CCR Team ยะลาปฏิบัติการเชิงรุกตรวจหาเชื้อด้วย ATK คันพบ-แยกรักษา เชิงรุกฉีดวัคซีนสร้างภูมิ ให้เร็ว ลดการติดเชื้อ-ป่วย เสียชีวิต

 CCR Team ยะลาปฏิบัติการเชิงรุกตรวจหาเชื้อด้วย ATK คันพบ-แยกรักษา เชิงรุกฉีดวัคซีนสร้างภูมิ ให้เร็ว ลดการติดเชื้อ-ป่วย เสียชีวิต

3 ก.ย.64
CCR Team ยะลาปฏิบัติการเชิงรุกตรวจหาเชื้อด้วย ATK คันพบ-แยกรักษา เชิงรุกฉีดวัคซีนสร้างภูมิ ให้เร็ว ลดการติดเชื้อ-ป่วย เสียชีวิต

สถานการณ์ของโรคโควิด-19 จ.ยะลา ในวันที่ 2 ส.ค.64 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 276 ราย ผู้ป่วยสะสม 12,260 ราย เสียชีวิต 1 ราย เสียชีวิตสะสม 122 ราย อยู่ในระหว่างการรักษา 2,293 ราย รักษาหายแล้ว 9,845 ราย จากสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องประกอบกับพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อรายใหม่ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการติดเชื้อร่วมบ้าน ร่วมชุมชน และอัตราป่วยตาย ร้อยละ 1 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 1) อีกทั้งการผ่อนคลายมาตรการ การเดินทาง การเปิดกิจกรรม/กิจการ อาจส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเชื้อเดลต้าซึ่งจะยิ่งทำให้ติดเชื้อง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจากการคาดการณ์ปัจจัยดังกล่าว ในช่วงปลายเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2564 ทาง จ.ยะลา อาจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งสูงขึ้น ถึง 300 ราย/วัน ส่งผลกระทบต่อการจัดหาทรัพยากรในระบบการดูแลรักษา(โรงพยาบาลสนาม บุคลากรทางการแพทย์ เตียง เวชภัณฑ์ )ให้เพียงพอและทันท่วงที
ล่าสุด วันนี้ 3 ส.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเย็นของวันที่ 2 ส.ค.64 ที่ผ่านมา
ที่บริเวณตลาดสดเมืองใหม่ ภายในเขตเทศบาลนครยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา
ทางเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุข อ.เมืองยะลา พร้อมด้วย โรงพยาบาลยะลา และเทศบาลนครยะลา ได้จัดให้ทีม CCR Team จำนวน 50 คน และเตรียมวัคซีนชิโนฟาร์ม 700 โดส เพื่อค้นหาเป้าหมายซึ่งเป็นพ่อค้า – แม่ค้าและพี่น้องประชาชนทั่วไปที่ออกมาจับจ่ายซื้อของภายในตลาดสดแห่งนี้ จำนวน 500 คน มีทั้งตั้งจุดบริการในอาคารตลาดหลังที่ 4 และมีทีมที่เดินบริการตามจุดต่างๆ การดำเนินกิจกรรมเชิงรุก ตรวจคัดกรอง – ฉีดวัคซีน เพื่อค้นให้พบ – แยกรักษา – ฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันและควบคุมโรคที่คาดว่าจะแพร่ระบาดสูงอีกครั้ง หลังมีการคลายมาตรการ (เป้าหมายฉีดวัคซีน ร้อยละ 70 ของประชาชนชาวยะลา/จำนวน 354,720 คน ขณะนี้ จ.ยะลาฉีดวัคซีนแล้ว 196,016 คน คิดเป็น ร้อยละ 55.25) เพื่อลดการติดเชื้อโควิด – ป่วยตาย ซึ่งในการป้องกันโรคโควิด-19 ยังต้องดำเนินควบคู่กับการใส่หน้ากากอนามัย(แมสก์)ล้างมือบ่อยๆ เวันระยะห่าง ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกันอย่างเคร่งครัด
จากการวิเคราะห์และการคาดการณ์ดังกล่าว ทาง ศบค.จ.ยะลา จึงได้มีการปรับยุทธศาสตร์การควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 จ.ยะลา ในการใช้ยุทธวิธีการตรวจหาเชื้อให้เร็ว โดยใช้ ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ทราบผลเร็วไม่เกิน 20 นาที หากพบผลเป็นบวก จะได้รับการตรวจยืนยันด้วยวิธีตรวจ RT – PCR ทุกราย และถ้าผลยืนยันเป็นบวก (ติดเชื้อ)จะเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา(แยกเร็ว – รักษาเร็ว ลดการแพร่เชื้อ)และต้องติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงตามระบบการสอบสวนโรคต่อไป หากผลการตรวจ ATK เป็นลบ และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 จะได้รับการฉีดวัคซีนเชิงรุกในวันและสถานที่ที่ตรวจ ATK หรือนัดฉีดเชิงรุกในวันและสถานที่กำหนดซึ่งปฎิบัติการโดยทีม CCR Team (Comprehensive Covid-19 Response Team/ทีมเคลื่อนที่เร็วแบบเบ็ดเสร็จ) ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกรรม และสหวิชาชีพครอบคลุมทุกอำเภอ ดำเนินการเชิงรุกในชุมชน ทั้งนี้การดำเนินการปฏิบัติการเชิงรุกตรวจคัดกรองด้วย ATK และฉีดวัคซีนอีกด้วย
