สภาวัฒนธรรมตำบลเชียงกลาง ตำบลพญาแก้วร่วมสืบสานรักษาประเพณีถวายทานสลากภัต

สภาวัฒนธรรมตำบลเชียงกลาง ตำบลพญาแก้วร่วมสืบสานรักษาประเพณีถวายทานสลากภัต

สภาวัฒนธรรมตำบลเชียงกลาง ตำบลพญาแก้วร่วมสืบสานรักษาประเพณีถวายทานสลากภัต
5 พฤศจิกายน 2565
เวลา 09.39 น.
สภาวัฒนธรรมตำบลเชียงกลาง ตำบลพญาแก้ว อ.เชียงกลาง จ.น่าน โดยสภาวัฒนธรรมทั้งสองตำบลร่วมกันทำบุญถวายตานสลากภัตเป็นประจำทุกปี การตานก๋วยสลากของสภาวัฒนธรรมตำบลเชียงกลาง ตำบลพญาแก้ว จะจัดหมุนเวียนไปในวัดของทั้งสองตำบล จำนวน 9 วัด ดังนั้นในรอบ 9 ปี คณะศรัทธาแต่ละวัดจะเป็นเจ้าภาพหนึ่งครั้ง โดยปีนี้กำหนดวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 11 ณ วัดฉิมพลีวนาราม บ้านงิ้ว หมู่ 9 ต.เชียงกลาง โดยปีนี้นิมนต์พระภิกษุสามเณร มารับถวายทานสลากภัต จำนวน 89 รูป นำโดยพระครูศีลนันโชติ รองเจ้าคณะอำเภอเชียงกลาง,พระครูวิบูลนันทวิทย์ เจ้าคณะตำบลเปือ,พระครูบุญญากรวิวัฒน์ เจ้าคณะตำบลเชียงกลาง ปีนี้นับเส้นก๋วยสลาก(สลากขี้ปู๋ม) ได้จำนวน 1,845 เส้น สลากสร้อย 9 ต้น โดยมีนายอนุชา แก้วเพ็ชร ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง รักษาราชการแทนนายอำเภอเชียงกลาง มาเป็นประธานในพิธี ผู้เข้าร่วมดังนี้นางอุไร เปียงใจ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงกลาง,ร้อยเอกนุชิต หอมรส ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลพญาแก้ว,นายดำรง รุ่งเรือง ส.อบจ.น่าน เขตอำเภอเชียงกลาง,นายสุรชัย สุวรรณชัยลักษณ์ นายกเทศมนตรีตำบลเชียงกลาง,นายมนัส พลหล้า กำนันตำบลพญาแก้ว,นายทัตพงศ์ นันทะน้อย กำนันตำบลเชียงกลาง ,นายสาย ขอดเตชะ นายก อบต.เชียงกลางพญาแก้ว,นายเจริญ อุดอ้าย ผอ.รพสต.บ้านงิ้ว,นายประดิษฐ อินทำ ประธานสภาเทศบาลตำบลเชียงกลาง,นายเสกสรรค์ ใจประสงค์ ผอ.โรงเรียนไตรราษฎร์สามัคคี,นายฉัตรชัย วรณัฐนันท์ ผอ.โรงเรียนไตรมิตรวิทยา กรรมการสภาวัฒนธรรมทั้งสองตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สารวัตร แพทย์ และพุทธศาสนิกชน คณะศรัทธาตำบลเชียงกลาง ตำบลพญาแก้ว ร่วมทำบุญถวายตานสลากจำนวนมาก

ประเพณีตานก๋วยสลากหรือสลากภัตนี้เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ก๋วยสลาก
ก๋วยสลาก สานจากไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอก (ชะลอม) ข้างในกรุด้านข้างด้วยใบตอง ใบขมิ้น หรือใบจี๋กุ๊ก สำหรับบรรจุข้าวสาร อาหารแห้ง ผลหมากรากไม้ ของใช้จำเป็น ดอกไม้ธูปเทียน โดยชาวบ้านจะนำก๋วยสลากของแต่ละคนไปรวมกันที่วัด และเขียนใบกำตานใส่ใบลานหรือกระดาษแข็ง เพื่อทำพิธีทางศาสนา และนำเส้นสลากของแต่ละบ้านมากองรวมกันจากนั้นให้ประธานและตัวแทนตำบล มาคนจำนวนสามรอบให้ปนกันทั้งหมดจากนั้นก็จะมีการสุ่มแจกเส้นสลากให้กับพระแต่ละรูป พระรูปใดจับได้สลากของใครก็จะไปหาก๋วยสลากตามที่ตั้งของหมู่บ้านนั้น ชื่อเจ้าของก๋วยสลากนั้นก็จะนำออกมาให้พระอ่านคำตาน และกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว และเจ้ากรรมนายเวร
-ก๋วยน้อย(สลากขี้ปู๋ม) ใช้สำหรับอุทิศให้กับบรรพบุรุษ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะเป็นญาติพี่น้อง เป็นมิตรสหาย หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เคยอยู่ด้วยกันมาก็ได้ ทั้งช้าง ม้า วัว ควาย แมว และสุนัข หรือถ้าไม่ได้ถวายทานให้กับใครเป็นพิเศษ ก็สามารถถวายเอาไว้ภายภาคหน้าก็ได้

-ส่วนก๋วยใหญ่(สลากโจ๊ก) จะเป็นก๋วยที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษ สามารถจุของได้มากกว่า ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่มีฐานะดีที่ต้องการทำบุญอุทิศบุญกุศลไปให้กับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว

-สลากสร้อยจะต่างจากก๋วยสองแบบแรกอย่างชัดเจน สลากโชคจะทำเลียนแบบต้นไม้สูงใหญ่ แล้วนำสิ่งของต่างๆ ไปแขวนไว้บนต้นไม้ เช่น ผ้าห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง ถ้วยขาม เครื่องนุ่งหุ่ม อาหารแห้ง และเงินทอง


ภาพข่าว ชาตรี ทำงาม /บุญยงค์ สดสอาด รายงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม