สนว.อีสาน ประกาศเกียรติคุณคนทำสื่อคุณภาพ มอบโล่ “สื่อคุณธรรม” การันตรีมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนภาคอีสาน

สนว.อีสาน ประกาศเกียรติคุณคนทำสื่อคุณภาพ มอบโล่ “สื่อคุณธรรม” การันตรีมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนภาคอีสาน

สนว.อีสาน ประกาศเกียรติคุณคนทำสื่อคุณภาพ มอบโล่ “สื่อคุณธรรม” การันตรีมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนภาคอีสาน

สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน งานเสวนาเรื่อง “ทำข่าวอย่างไรไม่ให้โดนฟ้อง … PDPA รู้ไว้ก่อนจะปลอดภัย” และ รมว. ดีอีเอส มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สื่อคุณธรรม ให้ผู้ทำหน้าที่สื่อมวลชนภาคอีสาน ที่มีคุณธรรม และจริยธรรม ตระหนักในความสำคัญของการใช้สื่อออนไลน์ และเป็นแบบอย่างในการใช้สื่อออนไลน์ในการทำประโยชน์ให้กับสังคม

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องกรรณิการ์บอลรูม โรงแรมพิมานการ์เด้น บูติคโฮเต็ล อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนาเรื่อง “ทำข่าวอย่างไรไม่ให้โดนฟ้อง … PDPA รู้ไว้ก่อนจะปลอดภัย” มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สื่อคุณธรรม และมอบเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือสื่อมวลชนที่พิการทางสายตา โดยมี พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ,คณะกรรมการบริหารสมาคม, สื่อมวลชนภาคอีสาน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงาน

พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน กล่าวว่า จากอดีตจนถึงปัจจุบัน บทบาทของสื่อมวลชนทุกแขนง ทั้ง วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ได้ทำหน้าที่สะท้อนภาพเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวของสังคมไทยในมิติต่างๆ ด้วยความตั้งมั่นและซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตนเองมาโดยตลอด รวมไปถึงยังมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมในหลายๆเหตุการณ์ ซึ่งเกิดจากการทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งของสื่อมวลชนนั่นเอง

กระทั่งในยุคปัจจุบันที่โลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล ยุคที่ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง รวมไปถึงข่าวสารจากทั่วโลกเราสามารถรับรู้ได้ เกือบจะเวลาเดียวกันกับสถานที่ที่เหตุการณ์ในอีกซีกโลก สื่อมวลชนเองก็จะต้องปรับตัวในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เช่นกัน และพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ภาค
อีสาน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อท้องถิ่น ในประเด็น “ทำข่าวอย่างไร ไม่ให้โดนฟ้อง … PDPA รู้ไว้ก่อนจะปลอดภัย” เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในวิชาชีพสื่อสารมวลชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความ สำคัญของการใช้สื่อออนไลน์ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน บรรยายเรื่อง “ทำข่าวอย่างไร ภายใต้ PDPA ห่างไกลคุก” โดยท่านวิทยากรจาก ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ PDPA Thailand และเลขาธิการ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ,นายฐิติชัย อัฏฏะวัชระ ที่ปรึกษาชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ และนายธาราวุฒิ สืบเชื้อ รองนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ฝ่ายกฎหมาย ดำเนินรายการโดย ดร.อิสเรศณุชิตภ์ จันทร์ศรี ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาศักยภาพมนุษย์ อาเซียน AIHD และการบรรยายพิเศษ “PDPA กับสื่อสังคมออนไลน์” โดย นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นอกจากนี้คณะกรรมการสมาคมฯ ได้พิจารณาคัดเลือกองค์กร และบุคคล เข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “สื่อคุณธรรม” จำนวน 25 คน โดยเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม และจริยธรรม ตระหนักในความสำคัญของการใช้สื่อออนไลน์ ส่งเสริมจริยธรรม มาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน และเป็นแบบอย่างในการใช้สื่อออนไลน์ในการทำประโยชน์ให้กับสังคม โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบโล่ดังกล่าวให้

อาจารย์เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่รับการคัดเลือกเข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “สื่อคุณธรรม” ซึ่งเป็นการประกาศยกย่อง ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมและสู่สายตาสาธารณชน ในการเป็นแบบอย่างที่ดีในมิติด้านคุณธรรม และเป็นผู้มีพฤติกรรมด้านคุณธรรมควรค่าแก่การยกย่อง ในการทำหน้าที่สื่อมวลชน ในการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งดีงาม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมไทย

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Personal Data Protection Act หรือ PDPA คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การควบคุมไม่ให้องค์กรนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม ด้วยความที่ในปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การครอบครองเบอร์โทรศัพท์โดยการซื้อฐานข้อมูลมาจากที่อื่นและโทรไปหาโดยที่ไม่มีการรับรู้จากเจ้าของเบอร์โทรศัพท์นั้น หรือการที่เราได้รับโฆษณาบน Social Media จากข้อมูลการใช้งานของเรา โดยที่เราไม่รู้ตัว หรือไม่ได้ยินยอมให้องค์กรเก็บข้อมูล เป็นต้น

กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยข้อบังคับกฎหมาย PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่น ๆ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ บันทึกเสียง เลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ซึ่งรายละเอียดจะได้พูดถึงในการบรรยายพิเศษ และเวทีเสวนาในวันนี้ เพื่อคลายความวิตกกังวลของพี่น้องสื่อมวลชน และทุกท่าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม