ม.ราชภัฎสงขลา รวมภาคีเครือข่ายพัฒนาท้องถิ่น 7 ชุมชนต้นแบบ 7 คณะ รับผิดชอบจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ร่วมสร้างองค์ความรู้ จัดทำทำเนียบคลังสมอง รวบรวมจัดทำเป็นแพลตฟอร์มระดับประเทศ
เมื่อวาน (17 พ.ค.65) ณ ห้องประชุม โรงแรมลากูน่าแกรนด์ แอนด์ สปา ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรผุปภาคีเครือข่ายเพื่อการพฒนาท้องถิ่น ตามโครงการพระราโชบาย จัดงานการสร้างอางค์ความรู้และจัดทำทำเนียบคลังสมองภาคีเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล มีกิจกรรมการเสวนา การแสดงผลิตภัณฑ์ ผลงานท้องถิ่น
โครงการนี้จัดกิจกรรมขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2565 โดยมีเครือข่ายภาคประชาชนพื้นที่จังหวัดสงขลา ได้แก่ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จังหวัดพัทลุง ได้แก่ ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน และจังหวัดสตูล ได้แก่ ต.เขาขาว อ.ละงู และ ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง
การจัดทำโครงการครั้งนี้ คณะมุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราภัฏสงขลา ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายอาจารย์จาก 7 คณะ เข้าไปวางแผนร่วมกับชุมชน ตั้งแต่การสัมมนาเชิงปฎิบัติการ การพัฒนาแพลตฟอร์ม และการจัดทำฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และนำมาสู่การจัดงานสร้างองค์ความรู้ และจัดทำทำเนียบคลังสมองภาคีเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่นขึ้น
ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม.ราชภัฎสงขลา กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ และจัดทำทำเนียบคลังสมองภาคีเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่น ตามโครงการพระราโชบาย มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ในพื้นที่รับผิดชอบคือจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล
“เป็นกิจกรรมที่ 2 จัดงานการสร้างองค์ความรู้และจัดทำทำเนียบคลังสมองภาคีเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่น ตามโครงการพัฒนาศักยภาพและกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่ายที่ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยมีคณาจารย์จาก 7 คณะ ได้ร่วมรับผิดชอบคณะละ 1 ตำบลใน 7 ตำบลของ 3 จังหวัดที่กล่าว”
รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราภัฎสงขลา เปิดเผยว่า ตามโครงการดังกล่าว เรามีด้วยกัน 38 ม.ราชภัฎด้วยกัน เฉพาะม.ราชภัฏสงขลาโครงการที่เราดำเนินการคือโครงการพัฒนาเครือข่ายภาคีชุมชนต้นแบบ 7 ขุมขน 7 คณะ เพื่อรวบรวมถ่ายทอดองค์ความรู้ปราชญ์ชาวบ้านปราชญ์ชุมชนทุกคนที่มีอยู่ จากนั้นจะรวบรวมจัดทำเป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนาท้องถิ่นทั้งประเทศ
เฉพาะในส่วนที่ ม.ราชภัฎสงขลารับผิดชอบนั้นมีทั้งหมด 7 ชุมชนต้นแบบ มาร่วมประชุมเสวนา รับฟังข้อเสนแนะความคิดเห็น เติมเต็ม ส่วนที่ ม.ราชภัฎอีก 37 แห่งทั่วประเทศก็จะมีภาคีชุมชนต้นแบบของตนเอง เมื่อแล้วเสร็จสมบูรณ์ก็จะนำมารวบรวมจัดทำเป็นแพลตฟอร์มใหญ่ทั้งประเทศ
“ในความรับผิดชอบของ ม.ราชภัฎสงขลาเราเองมี 3 จังหวัดคือสงขลา พัทลุง สตูล แต่เมื่อรวมกันแล้ว 38 ราชภัฎจะยิ่งใหญ่มากๆ เป็นแพลตฟอร์มที่มีองค์ความรู้ของชุมชนในประเทศไทย ที่ร่วมกันพัฒนาประเทศสู่ประเทศที่พัฒนา ทุกชุมชนจะเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคตค่ะ”
#เกษมลิมะพันธุ์ #KasemLimaphan #สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย