จังหวัดเชียงราย มอบให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงรายจัดประชุมหารือส่งเสริมการสร้างงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research : CBR)
ว่าที่ ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในการประชุมส่งเสริมการสร้างงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research : CBR) เมื่อเช้าวันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2564 ที่ห้องประชุมกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงราย ชั้น 2 ศาลากลาง
จังหวัดเชียงราย ถนนแม่ฟ้าหลวง ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการแก้ไขปัญ หาไฟป่าหมอกควันและการจัดสรรการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่สอดคล้องกับความต้องการใช้และบริบทของชุมชนด้วย ซึ่งเป็นการประชุมทางไกล ถ่ายทอดสัญญาณผ่านจอภาพ (VIC) โปรแกรม Zoom Meeting จากห้องติดตามสถานการณ์ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 3 (Waroom) กองบัญซาการกองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยมีแม่ทัพภาคที่ 3 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค เป็นประธานการประชุม
โดยการประชุมในครั้ง เริ่มด้วยการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ การสังเคราะห์ระบบบัญชาการ การปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ ตลอดทั้ง ความคิดเห็นจากหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบจำลองในการบัญชาการเหตุการณ์ในห้วงต่อไป
ซึ่งการนำบทเรียนมาสังเคราะห์ ทำให้เห็นสภาพแวดล้อม องค์ประกอบ ตลอดทั้ง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัจจัยเอื้อ ปัญหาอุปสรรค ข้อขัดข้อง ข้อจำกัด เพื่อนำไปสู่การทำ swot analysis ให้ทราบแนวทางในการดำเนินงานในสถานการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้อย่างแม่นยำ
ทั้งนี้ การบริหารจัดการสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของจังหวัดเชียงรายในห้วงปี 2563-2564 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลจุดความร้อน(Hotspots) “ลดลง” เมื่อเปรียบเทียบกับ ห้วงปี 2561-2562 โดยจังหวัดเชียงรายยังต้องกำหนดแนวทางเพื่อเสริมศักยภาพของท้องถิ่นและชุมชนในการอยู่ร่วมและใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน ตลอดจนการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างจิตสำนึกและการสร้างการมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนในจังหวัด เพื่อเข้าสู่การเป็น “ชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” Green Cty อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งผลักดันความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนกับประเทศภาคีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว โดยประเทศภาคีต้นเหตุจะต้องตอบสนองปัญหาและแก้ไขสถานการณ์การเผาอย่างทันท่วงทีด้วย ภายใต้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการกำหนดแนวทางในการจัดสรรงบประมาณและสวัสดิการให้กับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ เพื่อสร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน การกำหนดห้วงห้ามเผาของ 9 จังหวัดภาคเหนือ ควรเป็นไปในช่วงเวลาเดียวกัน ควรกำหนดแนวทางปฏิบัติงาน (SOP) หากมีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน และส่งเสริมการสร้างงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research : CBR) เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและการจัดสรรการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่สอดคล้องกับความต้องการใช้และ
บริบทของชุมชน
อย่างไรก็ตาม ได้มีการเปรียบเทียบสถานการณ์คุณภาพอากาศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 30 เมบายน 2564 ด้านจุดความร้อนสะสม (Hotspot) จังหวัดเชียงราย เปรียบเทียบจุดความร้อนสะสมแยกตามรายเดือน ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ VIRS พบว่า เดือนธันวาคม 2563 และมกราคม 2564มีจุดความร้อนสะสมเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 4.42 และร้อยละ 29.50 ตามลำดับ ทั้งนี้ พบว่าในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน 2564 มีจุดความร้อนสะสมลดลงมากกว่าร้อยละ 80 (เดือน ก.พ. ลดลงสูงสุดร้อยละ 93.61 โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจุดความร้อนแยกรายอำเภอ (18 อำเภอ) พบว่า 16 อำเภอ มีจุดความร้อนลดลงมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าบรรลุผลตามค่าเป้าหมายหลักของตัวชี้วัดที่จังหวัดกำหนด กล่าวคือ จุดความร้อนสะสมลดลงจากปี 2563 อย่างน้อยร้อยละ 20 ซึ่งการลดลงของจุดความร้อนสะสมในห้วง
ระยะเวลาดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดของจังหวัดที่ขยายระยะเวลาจากเดิม 60 วัน (22 ก.พ. – 21 เม.ย.63) เป็น 90 วัน (1 ก.พ.-30 เม.ย.64) การจัดชุดลาดตระเวนประจำตำบลเสี่ยง/หมู่บ้านเสี่ยง และการประชาสัมพันธ์เชิงรุกทุกช่องทางทั้งทาง On Site , On Air, Online , On Hand , On Ground และ On Demand ซึ่งพุ่งเป้าการสื่อสารไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเผา ด้วยภาษาและพฤติกรรมการใช้สื่อที่
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้โดยง่าย
อีกทั้ง จำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2 เกินมาตรฐาน (ห้วงเดือน ธ.ค. – เม.ย.) พบว่า จำนวนวันที่ PM เกินค่ามาตรฐาน ในปี 2564 มีจำนวนลดลง ทั้ง 2 สถานีตรวจวัด แต่พบวาค่าสูงสุดที่ตรวจพบ ณ สถานีตรวจวัด ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย สูงกว่ากว่า ปี 2563 (ปี 2564 มีค่า 402 มคก./ลบ.ม. และปี 2563มีค่า 366 มคก./ลบ.ม.)
อนึ่ง จังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2s ตามแนวทางของปีก่อนหน้า ซึ่งสามารถควบคุมจุดความร้อนที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี โดยในปี 2564 ได้เพิ่มความเข้มข้นของการประชาสัมพันธ์ชิงรุกด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเผา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสะสมของฝุ่นละอองในพื้นที่และการสื่อสารด้านความเสี่ยงต่อสุขภาพให้เข้มข้นขึ้น เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาตของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ยังคงให้ความสำคัญกับการการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด การลดปริมาณเชื้อเพลิง และการทำเกษตรปลอดการเผา ตลอดจนการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดเขตรอยต่อเพื่อให้การควบคุมการสะสมของฝุ่นละอองและการเผาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย
…………………………………..
ชาติณรงค์ ปัญญาฟู……
ข่าวจังหวัด เชียงราย…..