ชาวจะนะเร่งรัฐบาลและสภาพัฒน์ฯ ผลักดัน “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” หลัง น้ำมันแพง-ปุ๋ยแพง กระทบทั้งอาชีพเกษตรกรและประมง
นางมณี อนันทบริพงษ์ แกนนำประชาชนผู้สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการให้มี “เมืองต้นแบบที่ 4” หรือ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ จากผลกระทบที่ปุ๋ยและวัสดุต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำการเกษตรมีราคาแพง โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีที่มีการปรับราคากว่า 100% เช่นเดียวกับยาปราบศัตรูพืชที่ราคาเพิ่มขึ้นจากเดิม 1 เท่าตัว ว่า กลายเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับ ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรอย่างสาหัส เพราะไม่มีเงินพอที่จะ ซื้อปุ๋ยมาใช้ในการทำการเกษตร ซึ่งการทำการเกษตรถ้าไม่มีปุ๋ย ไม่มีปัญญาในการซื้อยาปราบศัตรูพืช ก็เท่ากับเป็นการล้มเหลวของการประกอบอาชีพ รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงทำให้สินค้าทุกชนิดปรับเปลี่ยนราคาขึ้นไปอีก ยิ่งเป็นการ ซ้ำเติม ให้ประชาชนที่ ยากจนอยู่แล้วยากจนยิ่งขึ้น
ในฐานะที่เป็นตัวแทนของชาวจะนะ ที่ต้องการเห็นการพัฒนาเกิดขึ้นในพื้นที่ ตามโครงการ เมืองต้นแบบที่ 4 หรือ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ วันนี้ต้องออกมาวิ่งวอนรัฐบาลและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการ ผลักดัน โครงการ เมืองต้นแบบที่ 4 หรือ นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ให้เร่งในการดำเนินการ ขับเคลื่อน โครงการนี้ให้รวดเร็วและเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะเป็นความหวังของคนในพื้นที่ และของ นักเรียน นักศึกษา ที่จบมาแล้วยังไม่มีงานทำ และที่จะจบใหม่อีกจำนวนมาก
ผลกระทบจาก “โควิด 19” ทำให้ คุฯภาพชีวิตย่ำแย่ลง การจ้างงานน้อยลง ประเทศมาเลเซียยังไม่ประกาศรับคนงานไทยกลับไปทำงาน เมื่อมาเจอกับ ปัญหา น้ำมันแพงราคาสินค้าปรับตัว ยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้คนในพื้นที่ ยากจนยิ่งขึ้น ถ้ารัฐบาลไม่ ผลักดันให้เกิด โครงการใหญ่ๆ อย่าง นิคมอุตสาหกรรม ที่ต้องให้ คนทำงาน จำนวนมาก ก็เป็นเรื่องยาก ที่จะแก้ปัญหา คนจน คนว่างงาน คุณภาพชีวิต และ เศรษฐกิจ สังคมในพื้นที่ ให้ดีขึ้น เพราะนับวันความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่มีแต่แย่ลง จนลงทุกวัน
ในขณะที่นายยา หว่าหลำ ซึ่งมีอาชีพทำประมงชายฝั่ง กล่าวว่าตนเลิกทำอาชีพประมง เพราะเป็นอาชีพที่ไม่พอเลี้ยงตัว ปลาในทะเลน้อยลง แต่การใช้เงินในการลงทุนมากขึ้น ค่าซ่อมเรือ อุปกรณ์ในการทำประมง ล้วนมีราคาแพงทุกวัน และยิ่งตอนนี้ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการออกเรือ ขึ้นราคาลิตรละ 50 บาท ยิ่งทำให้การเป็นชาวประมง ยากลำบากยิ่งขึ้น การทำประมง ไม่ใช่อาชีพที่ทำได้ทุกวัน มีวันที่ทำไม่ได้ และหน้ามรสุมก็ต้องหยุด ถ้าในพื้นที่มรการลงทุน มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่เป็น นิคมอุตสาหกรรม อย่างที่เห็นมา ก็จะเป็นทางเลือก ให้คนในพื้นที่สามารถ มีอาชีพใหม่ ที่เลี้ยงตัวได้ ซึ่งเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนในพื้นที่ ตนเอง และคนในพื้นที่ต้องการเห็นการ พัฒนา เพื่อเป็น ทางออก และ ทางเลือก ในการประกอบอาชีพ ไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไม่รัฐบาล จึงไม่เร่งรีบในการ ขับเคลื่อน การพัฒนาให้สำเร็จ ทั้งที่สามารถจะแก้ปัญหาความเดือดร้อน ความยากจน และคนว่างงานได้