เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ( ปปส.) เปิดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและแกนนำ ระดับพื้นที่

เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ( ปปส.) เปิดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและแกนนำ ระดับพื้นที่

พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ( ปปส.) เปิดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและแกนนำ ระดับพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้มีอาการทางจิตเวช

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ที่ อาคารเอนกประสงค์ สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ พลตำรวจตรี พิษณุ วัตถุ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ, นายสุกิจ เหลืองสกุลไทย ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ, นายแพทย์ ทนง วีระแสงพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ, เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง ชรบ.ทั้ง 22 อำเภอ, ผู้กำกับฯ สภ.ทั้ง 32 แห่งในจังหวัดศรีสะเกษ รวมกว่า 300 นาย ได้เดินทางเข้ามาร่วมประชุม อบรมเข้ม โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและแกนนำ ระดับพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้มีอาการทางจิต โดยมี พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ( ปปส.) เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดโครงการ และยังได้บรรยายถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด ชนิด ยาบ้า ภายในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยกันป้องกัน ปราบปรามยาเสพให้ลดการแพร่ระบาดให้น้อยลง จนอาจจะไม่เหลือการระบาดได้ในที่สุด สิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไปก็คือ การบำบัด ฟื้นฟูผู้ที่เคยหลงผิด เสพยา จนสมองเป็นทาสของยาเสพติด พบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง จนทำให้จิตหลอน ทำร้ายคนในบ้าน ในครอบครัว อาละวาดจนเป็นปัญหาของสังคม จนเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย และยังจะลุกลามไปสู่สังคมไม่ปลอดภัย ทำร้ายคนอื่นๆ กลายเป็นจิตเวชจากยาเสพติด เพิ่มมากขึ้นทุกวัน รัฐบาลทุ่มงบมาเท่าใดก็ไม่เพียงพอ เพราะสิ่งที่จะปกป้องได้ดีที่สุด ก็คือ สถาบันครอบครัวที่อบอุ่น

พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ( ปปส.) ให้สัมภาษณ์ ว่า ขณะนี้ยังมีน้องๆ หลงผิดไปใช้ยาเสพติด จนเข้าขั้นเป็นผู้ติดยาเสพติด ซึ่งตอนนี้ได้สำรวจเบื้องต้นจะมีประมาณ 70,000 กว่าคน จะทำอย่างไร ที่จะนำน้องๆ ที่หลงผิดไปใช้ยาเสพติด กลับคืนสู่สังคมปกติได้ ซึ่งจะต้องใช้กลไกอย่างหนึ่ง ก็คือต้องนำน้องๆ เหล่านี้ ให้เข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยกระทรวงสาธารณสุข และเมื่อบำบัดจนหายแล้ว เราก็จะนำน้องๆ เหล่านี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสภาพจิตใจทางสังคม หลายคนอยากมีงานทำ อยากมีรายได้ ทางรัฐบาลก็ต้องจัดสรรหางบประมาณให้ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ที่สถานการณ์การแก้ไขปัญหายาเสพติดถ้ามันลดลงแล้ว เราต้องสร้างกลไกในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง สิ่งที่เห็นว่ากลไกที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นมาได้ ก็คือกองทุนแม่ของแผ่นดิน ซึ่งขับเคลื่อนโดยกระทรวงมหาดไทย ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นลดลง ส่งผลทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความปลอดภัย ในทรัพย์สิน ก็ฝากถึงชาวบ้านพี่น้องประชาชน สิ่งที่ยาบ้ากลัวก็คือ กลัวครอบครัวที่อบอุ่น ยาบ้ากลัวชุมชน ที่เข้มแข็ง เมื่อไหร่ที่เรามีความรัก ความอบอุ่นให้กับลูกหลานเรา ดูแลเขา ใส่ใจเขาถามไถ่ เมื่อไหร่ที่ชุมชนเห็นว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาร่วมกัน แล้วทุกฝ่ายลุกขึ้นมาต่อสู้กับมัน ร่วมกับภาครัฐ นั้นแหละเราจะสามารถเอาชนะยาเสพติด ไปได้จากประเทศของเรา

นายบุญทัน ธุศรีวรรณ / ภาพข่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม