ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบแนวทางการบริหารงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดมหาสารคาม

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบแนวทางการบริหารงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดมหาสารคาม

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบแนวทางการบริหารงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดมหาสารคาม

วันนี้ (9ก.ค.65) เวลา 15.00 น. ที่สหกรณ์โคนมโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ดร.ทองเปลว กองจันทร์ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดมหาสารคามเพื่อรับฟังผลการดำเนินงานของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด โดยมีนายวิวัฒน์ อินไทยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ฯให้การต้อนรับ
กลุ่มผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ ได้ขอจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ภายใต้ชื่อ “ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด” ได้รับอนุมัติจัดตั้งจากนายทะเบียนสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2540 เป็นประเภทสหกรณ์การเกษตร เลขทะเบียนสหกรณ์เลขที่ ก.010840 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 175 หมู่ที่ 1 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นองค์กรที่ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพิ่มขึ้นพัฒนาการบริหารจัดการสนองต่อความต้องการของสมาชิก ตามหลักธรรมาภิบาลและพัฒนากิจการสหกรณ์และมุ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจ “โคนม” และผลิตภัณฑ์นมให้ครบวงจร ปัจจุบันมีสมาชิกสหกรณ์ 207 คน มีนายวิสูตร ประทีปวนิช เป็นประธานกรรมการ มีวงเงินกู้ยืมหรือค้าประกันจำนวน 100 ล้านบาท

ในการนี้สหกรณ์ฯ ได้เสนอ “ขอโอกาส เพื่อแก้ไขจุดอ่อน” ในการจัดการแผนพัฒนาองค์กร “สหกรณ์ ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ และในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม 4 ข้อ ได้แก่ 1. ขอปรับราคากลางน้ำนมดิบของเกษตรกรโคนมประเทศไทย ให้สอดคล้องกับต้นทุนการเลี้ยงโคนม 2. ขอแหล่งเงินกู้ให้สมาชิก เพื่อปรับรูปแบบคอกรีดนม(ยกสูง) และโรงเรือนพักแม่โครีดนม (40 ฟาร์ม ต้นแบบ) 3.ขอแหล่งเงินกู้เพื่อจัดหาครุภัณฑ์ ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมให้หลากหลาย เช่น นมผงเลี้ยงลูกโค , นมผงอัดเม็ด,นมข้นหวาน,ไอศกรีมนมโคสด เกษตรกรไทย 100% เป็นต้น และ 4.ขอแหล่งเงินกู้ สร้างโรงงานแปรรูปโคนม-โคเนื้อ ในพื้นที่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมผลการดำเนินงานของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชั่น “เซียนแดรี่ฟาร์ม” ส่งต่อให้เกษตรยุค 4.๐ และฟาร์มโคนม GAP ได้สื่อสารอย่างรวดเร็ว มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ด้านการตลาด ถือเป็นตัวอย่างสหกรณ์ที่มีผลงานระดับประเทศ โดยจะนำข้อเสนอต่างๆ เข้าหารือในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
/////////


พิเชษฐ ยากรี – มหาสารคาม

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม