พรรคประชาชาติ ส่งเสริมวัฒนธรรมมลายู มอบรางวัล การประกวดภาพถ่ายชุดมลายูในวันฮารีรายอ ‘วันนอร์’ ปลื้มทุกคนแต่งชุดมลายูทุกหมู่บ้าน ‘ทวี’ เสริมภาษามลายูเป็นภาษาที่ใช้ในประชาคมอาเซียนส่วนใหญ่

 พรรคประชาชาติ ส่งเสริมวัฒนธรรมมลายู มอบรางวัล การประกวดภาพถ่ายชุดมลายูในวันฮารีรายอ ‘วันนอร์’ ปลื้มทุกคนแต่งชุดมลายูทุกหมู่บ้าน ‘ทวี’ เสริมภาษามลายูเป็นภาษาที่ใช้ในประชาคมอาเซียนส่วนใหญ่

9 พ.ค.65
พรรคประชาชาติ ส่งเสริมวัฒนธรรมมลายู มอบรางวัล การประกวดภาพถ่ายชุดมลายูในวันฮารีรายอ ‘วันนอร์’ ปลื้มทุกคนแต่งชุดมลายูทุกหมู่บ้าน ‘ทวี’ เสริมภาษามลายูเป็นภาษาที่ใช้ในประชาคมอาเซียนส่วนใหญ่

วันนี้ 9 พ.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ หอประชุมมูลนิธิมะทา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ, นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ รองหัวหน้าพรรคประชาชาติ, นายกูเฮง ยาวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส เขต 3, นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส เขต 4, นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ส.ส.ปัตตานี เขต 4, นายซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะลา เขต 2, นายอับดุลอายี สาแม็ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา เขต3 นายมูฮัมหมัดรุสดี เชคฮารูณ รองโฆษกพรรคประชาชาติ และคณะ ร่วมกิจกรรม กิจกรรมมอบรางวัล การประกวดภาพถ่ายชุดมลายูในวันฮารีรายอ ที่จัดขึ้นโดยกลุ่ม ‘NEXT GEN คนรุ่นต่อไป’ ซึ่งมีเยาวชนมาร่วมกิจกรรมพร้อมกับครอบครัวจำนวนมาก

ภายในงานมีการแสดงร้องเพลงอะนาชีดโดยศิลปิน WSEAM มีการแสดง Silat Harimau สุดเซอร์ไพรส์ และร่วมกันร้องเพลงสุขสันต์วันฮารีรายอในบรรยากาศที่แสนอบอุ่น โดยผู้ร่วมงานทุกคนสวมใส่ชุดมลายู อันเป็นการแสดงถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของคนมลายูในภาคใต้ และกิจกรรมสำคัญคือการประกาศรางวัลภาพถ่ายจำนวน 10 ภาพ ซึ่งมีผู้ส่งประกวดกว่า 380 ภาพ แบ่งเป็นรางวัลประเภทครอบครัวสุขสันต์ รางวัลครอบครัวสนุกสนานเฮฮา รางวัลมลายูคลาสสิค รางวัลเยาวชนมลายู และรางวัลยอดไลค์สูงสุด โดยท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ร่วมมอบรางวัลให้ รางวัลละ 2,000 บาท

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ กล่าวว่า การแต่งกายชุดมลายูในวันรายอนั้น เพราะวันรายอเป็นวันสำคัญของพี่น้องมุสลิมทั่วโลก ในทุกภาคทุกภาษาเขาก็แต่งกายชุดวัฒนธรรมในวันสำคัญของศาสนา เราในฐานะชาติพันธ์มลายูในพื้นที่นี้ การแต่งก่ายมลายูที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ตั้งแต่อดีตมา โดยเฉพาะในวันสำคัญ เพื่อไม่ให้การแต่งก่ายชุดมลายูที่บรรพบุรุษเราได้มอบให้ ไม่ให้หายไปจากโลกนี้ ปีนี้มองแล้วปลาบปลื้มใจที่พี่น้องประชาชนแต่งกายชุดมลายูทุกหมู่บ้าน ทุกๆมัสยิดและรวมกลุ่มกัน 3-4 วัน ต้องการที่จะรักษาวัฒนธรรมของเราให้สืบไปจนถึงลูกหลานของเรา

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวว่า ต้องขอร่วมแสดงความยินดีกับพี่น้องในพื้นที่ ที่ได้ปฏิบัติกิจทางศาสนาในเดือนรอมฎอน ที่ทุกคนได้พากเพียรอดทนปฏิบัติศาสนกิจที่ยิ่งใหญ่และบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ ในวันรายออิดิลฟิตรี ที่ทุกสมาชิกในครอบครัวกลับมาอยู่รวมกันแสดงความรักและผูกพันและได้มาร่วมเฉลิมฉลอง ซึ่งถือเป็นวันครอบครัวในบรรยากาศที่สุขสันต์
จากคำถามว่ามีแนวทางการพัฒนาภาษามลายูอย่างไรนั้น ต้องเรียนว่า การเปลี่ยนแปลง คือการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่เกิดขึ้น ประเทศในประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ จำนวนประชากรส่วนใหญ่อยู่ในเป็นประเทศในคาบสมุทรมลายูที่ภาษาราชการและภาษาในการทำงานเป็นภาษามลายู ประเทศไทยมีพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่พี่น้องประชาชนใช้ภาษามลายูและพูดภาษามลายูเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ในประชาคมอาเซียน สิ่งหนึ่งที่รัฐจำเป็นต้องส่งเสริมก็คือภาษามลายู ความจริงเรามีความเข้มแข็งภาษามลายูมาโดยตลอด แต่พอมาประมาณ 50 กว่าปี ที่แล้วคือสมัยที่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปฏิวัติ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้หยุดยั้งและสกัดกั้นภาษามลายู ต่อมาสมัยจอมพล ป. พ.ศ.2511 ได้ออกกฎให้ปอเนาะที่จดทะเบียนแล้วทุกแห่งต้องหยุดการสอนภาษามลายู จนถึงปลายปี 2514 ได้มีการนำภาษาไทยไปแทนที่ภาษามลายู ต่อจากนั้นรัฐบาลได้ยกเลิกการศึกษาภาษามลายูในโรงเรียนชั้นประถม และห้ามหนังสือมลายูเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย จึงทำให้ภาษามลายูเรา เหมือนอยู่หยุดนิ่ง ต้องขอบคุณ ทางผู้นำศาสนา โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม และอุสตาส ที่พยายามรักษาโดยเฉพาะการนำภาษามลายูไป สอนในสถาบันการศึกษาในสถาบันปอเนาะ ตาดีกา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จนวันนี้พอเข้าสู้ประชาคมอาเซียน สิ่งที่จะไปบังคับห้ามภาษามลายูไม่ได้แล้ว เพราะประชาคมอาเซียนใช้ภาษามลายูเป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วภาษาก็ดี วัฒนธรรมก็ดี และศาสนา จะต้องเป็นสมบัติร่วมกันของทุกคน จะต้องไม่มีพรมแดน และจะต้องไม่มีเจ้าของ แต่ต้องรักษา ส่งเสริม พัฒนาการและสนับสนุน อยากจะฝากพี่น้องที่เป็นมลายูแม้ภาษามลายูเป็นภาษาของท่านที่ท่านต้องภูมิใจ แต่ท่านต้องไม่หวงแหนใช้เฉพาะคนมลายูเท่านั้น แต่ถ้าคนในประเทศไทยได้ใช้ภาษามลายู พวกเราก็ควรจะดีใจและเป็นภาษาของทุกคนในประเทศไทย วันนี้ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนสิ่งหนึ่งที่สามารถใช้ในการสื่อสาร เข้าไปค้าขาย เข้าไปพัฒนาได้คือภาษามลายู ดังนั้นสิ่งที่ต้องการอย่างยิ่งคือในระบบการเรียนการสอนภาษาที่ประชาชนในพื้นที่มีความพร้อมอยู่แล้ว รัฐเพียงแค่ส่งเสริมสนับสนุน ไม่จำเป็นต้องมาครอบงำเป็นอุปสรรคในการพัฒนา เรื่องภาษามลายูเราถูกรัฐหยุดยั้งมานานมันจะต้องมีการพัฒนา ศึกษา และอยากจะฝากแม้เรามีความภูมิใจภาษามลายูถิ่น ตัวอักษรยาวีที่เป็นต้นกำเนิดในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม แต่เราก็ต้องพัฒนาเป็นมลายูกลางที่ประชาคมอาเซียนใช้รวมกันคู่ขนานไปด้วย ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ทั้งสองสิ่ง ไปด้วยกันได้ ผมคิดว่าวันนี้ไม่มีใคร จะห้ามภาษามลายูได้แล้ว พอนายกรัฐมนตรีมาเลเซียบอกว่า ภาษามลายูควรจะเป็นภาษาที่สองของอาเซียน ก็จำเป็นต่อไปนี้ ไม่ใช่คนมลายูอย่างเดียว คนทั้งประชาคมอาเซียนต้องมาศึกษาเรียนรู้ภาษามลายู เพราะถ้าคุณไม่มีภาษาคุณจะอ่านหนังสือไม่ได้ คุณก็ไม่สามารถจะพูดกันได้ ที่สำคัญเราต้องทำมาค้าขาย เราต้องมาอยู่ร่วมกัน อันนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง อาจจะเป็น ศักราชของการเปิดภาษาลายู แล้วก็เป็นความโชคดีของประเทศไทยที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพี่น้องมลายู และมีภาษามลายูเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าจะทำให้เป็นโอกาสและเป็นสิ่งท้าทาย ที่จะนำมาสู่ความเจริญให้ประเทศต่อไป

อะหมัด รามันห์สิริวงศ์/ยะลา/

การเมือง