นักศึกษา ม.ทักษิณสงขลา ศึกษาดูงาน เรียนรู้วิถีชิต ปฏิบัติการชุมน กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโคฯ เกาะแต้ว

นักศึกษา ม.ทักษิณสงขลา ศึกษาดูงาน เรียนรู้วิถีชิต ปฏิบัติการชุมน กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโคฯ เกาะแต้ว

นักศึกษา ม.ทักษิณสงขลา ศึกษาดูงาน เรียนรู้วิถีชิต ปฏิบัติการชุมน กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโคฯ เกาะแต้ว นำความรู้ ประกอบการจัดทำโครงงานการเรียนรู้ในชุมชน

(17 ก.ย.65) ณ อาคารเก่ากลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโค ม.3 ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา คณะกรรมการกลุ่มเลี้ยงโคฯ ได้ให้การต้อนรับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ วิชาเอกบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา มาศึกษาเรียนรู้ดูงานกลุ่มเลี้ยงโคฯ ในชุมชน

โดยมี นายสุคนธ์ เพชรวงศ์ ประธานกลุ่มฯ นายชัชวินทร์ ไชยบัญฑิตย์ เลขานุการกลุ่ม นายเสรี สาเจริญ เหรัญญิก และกรรมการ ให้การต้อนรับและร่วมบรรยายสรุปให้นักศึกษาฟัง

นายสุคนธ์ เพชรสงฆ์ ประธานกลุ่มฯ กล่าวว่า กลุ่มเลี้ยงโคฯ ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2526 โดยเกษตรผู้สนใจได้รวมกลุ่ม ดำเนินงานต่อเนื่องมา จนกระทั่งปี 2561 สำนักงานพัฒนาชุมชน ได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนใช้ชื่อว่า”#กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโคแม่พันธุ์และโคขุนเศรษฐกิจพอเพียงตำบลเกาะแต้ว”ขึ้น

ปัจจุบัน กลุ่มมเลี้ยงโคฯ มีพื้นที่สาธารณะในหมู่ที่ 3 ต.เกาะแต้ว เนื้อที่ 122 ไร่ มีสมาชิกรวม 25 คน ชาย 13 คน หญิง 12 คน บริการจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ มีทั้งหมด 7 คน มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลแต่ละฝ่าย

“ก็อย่างที่นักศึกษาเห็น ทรัพย์สินที่เป็นอาคาร/สิ่งปลูกสร้างทั้งหมด 4 หลัง เช่น อาคารที่เราประชุมกันวันนี้ สภาพทรุดโทรม หลังคาเปิด งบประมาณที่จะมาซ่อมและสร้างใหม่ยังไม่มี ในขณะที่ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ไม่มีการบรรจุไว้ในแผนพัฒนา จึงทรุดโทรมมากขึ้น”

ประธานกลุ่มเลี้ยงโคฯ กล่าวว่า คณะกรรมการมีการประชุมกันเดือนละสองครั้ง ครั้งงที่ 1 ทุกวันที่ 15 ประชุมกรรมการ ครั้งที่ 2 สิ้นเดือนประชุมสมาชิก เมื่อมีการจำหน่ายโคจะมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย และที่สำคัญเมื่อสิ้นปีจะมีการทำบัญชีงบดุลแสดงฐานะของกลุ่มอีกด้วย

“เรามีแม่พันธุ์มาตั้งแต่ปี 2526 ต่อยอดมาอย่างต่อเนื่อง เป็นสายพันธุ์ผสม มีโครงสร้างใหญ่ แข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศบ้านเราเป็นอย่างดี เราเลี้ยงเพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มและชุมชนทั้งในและนอกเขต รายได้ส่วนหนึ่งแบ่งเป็นเงินปันผลให้กับสมาชิก ณ วันนี้เรามีโครวมทั้งลูกโคประมาณ 50 ตัว”

ประธานกลุ่มเลี้ยงโคฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ในการประชุมล่าสุดได้มีการปรึกษาหารือกำหนดแนวทาง เพื่อก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่อง ที่ประชุมจึงมีมติขอใช้พื้นที่ 4 ไร่ ดำเนินการสร้างศูนย์เรียนรู้ขึ้น 4 ศูนย์ โดยขณะนี้ได้ดำเนินการเริ่มเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น

ประกอบด้วย ศูนย์การเรียนรู้จัดทำแปลงหญ้าเนเปียร์ (Napier grass) ซึ่งเป็นหญ้าที่มีโปรตีนสูงสำหรับให้โคได้กิน ศูนย์การเรียนรู้ปลูกพืชผักสวนครัว ศูนย์การเรียนรู้บ่อปลากินพืช/กินเนื้อ และศูนย์การเรียรรู้อาคารโรงเรือน สำหรับเลี้ยงโคแม่พันธุ์และโคขุน ใครไปใครมาศึกษาเรียนรู้ดูงาน พื้นที่ตรงนี้จะรวมทุกอย่างไว้ด้วยกัน

ดร.บัณฑิต ทองสงฆ์ รักษาการแทน ผอ.สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ กล่าวว่า ม.ทักษิณได้จัดการเรียนรู้รายวิชาทั่วไป เพื่อพัฒนานิสิตให้มีความเป็นพลเมืองมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และทักษะการคิดสร้างสรรค์ที่เอื้อต่อการสร้างนวัติกรรมสังคม ในรายวิชาปฏิบัติกานรชุมชนเพื่อทักษะชีวิต

“โดยการให้นิสิตเรียนรู้วิถีชีวิต และฝึกปฏิบัติชุมชน หนึ่งในเป้าหมายคือกลุ่มเลี้ยงโคฯ เกาะแต้ว ที่มีศักยภาพและสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ผลจากการถ่ายทอดกรอบความคิด ความรู้ ข้อมูล และการจัดการในประเด็นต่างๆ ของกลุ่มโคฯ เพื่อนำไปจัดทำโครงงานการเรียนรู้ในชุมชนต่อไป”

#เกษมลิมะพันธุ์ #สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม