อำนาจเจริญจับอบรมการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น จังหวัดอำนาจเจริญ
วันที่20กันยายน2564 นายราเมศ ลิ่มสกุล วัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่าการสืบสานมรดกภูมิปัญญา อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าพื้นถิ่นอีสาน จังหวัดอำนาจเจริญ
เพื่อพัฒนาต่อยอดงานวัฒนธรรม ประจำงบปี พ.ศ. ๒๕๖๔
วันเสาร์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖ ณ โรงแรมฝ้ายขิด อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นจังหวัดมีจังหวัดที่มีความหลากหลายในด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่โบราณกาลจนกระทั่งปัจจุบัน บวกกับการสั่งสมภูมิปัญญาในท้องถิ่น จนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและสร้างคุณูปการ ให้กับจังหวัดอำนาจเจริญมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ศิลปวัฒนธรรมในพื้นถิ่นอำนาจเจริญมีทั้งส่วนที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ที่จับต้องได้และมีมาอย่างยาวนานก็ได้แก่ เสมาพันปี อาหารพื้นบ้าน ผ้าพื้นถิ่น เป็นต้น ส่วนที่จับต้องไม่ได้ เช่น กลอนลำ หมอลำ รสชาติอาหารพื้นบ้าน ลวดลายบนผืนผ้า เป็นต้น ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างมากหมายภายใต้การบริหารจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม จังหวัดอำนาจก็ถือว่าโชคดีมากที่บรรพบุรุษได้ผสมผสานวัฒนธรรมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์และทรงคุณค่า มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย อย่างในด้านของผ้าพื้นถิ่นที่เรากำลังจะดำเนินโครงการนี้ ก็จะเห็นได้ว่าอำนาจเจริญมีผ้าลายอีสานดั้งเดิมอย่างเช่นผ้าลายขอสลับเอื้อหรือขอเอื้อ ที่ได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวงได้โปรดให้ดำเนินการผลิตในศูนย์ศิลปาชีพฯ ที่อำเภอหัวตะพาน และยังมีลายผ้าที่ถอดจากพระคัมภีร์ใบลานที่บ้านปลาค้าวซึ่งถือว่าเป็นสิ่งหายากเพราะนอกจากจะต้องถอดรหัสลายออกมาจากคัมภีอิร์ใบลานในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังต้องจะต้องอาศัยองค์ความรู้ประสบการณ์ ทักษะความชำนาญ ความขยัน อดทน เพื่อถอดเอารากของวัฒนธรรมที่บรรลุอยู่ในคัมภีร์ใบลานผลิตออกมาเป็นผืนที่สวยงามและบ่งบอกถึงคุณค่าแห่งวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมเกี่ยวกับผ้ามัดหมี่ซึ่งเกิดจากการผสมผสาน ระหว่าง หมอลำ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน กับ ภูมิปัญญาการทอผ้าดั้งเดิม จนกลายมาเป็น ผ้าหมัดหมี่ “ ลายดอกแสบงเบิ่งแยงหมอลำ” ยิ่งไปกว่านั้น จากภูมิปัญญาการทอผ้าดั้งเดิมยังมีแนวคิดในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและผลิตผลด้านการเกษตรมาผลิตเป็นเส้นไหมและทอเป็นผืนผ้าไหมที่สวยงามที่เรียกกันว่า “ผ้าไหมอี่รี่ออร์แกนิคอำนาจเจริญ” ซึ่งความโดเด่นก็คือ การเลี้ยงไหมอี่รี่ซึ่งเป็นไหมป่าโดยใช้ใบมันสำปะหลังแทนใบหม่อน ส่วนสำคัญประการหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงก็คือยังมีภูมิปัญญาด้านผ้าพื้นถิ่นที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบและหยิบยกขึ้นมา
ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผ้าพื้นถิ่น ได้มีกระบวนการในการบริหารจัดการที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการจัดการของชุมชนเองซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม การได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนภายนอกต่าง ๆ เช่น ศูนย์ศิลปาชีพ ฯ กรมหม่อนไหม และการส่งเสริมภายในจังหวัดโดยจังหวัดอำนาจอำนาจเจริญได้กำหนดภารกิจ การขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกอำเภอมีลวดลายผืนผ้าที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ ในระดับจังหวัดก็มีหลายภาคส่วนที่ร่วมกันบูรณาการการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด เกษตรจังหวัด ในด้านวิชาการก็ได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆทำให้เกิดพัฒนาและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจตลอดจนสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นหน่วยงานระดับภูมิภาคจังหวัดและมีสภาวัฒนธรรมจังหวัดและสภาวัฒนธรรมอำเภอ ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่ทำงานคู่ขนานกัน ได้นำเอานโยบาย งบประมาณ กระบวนการและแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง และในครั้งนี้ก็เช่นกัน สภาวัฒนธรรมจังหวัดและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดได้จับมือกันเพื่อที่จะสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลด้านผ้าพื้นถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์กร หน่วยงาน ท้องที่ ท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้านในทุกพื้นที่ทั่วจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากภายใต้ภาวะปัจจุบัน และภาวการณ์แข่งขันภายใต้กระแส แห่งโซเชียลมีเดีย เมื่อดำเนินการแล้วเราก็จะมีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทันสมัย ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นจะยังประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดอำนาจเจริญโดยองค์รวม
โดย นายราเมศ ลิ่มสกุล วัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ
กล่าวว่า การจัด โครงการการสืบสานมรดกภูมิปัญญา อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าพื้นถิ่นอีสาน จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อพัฒนาต่อยอดงานวัฒนธรรม ประจำงบปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ในครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก แต่จักสำเร็จลงได้ก็ด้วยการอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งพี่น้องประชาชนและตัวภูมิปัญญาพื้นบ้านเองซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรม
โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ได้กรุณาและจะกรุณาร่วมมือบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานในครั้งนี้ร่อไป รวมทั้งขอขอบพระคุณพี่น้องสื่อมวลชนที่จะกรุณาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร บอกต่อเรื่องราวดีๆ สู่สาธารณชนในช่องทางต่าง ๆ ต่อไป
นายไพศาล อาจธะขันต์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ ได้นำเรียนให้กรุณาทราบร่วมกันแล้วว่า นอกจากการจัดกิจกรรมแถลงข่าวแล้ว วันนี้ตลอดทั้งวันยังมี การจัดการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อจัดทำข้อบังคับและแผนการดำเนินงาน ในช่วงบ่ายก็จะเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและส่งข้อมูลด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมในการเข้าร่วมประชุม และสภาวัฒนธรรมอำเภอที่ได้คัดเลือกเอาผู้มีคุณสมบัติ มาร่วมเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลและเข้าอบรมในครั้งนี้ และยังได้เรียนเชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้ มีประสบการณ์ ในการจัดการข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์มาให้ความรู้ ซึ่งต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณากับจังหวัดอำนาจเจริญ
ขอถือเอาโอกาส และเวลาอันเหมาะสมนี้ เปิดการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔ และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการ สืบสานมรดกภูมิปัญญา อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าพื้นถิ่นอีสาน จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อพัฒนาต่อยอดงานวัฒนธรรม ประจำงบปี พ.ศ. ๒๕๖๔ /
ทิพกร หวานอ่อน/อำนาจเจริญ รายงาน