พช.ศรีสะเกษโชว์ผลงานผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์วิถีชีวิตชาวชนบทไทย

พช.ศรีสะเกษโชว์ผลงานผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์วิถีชีวิตชาวชนบทไทย

ศรีสะเกษ !! พช.ศรีสะเกษโชว์ผลงานผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์วิถีชีวิตชาวชนบทไทย ตามพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2565 ในงานนุ่งผ้าไทยใส่บาตร ทำความดี วิถีพอเพียง
เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 เวลา 06.30 น. ณ ลานโคปุระ เกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำ จังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด นำหัวหน้าส่วนราชการเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ และประชาชน จัดกิจกรรมนุ่งผ้าไทยใส่บาตร ทำความดี วิถีพอเพียง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ กระจายสู่ชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมสืบสานอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ควบคู่ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดินและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ได้ดำเนินการมาตรการการป้องการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด
ในการนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ นำผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จังหวัด/อำเภอ ร่วมกิจกรรมนุ่งผ้าไทยทำบุญใส่บาตร ทำความดี วิถีพอเพียง นอกจากนี้ได้จัดนิทรรศการโชว์ผลงานผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์วิถีชีวิตชาวชนบทไทย ตามพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2565 ผลงานกลุ่มพัฒนาอาชีพทอผ้าไหมหมู่ 2 บ้านเป๊าะ ณ กลุ่มพัฒนาอาชีพทอผ้าไหมหมู่ 2 บ้านเป๊าะ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ
นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานการทอผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์วิถีชาวชนบทไทยในครั้งนี้ ได้พบกับช่างทอผ้าที่ยังคงสืบสานรักษาและต่อยอดศิลปหัตกรรมอันทรงคุณค่า ในการทอผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์วิถีชีวิตชาวชนบทไทย ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2565 โดยได้ชื่นชมถึงความปราณีตงดงามของการทอผ้าไทมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์วิถีชีวิตชาวชนบทไทย และสอบถามถึงกระบวนการผลิตผ้าแต่ละลาย กับช่างทอผ้าในพื้นที่ผลงานที่นำมาจัดนิทรรศการในครั้งนี้ เป็นตัวอย่างการยังคงสืบสาน รักษา และต่อยอดศิลปหัตกรรมอันทรงคุณค่า ของจังหวัดศรีสะเกษ จากช่างทอ กลุ่มพัฒนาอาชีพทอผ้าไหมหมู่ 2 บ้านเป๊าะ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยจะถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชนบท และเน้นความละเอียดของการทอผ้า/ลายผ้า แต่ด้วยปัจจุบันไม่ได้มีการประกวดฯ จึงทำให้การทอผ้าประเภทหายไปบ้างไม่มีผู้สืบทอด เพราะช่างทอต้องมีจินตนาการคิดออกแบบ และทอลวดลายต่าง ๆ ออกมา จำนวน 3 ราย ดังนี้ ๑) นางวรัชญาณ์ นนท์ชนะ อายุ 57 ปี ๒) นางอรุณศรี รักษาทรัพย์ อายุ 68 ปี ผลงาน ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง ๓) นางเสถียร พรหมทา อายุประมาณ 80 ปี ผลงาน โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ และงานบุญพระเวสสันดร เดือน 4
ด้าน นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการศูนย์ศิลปาชีพ เริ่มต้นจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีความห่วงใยประชาชน ในชนบท พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ที่จะช่วยให้พสกนิกรของพระองค์ท่าน มีความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอ ต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ประชาชน ทำงานศิลปาชีพ เพื่อเพิ่มพูนรายได้โครงการศิลปาชีพได้จัดตั้งขึ้นตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ดังเมื่อครั้งอดีต พระองค์ทรงเน้นการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ทางหัตถกรรมเป็นหลัก และจากการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วประเทศ ทรงคัดเลือกสมาชิกศิลปาชีพจากครอบครัวราษฎรที่ยากจน ไร้ที่ทำกินและมีบุตรมากจากทั่วทุกภาคของไทยเข้ามารับการฝึกศิลปหัตถกรรมในศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ
ทั้งนี้ กิจกรรมนุ่งผ้าไทยใส่บาตร ทำความดีวิถีพอเพียง สร้างรายได้ให้ชาวศรีสะเกษในวันที่ ถึง 19 เมษายน 2565 จำนวน 74,730 บาท ยอดจำหน่ายสะสม ที่ดำเนินการจัดกิจกรรม ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึง 19 เมษายน 2565 (งดจัดกิจกรรม เม.ย. – ต.ค. 64 เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19) จำนวน 6,547,881 บาท เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มรายได้ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมสมกับคำว่า “อะไรๆก็ดีที่ศรีสะเกษ”
#OTOPTODAY SISAKET #ผ้าทอแบรนด์ศรีสะเกษ #ศรีสะเกษธานีผ้าศรีแส่ว #อะไรอะไรก็ดีที่ศรีสะเกษ #CDDSisaket
*************


ข่าว/ภาพ…… บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม