จากอดีตเมือง”ซิงกอรา”สู่ปัจจุบัน”วันสงขลา” 10 มีนาคมของทุกปี

จากอดีตเมือง”ซิงกอรา”สู่ปัจจุบัน”วันสงขลา” 10 มีนาคมของทุกปี

จากอดีตเมือง”ซิงกอรา”สู่ปัจจุบัน”วันสงขลา” 10 มีนาคมของทุกปี

ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สำนักศิลปากรที่ 11 ตรวจสอบพบกลุ่มนายทุนลักลอบนำเครื่องจักรขุดทำลายบริเวณเขาแดง เป็นพื้นที่ที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าสงขลา ตั้งอยู่ใน ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา ได้รับความเสียหาย โดยมีการโค่นล้มต้นไม้ และตัดถนนเป็นทางยาวขึ้นเขาประมาณ 2 กิโลเมตร กว้าง 4 เมตร และยังมีฐานองค์เจดีย์บนเขาแดงชำรุดเสียหายบางส่วน

“#เขาแดง” ทำไมต้องเป็นเขาแดง ?? หลายคนสงสัย “เขาแดง”หรือชื่ออื่นๆ เช่น”#เขาค่ายม่วง” “#เขานกรำ” และ”#เขาตะเข้” เป็นชื่อเรียกของภูเขาสำคัญในพื้นที่ปากอ่าวสงขลา อ.สิงหนคร จ.สงขลา (ภูเขาด้านหลังท่าแพขนานยนต์ฝั่งต.หัวเขากับเมืองสงขลา) เขาลูกนี้มีโครงสร้างประกอบด้วยหินทราย หินทรายแป้ง และหินดินดาน จะมีสีแดงเป็นหลัก ผู้คนจึงเรียกว่า”เขาแดง”

ส่วนชื่อเขาค่ายม่วงนั้น ปรากฏในเอกสารกัลปนาสมัยกรุงศรีอยุธยา ปี 2158 ส่วนชื่อเขานกรำและเขาตะเข้นั้น ก็ปรากฏในเอกสารชีวิวัฒน์เรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาค 7 เขียนขึ้นในปี 2427

เขาแดงเป็นส่วนหนึ่งของการก่อสร้างกำแพงเมืองใหม่ และยังเป็นที่ตั้งของเจดีย์องค์ดำองค์ขาว อนุสรณ์แห่งชัยชนะในการรักษาขอบขัณฑสีมา ซึ่งสร้างโดยสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าเขาแดงคือจุดกำเนิดของเมืองสงขลา และอยู่เคียงข้างกับชาวสงขลามาจนปัจจุบัน

ด้วยคุณค่าและความสำคัญดังกล่าว กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเขาแดงและโบราณสถานโดยรอบในชื่อ”โบราณสถานบริเวณเมืองเก่าสงขลา”ในปี 2535 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,460 ไร่

ในปลายรัชกาล สมเด็จพระเอกาทศรถ แห่งกรุงศรีอยุธยา มีชายผู้หนึ่งขอพระบรมราชานุญาตสร้างเมืองขึ้นที่ปากอ่าวสงขลา ให้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า”ซิงกอรา”(Singora) โดยเอกสารชาวออลันดาระบุว่า”#ดาโต๊ะโมกอลส์”และกล่าวว่าผู้ปกครองเมืองแห่งนี้มีฐานะเป็นข้าหลวงของพระเจ้ากรุงสยาม

ดาโต๊ะโมกอลส์ สร้างเมืองซิงกอราให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ มีการสร้างกำแพงและป้อมสำหรับป้องกันที่หัวเขาแดงอย่างแข็งแรง จนกระทั่งปี 2185 #สุลัยมาน ผู้ปกครองเมืองซิงกอรา ต่อจากดาโต๊ะโมกอลส์ ผู้เป็นบิดา ได้ประกาศยุติการส่งบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยา และสถาปนาตนเองขึ้นเป็น”#พระเจ้าเมืองสงขลา”หรือที่รู้จักกันในชื่อ”#สุลต่านสุลัยมาน”

“#ซิงกอรา”ในสมัยนั้นจึงมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและการทหาร โดยมีกำลังทหารรับจ้างที่มีพละกำลังและเชี่ยวชาญด้านการรบยุทธวิธี และคุ้นกับการใช้ปืนไฟมาก่อน ทั้งเป็นปืนขนาดใหญ่และปืนเล็กประจำการ และสามารถยืนหยัดต่อสู้กับกองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ถึง 38 ปี

เมื่อซิงกอราพ่ายแพ้ต่อกองทัพอยุธยาในปี 2223 ชาวเมืองหลังการพ่ายแพ้ได้เคลื่อนย้ายไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศใต้เขาแดงบริเวณที่เรียกว่า #แหลมสน โดยมี พระยาวิไชยคีรี เป็นเจ้าเมือง โดยให้ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พื้นที่ส่วนนี้จึงอยู่ในปกครองของหลวงวิเถียน ภายใต้อำนาจของชุมนุมเจ้าเมืองนครีธรรมราช

ต่อมาในปี 2312 สงขลาฝั่งแหลมมสนจึงตกอยู่ใต้อำนาจกรุงธนบุรี โดยมี พระสงชลา (โยม) และหลวงสุวรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยว แซ่เฮา) เป็นผู้ปกครองตามลำดับ

เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่ที่แหลมสน (ปัจจุบันคือแหลมสนอ่อน) จนถึงปี 2379 จึงเริ่มเตรียมการย้ายเมืองไปยังพื้นที่บ่อยาง (ตัวเมืองปัจจุบัน) มีการสร้างกำแพงเมืองใหม่ ปี 2385 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์สำหรับเสาหลักเมือง

เพราะจุดเริ่มต้นของเมืองสงขลา บ่อยาง ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกอบพิธีวางเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2385 โดยพระบาทมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเทียนชัยและไม้ชัยพฤกษ์ ให้แก่ #พระยาวิเชียรคีรีเถี้ยนเส้ง และให้ #สมเด็จพระอุดมปิฏก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

พร้อมด้วย #พระราชครูอัษฏาจารย์พราหมณ์ เป็นประธานฝ่ายพราหมณ์ ร่วมกันประกอบพิธีวางงเสาหลีกเมืองสงขลา ณ ศาลหลักเมืองสงขลา ซึ่งยังคงมีหลักฐานแสดงชัดเจนที่สุดจวบจนทุกวันนี้

จากความสำคัญดังกล่าว ทุกวันที่ 10 มีนาคมของทุกปี จึงกำหนดให้เป็น”#วันสงขลา”

#KasemLimaphna #เกษมลิมะพันธุ์ #สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม