นักศึกษาเกษตร ม.ราชภัฏยะลา ตั้งกลุ่ม Boos เกษตร “เพาะเลี้ยงไส้เดือน” สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ สู้ชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19

 นักศึกษาเกษตร ม.ราชภัฏยะลา ตั้งกลุ่ม Boos เกษตร “เพาะเลี้ยงไส้เดือน” สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ สู้ชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19

22 ก.ย.64
นักศึกษาเกษตร ม.ราชภัฏยะลา ตั้งกลุ่ม Boos เกษตร “เพาะเลี้ยงไส้เดือน” สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ สู้ชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19

ถ้าให้พูดถึง“ไส้เดือน”หลายคนอาจจะไม่ค่อยชอบ ! สักเท่าไหร่ หลายคนเห็นแล้วอาจจะร้องยี้ขยะแขยง ! แต่หารู้ไม่ว่า “ไส้เดือน” ตัวแดงๆ ที่เหมือนจะไม่น่ารักเหล่านี้คือแหล่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดี และการเพาะเลี้ยง “ไส้เดือน”ก็ไม่ใช่ของแปลกใหม่ แท้จริงแล้ว ก็มีอยู่กับชาวบ้านทุกหมู่เหล่ามาอย่างยาวนานแล้ว เพียงแต่หลายคนทำแล้วสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง ปัจจัยสู่ความสำเร็จนั้นก็แตกต่างกันไป
วันนี้ 22 ก.ย.64 ผู้สื่อข่าวและทีมงานจะลุยค้นหาแหล่งเพาะเลี้ยง“ไส้เดือน”
สร้างรายได้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 หลังพบข้อมูลจากเพจ “BOSS เกษตร”มีการแนะนำการเพาะเลี้ยง “ไส้เดือน” จึงได้ลงพื้นที่บ้าน
หลังหนึ่ง ภายในซอยเย็นอากาศ 2 เขตเทศบาลนครยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ก็พบกับกลุ่ม “BOSS เกษตร” โดยมี น.ส.สุไลลา หะหลี อายุ 25 ปี นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หัวหน้ากลุ่ม
น.ส.มานีซะห์ เจะหะมะ อายุ 19 ปี นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา
น.ส.รอมือละ สะอะ อายุ 17 ปี ชั้น ม.5 โรงเรียนพัฒนา
อิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา
น.ส.นัสรีน เจะหะมะ อายุ 16 ปี ชั้น ม.4 โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
น.ส.สีตีไอเสาะ หะหลี อายุ 16 ปี ชั้น ม.3 โรงเรียนวิทยาศีล อ.มายอ จ.ปัตตานี
ได้รวมตัวกันเพื่อเพาะเลี้ยง “ไส้เดือน”สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ นำเงินเป็นทุนการศึกษาและนำเงินเข้าครอบครัวเป็นเงินถึง 20,000 – 30,000 ต่อเดือน สู้วิกฤตในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย
วิธีการเพาะเลี้ยง “ไส้เดือน” ไม่ยุ่งยาก 1.เทไส้เดือน + เบดดิ้ง ลงกล่องเลี้ยง ฉีดพรมน้ำเล็กน้อย 2.วางในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก
3.ฉีดพรมน้ำเล็กน้อยวันเว้นวัน หรือสังเกตุหน้าเบดดิ้งเริ่มแห้งให้ฉีดพรมได้เลย
4.หากใช้ผัก(ไม่เผ็ดร้อน)/ผลไม้ (ไม่เปรี้ยว) หั่นหรือฉีกให้มีขนาดเล็ก ให้ทีละน้อย ขุดฝังและกลบให้มิดกันแมลงวัน ใบไม้เน่าผุ สามารถวางกลบไว้หน้าเบดดิ้งได้
5.ระยะเวลาร่อนมูลใช้ Blueworm – 1 เดือน/AF 2 – 3 สัปดาห์ *สังเกตุมูลไส้เดือนจะเป็นเม็ดๆเล็กๆคล้ายเม็ดข้าวสาร สามารถใช้ตะกร้าที่มีรูถี่ร่อนได้เลยค่ะ งดเว้นการให้น้ำ 2 – 3 วัน มูลจะได้ไม่ติดรูตะแกรง
สำหรับประโยชน์ของปุ๋ยมูล
“ไส้เดือน” สามารถช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืชแม้จะใช้ในปริมาณมาก ไม่มีกลิ่นและยังช่วยในการดับกลิ่น ช่วยปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งให้สะอาดและใส่ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นและที่สำคัญสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและช่วยในการกำจัดแมลงอีกด้วย
น.ส.สุไลลา หะหลี อายุ 25 ปี เล่าว่า เริ่มแรกตนเองได้ไปฝึกงานที่โรงเรียนพระดาบสสมุทรปราการ มีป้ายไวนิวบอกว่าปุ๋ยมูลไส้เดือน รู้สึกว่าอยากกลับมาทำโครงการของการเรียนจบ สักพักก็กลับมาทำ ทำไปทำมาอาจารย์ได้พาไปตามงานต่างๆพาไป 50-100 ถุงแล้วก็มีชาวบ้านมีความสนใจและซื้อ ทุกครั้งที่ออกงานปุ๋ยมูลไส้เดือนก็จะขายหมดทุกครั้ง ตนเองรู้สึกว่าทำไมแถวบ้านเรายังขายไม่ได้เพราะอะไร ? หรือว่ายังไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในชุมชน หมู่บ้าน ตนเองกลับมาทำเป็นรูปเป็นร่าง เปิดการเรียนรู้บ้างและขายลงเพจ ในเฟซบุ๊ค 1 ครั้งแรกๆที่ลงขายในเพจยังไม่มีการตอบรับของลูกค้าสักเท่าไร พอทำไปเรื่อยๆ ทำให้มีคนรู้จักมากยิ่งขึ้น
น.ส.สุไลลา เล่าอีกว่า สำหรับตัว“ไส้เดือน”ตอนนี้จะมีสายพันธุ์ BLUE สายพันธุ์ AF และสายพันธ์ุ EURO สำหรับสายพันธุ์ BLUE จะให้มูลละเอียดมีกลิ่นหอม สายพันธุ์ AF จะมีกลิ่นเหม็น ส่วนพันธุ์ EURO.
ไม่แตกต่างจาก 2 สายพันธุ์แรกสักเท่าไร ลูกค้าส่วนใหญ่จะมาจากติ๊กต็อก จากกลุ่มไส้เดือน ในราคาตัว
“ไส้เดือน” 1 กิโลกรัม ราคา
400 บาท มูลไส้เดือน ราคากิโลกรัมล่ะ 25 บาท หากมีใครสนใจก็สามารถสั่งได้ที่
เฟสบุ๊ค BOOS เกษตร , ไลน์ Sulaia36005 และเบอร์โทร 088-9162252

อะหมัด รามันห์สิริวงศ์/ยะลา/

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม ข่าววาไรตี้-ท่องเที่ยว-อาชีพ