กาญจนบุรี – วันสื่อสารมวลชน ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 5 มีนาคม พ.ศ. 2498 สื่อเมืองกาญจน์ ร่วมใจทำบุญถวายภัตตหารเพลพระสงฆ์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนที่เสียชีวิต เนื่องใน วันนักข่าว หรือวันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ในโซเชียสมีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนสื่อ เพื่อเป็นการเตือนสติ
วันนี้ 5 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพรชัย วารีทิพย์ขจร ที่ปรึกษาสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยนายเกรียงไกร จงเจริญ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกาญจนบุรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ และถวายเครื่องสังฆทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับนักข่าวและสื่อมวลชนที่เสียชีวิต เนื่องใน “วันนักข่าว” 5 มีนาคม 2565 โดยมีทีมตัวแทนจากคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลาง และสื่อท้องถิ่น ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อทีวี และสื่อออนไลน์ พร้อมแขกผู้มีเกียรติที่เดินทางมาร่วมพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ ณ ศาลาการเปรียญวัดหัวนา ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นจำนวนมาก
โดยมี นายพรชัย วารีทิพย์ขจร ที่ปรึกษาสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดกาญจนบุรี ได้เป็นประธานในการจุดธูปเทียนทองบูชาพระรัตนตรัยพระสงฆ์ จำนวน 12 รูปประกอบพิธีสงฆ์ เสร็จแล้วประธานในพิธี พร้อมด้วยนักข่าวและสื่อมวลชนจากแขนงต่างๆ ได้ร่วมกันถวายภัตราหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์พร้อมด้วยเครื่องสังฆทานจตุปัจจัยทัยธรรม โอกาสนี้คณะผู้สื่อข่าว และ แขกผู้มีเกียรติได้ร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน ร่วมกัน สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง
“วันนักข่าว” หรือวันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 5 มีนาคม พ.ศ. 2498 แม้สื่อมวลชนจะมีสิทธิเสรีภาพในการทำข่าว ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ในมาตรา 45 แต่แน่นอนว่าการบวนการทำงานของสื่อมวลชน จำเป็นจะต้องมีหลักจริยธรรมและบรรทัดฐานเพื่อเป็นกรอบในการนำเสนอข่าว เพื่อส่งต่อข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสารหรือประชาชนได้อย่างเป็นกลางและมีคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันนี้ในยุคโลกโซเชียส ที่รวดเร็มมากๆ ดังนั้นสื่อมีจึงเข้าไปมีบทบาทต่อสังคมมาก ดังนั้นจรรยาบรรณและจริยธรรมของสื่อจะต้องไม่ลืม
ที่สำคัญคือ สื่อมวลชนไม่สามารถใช้พื้นที่สาธารณะในการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล หรือวิพากษ์วิจารณ์ตามความต้องการ โดยไม่มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่นได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่สื่อภายใต้หลักการและจริยธรรมอย่างเคร่งครัด แล้วจรรยาบรรณและจริยธรรมสื่อ
คำว่า “จริยธรรม” หมายถึง ความเชื่อ ค่านิยม และหลักศีลธรรม ซึ่งแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการตัดสินว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทั้งนี้ หมายถึง แนวทางปฏิบัติของบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนที่สังคมเรียกร้องความรับผิดชอบในเชิงจริยธรรมสูง
การรายงานข่าวที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ถึงแม้บางเหตุการณ์จะมีคุณค่าข่าวที่ควรนำเสนอ แต่ข่าวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่นทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ เช่น การเขียนพาดหัวข่าว เนื้อข่าว หรือการใช้ภาพประกอบข่าวที่อาจสร้างความเจ็บปวดซ้ำๆ แก่ผู้เคราะห์ร้ายที่เป็นข่าวได้
หลายครั้งที่สื่อมวลชนถูกวิพากษ์วิจารณ์ และมีเสียงเรียกร้องให้ใช้จิตสำนึกชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล นักข่าวจึงต้องใช้วิจารณญาณในการรายงานข่าวด้วย
โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สื่อถูกตั้งคำถามจากสังคมหลายต่อหลายครั้ง ถึงการนำเสนอข่าวว่ามีความเหมาะสมและสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข่าวนั้น รวมถึงความผิดพลาดและความไม่รอบคอบในการที่รีบนำเสนอข่าวมากเกินไปจนไม่ได้คำนึงถึงสารที่ได้รับมาว่าเป็นความจริงหรือไม่ จนทำให้บ่อยครั้งที่มีการนำเสนอข่าวที่ผิดพลาดจากความเป็นจริง
สำหรับหลากหลายมุมมองของผู้เชี่ยวชาญที่เฝ้าติดตามองค์กรสื่อ หรือนักข่าว ในโลกโซเชียส ได้ออกมาพูดเพื่อเตือนสติ กับมุมมองในเรื่องของจริยธรรมสื่อนั้น ปัญหาหลักการคือการอยู่รอดของธุรกิจสื่อ ที่จำเป็นต้องหารายได้ ต้องการสปอนเซอร์ ทำให้ต้องพยายามขายทุกอย่างที่สามารถทำรายได้ แม้ว่าในหลายครั้งก็อาจจะละเมิดหรือหมิ่นเหม่กับจริยธรรมสื่อ
บางครั้งคนทำงานจำนวนหนึ่งก็อาจจะไม่เห็นด้วย แต่เพื่อความอยู่รอดก็ต้องทำเพื่อองค์กร เช่น ยอดวิว เรตติ้ง เป็นต้น นอกจากนี้สมาคมนักข่าวฯ อาจมีบทบาทแค่การวางกรอบกติกา การปฏิบัติขึ้นอยู่กับคนทำงานว่าจะตระหนักมากน้อยแค่ไหน แต่สภาพแวดล้อมการทำงานก็อาจบีบให้ทำข่าวเพื่อเรียกยอด
นอกจากนี้กระแสความสนใจของผู้บริโภคข่าว (คนดู/คนอ่าน) ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อต้องเลือกเสนอข่าว เพราะผู้เสพข่าวเป็นผู้กำหนดประเด็นที่สนใจมากกว่าองค์กรสื่อ และจริยธรรมสื่อก็ไม่ใช่กฎหมาย ไม่สามารถเอาผิดนักข่าวที่ทำผิดจริยธรรมได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสังคมเป็นผู้ชี้นำด้วย อย่างเช่นกรณีของนักแสดงที่เสียชีวิต ในช่วงนั้นสังคมยังไม่ได้บีบสื่อเรื่องการนำเสนอภาพศพมากนัก ทำให้ยังมีภาพศพหลุดออกมาอยู่บ้าง แต่ในปัจจุบันสังคมเริ่มตื่นตัว และตระหนักถึงสิทธิของผู้ตายมากขึ้น มีการกดดันสื่อว่าอย่านำเสนอภาพผู้เสียชีวิต ก็ทำให้สื่อไม่ได้นำเสนอจริง ๆ และเน้นไปนำเสนอเรื่องคดีความมากกว่า ดังนั้นพวกเราในฐานะสื่อประจำอยู่ในท้องถิ่นก็ต้องพึงเฝ้าระวังเรื่องนี้ให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ฝากไว้เพื่อเป็นแนวทาง
//////////////////////////////////
ปรีชา ไหลวารินทร์ / กาญจนบุรี