ทางด้านนายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า กิจกรรมที่ทำภายในตลาดสด ในครั้งนี้ส่วนหนึ่งจะเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น จากการรายงานการสอบสวนโรคผู้ป่วยที่ผ่านมาจะเจอเชื่อมโยงสำหรับคนเข้ามาทำกิจกรรมในตลาดในครั้งนี้ พยายามทำกิจกรรมโดยร่วมกับนายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา
เพื่อจะสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนว่าตลาดสด ตอนนี้มีความปลอดภัยโดยวิธีการทำหาคนที่มีโอกาสที่จะติดเชื้อหรือมีเชื้อในร่างกายโดยใช้ตรวจ ATK ให้บริการฉีดวัคซีนเพื่อจะทำให้พ่อแม่พี่น้องที่เป็นผู้ค้าขายสามารถประกอบกิจกรรมได้ตามปกติ เพื่อจะทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดได้เดินหน้าต่อไปได้และปลอดภัยไม่ได้เป็นแหล่งที่ให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในจังหวัดเพราะว่าตลาดตรงนี้จะมีพี่น้องประชาชนต่างๆอำเภอเข้ามาใช้บริการด้วย ได้ประโยชน์ทั้งในความเชื่อมั่น ช่วยควบคุมโรคทั้งในตัวของยะลา ตัวต่างอำเภอด้วย ในตลาดจะพยายามฉีดวัคซีนผู้ประกอบการให้ได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจะสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ประกอบการ เพราะผู้ประกอบการก็เสี่ยงทั้งแพร่เชื้อให้คนอื่น รับจากคนอื่นมาด้วยและออกไปติดต่อกับครอบครัว เพราะฉะนั้นไม่ให้เกิดการเสียชีวิต เจ็บป่วยรุนแรงก็ต้องฉีดวัคซีนให้ อีกส่วนหนึ่งต้องตรวจเรื่องของการใช้ ATK ตรวจบ่อยๆ อันนี้ทางเทศบาลนครยะลาจะเป็นผู้สนับสนุน ผู้ประกอบการฉีดวัคซีนตรวจ ATK สัปดาห์ละครั้งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดสูง คนที่เข้ามาในตลาดเองต้องมีการตรวจคัดกรอง ต่อไปจะเร่งจับเรื่องของสติกเกอร์ให้สติ๊กเกอร์สำหรับคนที่ติด คนที่มาฉีดวัคซีนเวลาการเข้าออกมาจับจ่ายต่อไปจะล็อกดาวคนที่ไม่ฉีดวัคซีนเพื่อจะให้เขาลดความเสี่ยงที่จะรับเชื้อ ที่ติดสายพันธุ์เดลต้า 200 กว่าคนคือเป็นในส่วนของที่พบการติดเชื้อ แต่ว่าสายพันธุ์สุ่มย้อนหลังไปประมาณ 200 กว่าตัวอย่าง สุ่มตามเกณฑ์ของกรมควบคุมโรค 200 กว่าตัวอย่างเจอเดลต้าแค่ประมาณ 9 ตัวอย่าง เพราะฉะนั้นตอนนี้ยังไม่ได้สายพันธุ์เดลต้าในจังหวัดยะลา เพราะว่า 9 ตัวอย่างควบคุมอยู่ แต่ไว้ใจไม่ได้ ต้องพยายามสุ่มตรวจต่อไป ตอนนี้จะมีบางกลุ่ม บางคนที่เสียชีวิต เท่าที่ดูเสียชีวิตเร็วอันต้องสุ่มตรวจเชื้อ จากการคาดการณ์ที่ได้คาดการณ์ไว้ของภาคจังหวัดเดลต้าจะมาปลายเดือนกันยายน เพราะว่าจะตามหลังกรุงเทพอยู่ประมาณ 1 เดือน ตอนนี้กำลังเฝ้าระวังอยู่ ส่วนหนึ่งขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนเพราะว่าตั้งศูนย์สู้ภัยโควิดชุมชน ทุกหมู่บ้านจะมีอยู่ 1 ศูนย์เพื่อจะกระจายชุด ATK โดยมีพี่น้อง อสม.ใช้ชุดตรวจนี้เป็น ชุดจะไปอยู่ที่หมู่บ้าน ถ้าหมู่บ้านเจอคนที่กลับมาจากต่างจังหวัดจากพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะเสี่ยงสูงสุดสีแดงเข้มสามารถตรวจ ATK ได้เลยแล้วแยกกักเพื่อจะไม่ให้เข้ามาสู่ในกระบวนการในการติดเชื้อในหมู่บ้าน เพราะฉะนั้นศูนย์สู้ภัยโควิดชุมชนคือเครื่องมือหนึ่งที่จะเอาไปใช้ในการที่จะจัดการเฝ้าระวังกับกลุ่มคนเสี่ยงเพื่อจะทำให้หมู่บ้านปลอดภัยมากที่สุด

อะหมัด รามันห์สิริวงศ์/ยะลา/

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม