สมาคมลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน จัดพิธีถวายพระราชดุดีล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565

สมาคมลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน จัดพิธีถวายพระราชดุดีล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565

สมาคมลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน จัดพิธีถวายพระราชดุดีล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565

วันที่ 15 มีนาคม 2564 ที่อาคารวัดสวนดอก พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สมาคมลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือ ได้จัดจัดพิธีถวายพระราชดุดีล้นเกล้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  โดยมีเจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง เป็นประธานในพิธี  ซึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีกลุ่มลูกหลานตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง ณ น่าน พร้อมทั้งตัวแทนแต่ละจังหวัดเข้าร่วมพิธี ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี

แต่เดิมนั้นต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยไม่มีชื่อสกุล หรือนามสกุล มีชื่อเรียกเฉพาะบุคคลเท่านั้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ได้โปรดให้มีการตั้งนามสกุล ดั่งนานอารยประเทศ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติ ขนานนามสกุล ขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2455 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2456 อย่างไรก็ตาม ได้มีการเลื่อนเวลาบังคับใช้กฎหมายนี้ไปอีก 2 ครั้ง จนสามารถบังคับใช้อย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2458

นอกจากนั้นการจัดตั้งนามสกุล เป็นแนวทางหนึ่งของการจัดระเบียบสังคมตามโลกตะวันตกแล้วยังเป็นเครื่องเตือนใจให้เจ้าของนามสกุลประพฤติแต่สิ่งดีงาม เพื่อรักษาเกียรติของตระกูล ตลอดจนเป็นหลักของการสืบเชื้อสาย  และก่อเกิดการรวมกลุ่มเป็นหมู่คณะด้วย

เป็นที่ทราบกันดีว่านามสกุลพระราชทาน หมายถึงนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์จะพระราราชทานนามสกุลแก่ผู้ใด พระองค์จะทรงศึกษาให้ทราบถึงความเกี่ยงดองซึ่งกันและกัน ของแต่ละบุคคลโดยละเอียด หากทรงทราบว่าว่าบรรพบุรุษได้ทำคุณงามความดี มีวิทยฐานะและอาชีพอะไร ก็จะทรงแปลงคำให้คล้องจอง และไพเราะเหมาะสม

ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุลเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2456 จำนวน 120 นามสกุล แต่ตลอดรัชกาลของพระองค์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุลไว้ทั้งสิ้น 6464 นามสกุล

สำหรับรายชื่อนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย “ณ” นั้น จัดเป็นนามสกุลพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าผู้ครองนคร หรือบรรพบุรุษที่มีนิวาสสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จักและนับถือโดยมาก โดยพระองค์มีพระบรมราชโองการ ไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า “ณ”นำหน้าชื่อนามสกุลเป็นอันขาด และเกณฑ์นี้ก็ยังถือบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ในส่วนของสายสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเจ็ดตน หรือเจ้าผู้ครองเมืองประเทศราชสืบเนื่องมาถึงตอนนั้น ก็ได้รับพระราชทานนามสกุลและได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามสกุลดังนี้ นามสกุล ณ เชียงใหม่ พระราชทานแด่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ นามสกุล ณ ลำปาง พระราชทานแด่ เจ้าบุญวาทย์มานิต เจ้าหลวงลำปาง นามสกุล ณ ลำพูน พระราชทานแด่ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงลำพูน นามสกุล ณ น่าน พระราชทานแด่เจ้าสุริยพงษ์ผริเดช เจ้าหลวงน่าน  โดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ได้มีหนังสือตอบรับการขอพระราชทานนามสกุลไปยังผู้ขอทุกราย

พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณในเรื่องนามสกุลของประชาชนไทยในครั้งนั้น ก่อเกิดความมั่นคงทางสังคม ยกระดับมาตรฐานสถานะทางสังคม ครอบครัว ของประชาชนคนไทยให้เป็นปีกแผ่นมาตราบจนทุกวันนี้

ในการนี้เนื่องจากวันนี้เป็นวันครบรอบที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้โปรดพระราชทานนามสกุล ให้แก่คนไทยรวมถึงต้นตระกูลลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือ  จึงได้จัดกิจกรรมขึ้น ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  โดยมีสมาคมลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อมด้วยญาติพี่น้องผู้สืบเชื้อสายสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำปาง ณ ลำพูน ณ น่าน เชื้อเจ็ดตน และสายสกุลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดพิธีถวายพระราชดุดีล้นเกล้า รัชกาลที่ 6  เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้น และมาร่วมถวายสักการะแด่ใต้ละอองธุลีพระบาทในวันสำคัญวันนี้ และนอกจากนั้นยังได้ทำการจัดการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี  2565 อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม