เลย-ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติตรวจพื้นที่แก้ปัญหาคนอยู่กับป่าและช้างป่า
อ.ภูกระดึง จ.เลย ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติขึ้นเมืองเลยแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันของคน ป่า และช้างป่า
เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 20 พ.ค.65 ณ บ้านพองหนีบ หมู่ 5 ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย นางสาวกัญจนา ศิลปะอาชา ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะ ขึ้นเมืองเลย ที่หมู่บ้านรอบอุทยานแห่งชาตูกระดึง มีนายณรงค์ จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ปลัดอาวุโสอำเภอภูกระดึง หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับและรายงาน ชี้แจงข้อมูล ยังได้เพื่อร่วมประชุมชี้แจง รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงาน องค์กร มูลนิธิตลอดจน ประชาชนในพื้นที่ถึงปัญหาช้างป่าลงมารบกวนเข้าทำลายทรัพย์สิน พืชไร่ พืชสวนของประชาชนที่อยู่รอบอุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ ภูกระแต แก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันของคน ป่า และช้างป่า พบกับทีมอนุรักษ์ หน่วยป้องกันรักษาป่า อุปกรณ์การป้องกัน รับฟังและชมการสาธิตการขับไล่ช้างป่า โดยปัจจุบันช้างป่ามีจำนวนกว่า 100 ตัวทั้ง
จากอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เขตรักษาพันธุสัตว์ป่าภูค้อภูกระแต และจากอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ มาหากินที่บ้านพองหนีบเป็นประจำสร้างความหวาดกลัวและเข้าทำลายพืชไร่พืชสวน พื้นที่การเกษตร บ้านเรือน ยุ้งข้าวของประชาชน
มีผู้เข้าร่วมการประชุมในวันนี้ ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เขตรักษาพันธุสัตว์ป่าภูค้อภูกระแต่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ผู้ประสานงานอาสาเฝ้าระวังช้างป่าภูหลวง ผู้ประสานงานอาสาเฝ้าระวังช้างป่าภูหลวง แกนนำอาสาเฝ้าระวังช้างป่าภูหลวง เกษตรกรต้นแบบการใช้รังผึ้งป้องกันช้างป่าและปลูกพืชลดแรงดึงดูดช้างป่า อำเภอวังสะพุง คุณครูโรงเรียนบ้านแก่งม่วง อ.ฎเรือ(โครงการเรียนรู้อยู่ร่วมช้างป่าและสร้างแปลงต้นแบบการปลูกพืชลดแรงดึงดูดช้างป่าและเลี้ยงผึ้ง) สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์ ประธานเครือข่ายองค์กรชุมชนต้นน้ำพอง เครือข่ายเกษตรกรรมธรรมชาติ อ.ภูกระดึง เครือข่ายเกษตรกรรมธรรมชาติ อ.ภูกระดึง เครือข่ายองค์กรชุมชนตำบลหลักด่าน อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เครือข่ายองค์กรชุมชนตำบลหลักด่าน อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ และผู้ใหญ่บ้านพองหนีบ
นายทองสา คำมา ผู้ใหญ่บ้านพองหนีบ รายงานข้อมูลว่า กรณี”การอยู่ร่วมชุมชน คน กับช้างป่า โดยลดการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และพืชผลทางการเกษตร และเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง” ต้องมารับข้อเสนอเพื่อชุมชนกับช้างป่า อาหารเป็นปัจจัยหลักที่ดึงดูดช้างป่าออกจากป่ามากินพืชผลการเกษตร พืชอาหารช้าง อาทิ อ้อย ข้าวโพด หลัง กล้วย รวมถึงอาหารที่เป็นแรงดึงดูดให้ช้างป่าค้นหาและเก็บไว้ในขนำ กระท่อม เถียง เกษตร เช่น ข้าว ปุ๋ย เกลือ ในภาพรวมประซากรข้างป่าค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น (อัตราร้อยละ 3 ต่อปี) ดังนั้นจึงต้อง พัฒนานโยบายและมาตรการที่ เหมาะสมเพื่อการอยู่ร่วมระหว่างคนกับช้างป่า แนวทางการอยู่ร่วมกับช้างป่า คือ ต้องเพิ่มพืชอาหารในป่า คุ้มครองพื้นที่ทุ่งหญ้าในป่า โดยดำเนินการอย่างประณีต สอดคล้องกับฤดูกาลและเส้นทางการเคลื่อนที่หากินของช้างป่า เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับระบบนิเวศพื้นที่ ไม่เปลี่ยนสภาพธรรมชาติ ให้การคุ้มครองหมู่บ้าน ชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชน โดยปรับระบบไฟส่องสว่างในและรอบหมู่บ้านให้มี แสงสว่างเพียงพอที่ช้างจะไม่เข้าไปในหมู่บ้านหรือหลีกเลี่ยงรวมถึงชาวบ้านจะได้เห็นตัวช้างในช่วงกลางคืนที่ชัดเจน จัดทำระบบหอกระจายเสียงเพื่อแจ้งข่าวเฝ้าระวังช้างป่าให้กับชุมชน ทั้งนี้การออกแบบแสงส่องสว่างและเสียง จะต้องดำเนินการโดยใช้ฐานความรู้และพฤติกรรมช้างป่า ต.ชุมชนไม่เก็บอาหารช้างไว้ในขนำ กระท่อม เถียงนาในพื้นที่การเกษตร กรณีที่ช้างป่ามากินอาหารหรือน้ำให้แบ่งปัน อย่าทำลายอาหารหรือน้ำทิ้งทั้งหมดซึ่งจะก่อให้เกิดการทำลายข้าวของและกระท่อม ส่งเสริมและพัฒนาระบบการเกษตรและธุรกิจต่อเนื่อง โดยปรับระบบจากเกษตรพืชเดี่ยวที่เป็นอาหา
ช้าง เป็นเกษตรผสมผสานหรือไร่นาสวนผสม พร้อมสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ในแนวคิดคนอยู่ร่วมกับช้างป่า การจัดทำรั้วรังผึ้งช่วยคุ้มครองพื้นที่เกษตรหรือสร้างอาชีพทางเลือกที่ช้างไม่รบกวนและต้องมีระบบอาสาสมัครเผ้าระวังช้าง จัดให้มีระบบอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างประจำหมู่บ้าน และเครือข่าย ต้องมีระเบียบและระบบการชดเชยเยี่ยวยา พืชผลที่เสียหาย การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บ แลtทรัพย์สินที่เสียหาย ทั้งในระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองทุนจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ
นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา กล่าวว่า จากการรับฟังปัญหา ข้อเรียกร้องของประชาชนผู้นำหมู่บ้าน หน่วยงานและจากประชาชนแล้ว ตนเห็นว่าสามารุแก้ปัญหานี้ได้ ทั้งจัดทำแผนงานเฝ้าระวังและการอยู่ร่วมระหว่างชุมชนกับช้างป่า ทั้งในระดับชุมชน เครือข่ายขุม ตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์ช้างป่าจังหวัดเลย โดยเชื่อมโยงพื้นที่ในระบบนิเวศร่วมกันของ จ.เลย กับ จ.เพชรบูรณ์
การสร้างรั้วไฟฟ้า การทำรั้วรังผึ้งตนนั้นไม่ต้อง มาตรการการการผลักดันช้างแบบใช้เสียงดัง การเพิ่มระบบไฟฟ้าในหมู่บ้านรวมทั้งมีหอกระจายข่าวหรือหอเตือนภัย ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 ทราบมาว่าทางภาครัฐจะพิจารณาอนุมัติงบประมาณลงมาให้ทั้งประเทศ แก่เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่า 246 เครือข่ายๆละ 50,000 บาท ส่วนค่าชดเชยต่างๆนั้นขอประชุมกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดในวันพรุ่งนี้
———————///————————–
บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย
หมายเหตุ…ภาพถ่ายเอง