สตูลสร้างโรงงานปั้นทำน้ำยางข้นที่แรกในจังหวัด!!

สตูลสร้างโรงงานปั้นทำน้ำยางข้นที่แรกในจังหวัด!!

สตูลสร้างโรงงานปั้นทำน้ำยางข้นที่แรกในจังหวัด!!
สตูลสร้างสถานที่ปั่นน้ำยางข้น ที่แรกในจังหวัด ส่งต่อน้ำยางข้นสู่ ถุงมือ ถุงยาง แบริเออบนท้องถนน ได้ กระจ่ายรายได้แก่ชาวสวนส่งน้ำยางขาย
……………………………………………………………………………………………….
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศ ไทย พร้อมคณะเดินทางเยี่ยมชม โรงงานน้ำยางข้น แห่งแรกในจังหวัดสตูล โดยมีนายประสิทธิ์ เก้าเอี้ยน ผอ.กยท.จ.สตูลและเจ้าหน้าที่ให้การตอนรับ

สำหรับการเดินทางมาในครั้งนี้ของคณะผู้ใญ่ เพื่อมาให้กำลังใจ สู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะ เรื่องการเกษตรสวนยางพารา และน้ำยางพารา เมื่อมีการผลักดันสร้าง โรงน้ำยางข้นแห่งนี้ตั้งอยู่เลขที่ 147 หมู่ที่ 1 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ได้งบประมาณจากจังหวัดสตูลเป็นเงิน 59 ล้านบาท บริหารโดย สหกรณ์ชาวสวนยาง กยท. เฉลิมพระเกียรติจังหวัดสตูล โดยมีนายฉ้อง ตั้งสังข์ เป็นประธานและคณะทีมบริหาร เจ้าหน้าที่ดูแล

สำหรับโรงน้ำยางข้นแห่งนี้ตั้งอยู่เลขที่ 147 หมู่ที่ 1 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ได้งบประมาณจากจังหวัดสตูลเป็นเงิน 59 ล้านบาท บริหารโดย สหกรณ์ชาวสวนยาง กยท. เฉลิมพระเกียรติจังหวัดสตูล โดยมีนายฉ้อง ตั้งสังข์ เป็นประธาน

สำหรับกำลังผลิตมีหัวปั้น 8 หัว ผลิตได้ 500 ลิตรต่อชั่วโมง ต่อหัว วันละ 8 ชั่วโมง อัตราการผลิต 32,000 ลิตรต่อวัน มีถังเก็บน้ำยางข้น 100 ตัน จำนวน 5 ใบและถังเก็บน้ำยางข้น 35 ตัน จำนวน 4 ใบ

สืบเนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 เรื่องสถานการณ์ตกต่ำด้วยสาเหตุต่างๆ จึงใรนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหาราคายาง หนึ่งในมาตรการนั้น คือเร่งประสานสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเปิดน้ำยางข้น ในจังหวัดสตูล ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยใช้เวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้นจึงสามารถทดสอบระบบการผลิตน้ำยางข้นของสหกรณ์ชาวสวนยาง กยท.เฉลิมพระเกียติจำกัดได้

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า โรงงานทำน้ำยางข้น ซึ่งเป็นที่แรกของจังหวัดสตูล และเป็นโรงงานที่รับซื้อนำยางพาราจากชาวบ้านได้อีกด้วย สิ่งหนึ่งที่ชาวเกษตรชาวสวนยางพารา ที่จะมีที่รับซื้อในราคาที่เหมาะสม โดยทางโรงงานแห่งนี้ต้องการน้ำยางพารามาทพน้ำยางข้นเป็นจำนวนมาก เพื่อผลิต สู่สินค้า เช่น ถุงมือ แบริเออยางพาราที่ใช้กันทั่วประเทศท้องถนนในประเทศไทย และ สินค้าอีกมากมาย รวมทั้งถุงยางฯก็ทำจากน้ำยางข้นนี้อีกด้วย สำหรับสถานการณ์โควิด – 19 ก็อยากให้ชาวเกษตรกรที่มีสวนยางพารา อย่าคิดตัดโค่น คำนึงถึงเรื่องราคา และสิ่งที่สำคัญทางรัฐบาลพยามสร้างตลาดรองรับชาวเกษตรกรด้วย

พร้อมกันนี้นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ได้เดินชมประสิทธิ์ภาพของเครื่องทำปั่นทำน้ำยางข้น และกดปุ่มเอาฤกษ์เอาชัย ทามกลางคณะกรรมการ เกษตรกรชาวสวนยาง ที่มาร่วมงานกันอย่างคึกคัก

………………………………


เอนก ขันทสิกรรม ผู้สื่อข่าวจ.สตูล

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม เศรษฐกิจ