการขยะและเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แถมยังมีแนวโน้มของปัญหาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ วัน ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ต้องเร่งหาทางแก้ไข ซึ่ง “ธนาคารขยะ” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางออกที่มีการส่งเสริมให้นำมาปรับใช้ เพื่อทำให้ประชาชนคัดแยกขยะกันมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยหารายได้เสริม และฝึกนิสัยการออมไปในตัว ว่าแต่ธนาคารขยะมีที่มาที่ไป แนวคิด กระบวนการเป็นอย่างไร และมีประโยชน์อะไรบ้าง ตามมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย มีสถานการณ์ขยะชุมชนและปัญหาจากการสำรวจข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปริมาณขยะในปี 2561 มีมากถึง 27.93 ล้านตัน นับว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณ 2.05% โดยทั้งหมดถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องประมาณ 10.85 ล้านตัน นำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณ 9.76 ล้านตัน ส่วนที่เหลืออีก 7.32 ล้านตัน ได้รับการกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งกลายเป็นต้นเหตุที่สร้างปัญหาให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ไม่ว่าจะทำให้เกิดควันหรือมลพิษทางอากาศจากการเผาขยะกลางแจ้ง มีน้ำเสียหรือมลพิษทางน้ำจากการที่ขยะตกค้างไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้บรรยากาศไม่น่าอยู่เนื่องจากมีขยะเกลื่อนพื้นและส่งกลิ่นเหม็น
นายนิคม สุระเกตุ ปลัดเทศบาลเมืองเลย กล่าวว่า เทศบาลเมืองเลย ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวนี้ จึงได้จัดตั้งกิจกรรมหรือโครงการที่ช่วยรณรงค์ให้ผู้คนรู้จักคัดแยกขยะ และนำขยะมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดขึ้น เช่น การจัดหาสถานที่ทิ้งขยะแบบแยกประเภท การรณรงค์ลดใช้โฟมและพลาสติก ศูนย์วัสดุรีไซเคิลของชุมชน ธนาคารขยะรีไซเคิล ผ้าป่ารีไซเคิล ขยะแลกไข่ และการผลิตเชื้อเพลิงเขียว คือ การซื้อ-ขายขยะภายในโรงเรียนหรือชุมชน มีกระบวนการคล้ายกับธนาคารทั่วไป โดยให้ผู้ฝากนำขยะรีไซเคิลหรือของเก่ามาให้ธนาคารแทนเงินสด หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการได้ทำการตกลงไว้กับร้านรับซื้อของเก่า จากนั้นก็แลกเปลี่ยนเป็นเงินเข้าบัญชีของผู้ฝาก ส่วนขยะที่ธนาคารรับฝากมาก็จะทำการคัดแยกและรวบรวมไว้ขายให้กับซาเล้งหรือร้านรับซื้อของเก่าต่อไป ส่วนแนวคิดหลักของการทำธนาคารขยะ ได้แก่ การกระตุ้นให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะกันมากขึ้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนและคนในชุมชนรู้จักคัดแยกขยะ หารายได้เสริม และฝึกนิสัยการออมไปในตัว ที่สำคัญคือเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนลงอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั่นเอง ที่ผ่านมาก็ได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือกับโครงการนี้ด้วยดีทุกคุ้ม ชุมชน
นายเดชา จำปาภา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม กล่าวอีกว่า เทศบาลเมืองเลย นำบุคลากรงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการโครงการ”ขยะรีไซเคิล –ธนาคารขยะ” เทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 นำแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการรับ-ฝาก ขยะรีไซเคิล แต่ละชุมชนจะดำเนินการเปิดรับขยะไม่ตรงกันแต่ละเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณของขยะในคุ้มในชุมชน นั้น ๆ เช่นที่ คุ้มวัดศรีบุญเรือง ชุมชนบ้านติ้ว ก็เปิดบริการ ณ ที่ทำการธนาคารขยะรีไซเคิล ที่มีการเปิดในทุกวันที่ 25 ของเดือน
——————–///—————-


บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม