อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ เตรียมปรับปรุงครั้งใหญ่แหล่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้กับพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง พร้อมกับเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำของชุมชน

อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ เตรียมปรับปรุงครั้งใหญ่แหล่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้กับพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง พร้อมกับเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำของชุมชน

อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านนาดี หมู่ ที่ 2 ต.ยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีขนาดความจุ 7.675 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างเสร็จปี 2497 โดยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโครงการชลประทาน จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันนับว่ามีการใช้งานมา 67 ปีแล้ว


โดยปี 2562 – 2563 ได้ดำเนินการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ในปริมาน 1.25ล้านลูกบาศก์เมตร งานท่อรับน้ำจำนวน 20 แห่ง ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น พร้อมเสริมสันบาน แบบฝายพับได้ โดยสามารถยกระดับกักเก็บน้ำขึ้นได้ 0.5 เมตร คิดเป็นปริมานน้ำ 3.38 ล้านลูกบาศก์เมตร และเสริมสันทำนบดิน สูงขึ้นอีก 0.5 เมตร ยาว 640 เมตร
โดยในปี 2564 ได้ทำการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ต่ออีกในปริมาน 10.25 ล้านลูกบาศก์เมตร งานท่อ 40 แห่ง งานอาคารระบายน้ำ 3 แห่ง และงานก่อสร้างถนนยางพาราแอสพาติก รอบอ่างเก็บน้ำ ขนากกว้าง 12 เมตร ยาว 1,000 เมตร ซึ่วจะได้ดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จในปี 2565 โดยทำถนนยาวพาราแอสพาติก รอบอ่างเก็บน้ำ ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 14,000 เมตต พร้อมระบบจ่ายไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์


ซึ่งที่ตั้งโครงการนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองแุบลราชธานีเพียง 17 กิโลเมตรเท่านั้น โดยในโครงการจะขุดนำดินขึ้นมาเป็นรูปดอกบัวและใบบัว ซึ่วเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ในโครงการขึ้ยมาอีกหลายร้อยไร่ ซึ่งมากพอที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย
สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้รอบอ่างยังได้ใช้น้ำที่จพจ่ายไปตามคลองชลประทานที่จะใช้ทั้งการเกษตร โครการบริหารจัดการของโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชบประทาน
โดยจากโครงการดังกล่าว หากแล้วเสร็จ จะสามารถกักเก็บน้ำจากเดิม 7.675 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 15.33 ล้านลูกบาศก์เมตร กรอกความจุทั้งสิ้น 23 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัย ช่วยเหลือพื้นที่ได้กว่า 9,000 ไร่ และเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีกจากเดิม 4,300 ไร่ เพิ่มขึ้น 8,000 ไร่ รวมเป็น 12,300 ไร่ และยังสามารถเพิ่มพื้นที่ประโยชน์ขึ้นอีกจากเดิม 3,500 ไร่ เพิ่มขึ้น 15,000 ไร่ รวมเป็น 18,500 ไร่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้กับพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง พร้อมกับเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำของชุมชนอีกด้วย

ทีมข่าวกองบรรณาธิการ รายงาน

บทความ รายงานพิเศษ