ผบ.พล.ร.15 / ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฝึกจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความคืบหน้าการใช้พื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ โคกปาฆาบือซา

ผบ.พล.ร.15 / ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฝึกจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความคืบหน้าการใช้พื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ โคกปาฆาบือซา

ผบ.พล.ร.15 / ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฝึกจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความคืบหน้าการใช้พื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ โคกปาฆาบือซา เป็นสถานีฝึกหลักสูตรศูนย์ฝึกจิตอาสาภาค 4 เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึก รุ่นที่ 1/65 “ หลักสูตรพื้นฐาน” (ภาค4) ห้วงวันที่ 19 ก.พ. – 7 มี.ค. 65

พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่15 ในฐานะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฝึกจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าและตรวจเยี่ยมสถานที่การจัดตั้งสถานีฝึกปฏิบัติหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำหลักสูตรจิตอาสา (หลักสูตรพื้นฐาน) ภาค 4 ที่ใช้พื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บ้านโคกปาฆาบือซา หมู่ที่ 5 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส เป็นสถานที่ทำการฝึกหลักสูตรจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ที่มีพลโท เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 เป็นผู้บัญชาการศูนย์ฝึกจิตอาสาภาค 4 และแต่งตั้งให้ พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการ เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฝึกจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ทำหน้าที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการจัดเตรียมสถานีฝึกปฏิบัติหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งเป็น 2 สถานีศึกษา คือ สถานีฝึกการแก้ปัญหาตามภูมิศาสตร์สังคมที่ประกอบไปด้วย 7 ฐานการฝึกย่อย และสถานีฝึกเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ในลักษณะชุมชนต้นแบบ ที่มีจำนวน 9 ฐานการฝึกย่อย ให้มีความพร้อมสำหรับการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกจิตอาสาภาค 4 รุ่นที่ 1 ประจำปี 2565 เดิมนั้นมีแผนการปฏิบัติจะเปิดการฝึกตั้งแต่ในห้วงของวันที่ 20 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสถานการณ์ไวรัส covid-19 จึงได้เลื่อนการฝึกไปเป็นในห้วงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ -7 มีนาคม 2565 โดยผู้เข้ารับการฝึก คัดเลือกจากข้าราชการพลเรือน, ทหาร, ตำรวจ และ ประชาชน
จำนวน 200 นาย เป็นการฝึกภายใตเทมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกต้องตรวจ RT-PCR จาก โรงพยาบาลของหน่วยต้นสังกัด หรือ โรงพยาบาลของรัฐตามภูมิลำเนา48 ชั่วโมง ก่อนรายงานตัว
ณ ศูนย์ฝึกจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4(ค่ายจุฬาภรณ์) พร้อมแสดงผลการตรวจ RT-PCR และทำการตรวจ ATK ณ จุดคัดกรอง บริเวณพื้นที่รับรายงานตัว ตลอดจนเมื่อจบการฝึกวันสุดท้าย ผู้เข้ารับการฝึกต้องทำการตรวจ ATK ในวันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับหน่วยต้นสังกัด ที่สำคัญผู้ที่จะมีสิทธิ์เข้ารับการฝึกนั้น ต้องทำการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนเริ่มทำการฝึก หรือผู้ที่ได้รับ วัคซีนแล้ว 3 เข็ม และต้องทำการกักตัว ณ ศูนย์ฝึกจิตอาสา ภาค 4 ก่อนเริ่มทำการฝึก 7 วัน พร้อมทั้ง ทำการตรวจ ATK ก่อนเริ่มเข้ากักตัว ตรวจ RT-PCR ผลไม่พบเชื้อ (Not-Detected) ก่อนเริ่มการฝึก อย่างน้อย 48 ชั่วโมง ตลอดจนผู้เข้ารับการฝึกต้องพักอยู่ในศูนย์ฝึกตลอดห้วงการฝึก

โดยการฝึกหลักสูตรจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4″หลักสูตรพื้นฐาน” (ภาค4) รุ่นที่ 1/65 มีความมุ่งหมายในการฝึก 5 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อสร้างบุคลากรที่สามารถเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติในลักษณะการเป็นจิตอาสา , 2. สร้างผู้นำที่มีความเสียสละ มีระเบียบวินัย รู้จักหน้าที่ของตน และมีจิตสาธารณะ ช่วยสร้างสรรค์สังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อให้สังคมเกิดความสามัคคี และเกิดการพัฒนาอย่างถาวร ,3.สามารถเป็นเครือข่ายของจิตอาสา 904 ลงพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และประสานความร่วมมือระหว่าง ศอ.จอส.พระราชทาน ภาค 4 กับส่วนราชการ ในพื้นที่ในการปฏิบัติงานจิตอาสาทั้ง 3 ประเภท , 4.สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปถ่ายทอดให้กับชุมชนในท้องถิ่นของตน เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในสภาวการณ์ปัจจุบัน และ5.น้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปปฏิบัติงานเพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข

ทั้งนี้ พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว ในฐานะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฝึกจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 กล่าวว่า “ในฟาร์มตัวอย่างแห่งนี้ถือเป็นจุดสำคัญพื้นฐานของหลักสูตร ที่เป็นหนึ่งใน 5 หมวดวิชา ให้เราเรียนรู้ใช้องค์ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำไปต่อยอดเสริมสร้างความรู้ให้กับชุมชนและพี่น้องประชาชน โดยมีกองอำนวยการอยู่ที่ค่ายจุฬาภรณ์ มีสถานที่และมีวิทยากรที่ได้ผ่านการอบรม มีขีดความสามารถตรงตามเนื้อหาของรายวิชาแต่ละฐานแต่ละสถานี ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง จนมีความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ผ่านกระบวนการเข้าศึกษาผ่านการคัดเลือกตัวบุคคล ถึงแม้จะเลื่อนการอบรมออกไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 แต่อย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมยังคงดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างงานสร้างอาชีพ และคาดว่าจะขยายไปทุกจังหวัดของชายแดนภาคใต้ เช่นเดียวกับ 15 ฟาร์มตัวอย่างที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ บ้านเรานั้น หากในโคกมีผัก ในหนองมีปลา ในนามีข้าว อยู่ที่ไหนมีกินมีใช้ ไม่มีวันอดตายแน่นอน

ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าวนราธิวาสรายงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม