เทศบาลบึงโขงหลง..เชิญเครือข่ายเฝ้าระวังทุจริต พร้อมเชิญสื่อมวลชน และ ชาวบ้านผู้ร้องเรียน ถกปัญหาความเดือดร้อน ร่วมหาทางออก กรณีการรุกล้ำที่ดิน ละการใช้ที่สาธารณประโยชน์ ที่มีทั้งหน่วยงานรัฐฯและชาวบ้านในพื้นที่
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลบึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ พ.อ.อ.กิตติพงษ์ ยอดไชยเพ็ชร นายอำเภอบึงโขงหลง มอบหมายให้ นายธีระเชษฐ์ เหลื่อมใส ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง (ป.อาวุโส ) เป็นประธานในการประชุม ร่วมหาทางออกแนวทางแก้ไขที่ดิน ปัญหากรณีการรุกล้ำที่ดิน ละการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ในพื้นที่อ้ำเภอบึงโขงหลง ที่มีจำนวนมากถึงประมาณ 722 ไร่ โดยที่มีทั้งหน่วยงานรัฐฯ และชาวบ้านในพื้นทีได้เข้าครอบครองไม่เป็นไปตามกฎหมาย มีนายนายฉัตรชัย วงษ์ชูเลิศ ประธานเครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น นายกเทศมนตรีตำบลบึงโขงหลง นิติกรเทศบาล ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ
พร้อมเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังคำชี้แจงจากฝ่ายปกครอง และจากเทศบาลบึงโขงหลง ที่รับเรื่องร้องเรียน ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการหารือแนวทางการแก้ไขปัญหากรณี การรุกล้ำและการใช้ที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าบ้านดอนกลาง น.ส.ล.เลขที่ นค.1650 และที่สาธารณประโยชน์ น.ส.ล เลขที่ นค0378 ที่ยังมีปัญหาเรื้อรังมานาน ซึ่งรวมถึงพื้นที่ดินอีกหลายๆส่วนที่ชาวบ้านมีการถือครองที่ดินมานาน บางรายถือครองมาตั้งแต่ พ.ศ.2508 นับเวลาเกิน 50 ปีผ่านมา เป็นต้นฯ ทางด้านนายนายฉัตรชัย วงษ์ชูเลิศ ประธานเครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น กล่าว่า “การประชุมลักษณะตอบคำถาม คำให้สัญญา และร่วมหาทางออก แนวทางแก้ไขปัญหากรณีการรุกล้ำที่ดิน ละการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ถือป็นครั้งแรกของพื้นที่ จ.บึงกาฬ
ที่หลายฝ่ายหันหน้ามาร่วมมือ เพราะชาวบ้านร้องเรียนกันมามาก ถือเป็นเรื่องที่ดี สำหรับการทำงานของเครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น และสื่อมวลชนที่เชิญมาในวันนี้นั้น สิ่งที่เราและชาวบ้านได้ก็คือ อย่างน้อย การกระตุ้นแรงๆ ให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่ถับทมมานานจนสร้างความเดือดร้อน และจะติดตามเรื่องนี้ต่อไป“ นายฉัตรชัย กล่าวในที่สุด… สำหรับตำบลบึงโขงหลง จ.บึงกาฬนั้น ได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2525 หรือ 41 ปีมาแล้ว ตำบลแห่งนี้ มีบึงน้ำขนาดกว้างใหญ่มาก มีน้ำขังตลอดปีลักษณะเหมือนอนแม่น้ำโขง จึงให้ชื่อว่า “บึงโขงหลง” ซึ่งเป็นบึงน้ำที่อุดมไปด้วยปลาน้ำจืดทุกชนิดถือเป็นแหล่งน้ำที่หล่อแหล่งชีวิตเกษตรในตำบลนี้และตำบลใกล้เคียงได้ตลอดปี ปัจจุบันมีเจริญรวดเร็ว มีแหล่งท่องเที่ยวมากกมาย รู้จักกันระดับประเทศ ทำให้ความเจริญนับวันยิ่งขยายตัวออก ตลอดเวลา ขณะที่ปัญหาขยะใต้พรหมยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทำไห้ชาวบ้านเดือดร้อนกันทั่วหน้าเรื่องที่ดิน ขณะที่รัฐฯเองอยู่ได้ แต่ชาวบ้านเดือดร้อนดังกล่าวมาแล้ว
บก.น้ำ นสพ.อิสเทิร์นอุดร รายงาน