เลย- เตรียมจัดงาน 42 ปี ดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย
อ.เมืองเลย จ.เลย เตรียมจัดงานฉลอง 42 ปี “ดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย”แบบ NEW NOMALL ระหว่างวันที่ 1-9 เมษายน 2564 เน้นจัดนิทรรศการมีชีวิต สร้างอาชีพ สร้างรายได้
นาชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า จากการเปิดประชุมคณะกรรมการผังและการจัดนิทรรศการงาน 42 ปี “ดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” ที่ห้องประชุมศรีสองรัก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลย โดยมี นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการจัดผังและนิทรรศการของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลยได้เน้นย้ำให้จัดงานโดยเฉพาะการจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ เน้นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สนุกสนาน สะดวกในการเข้าชมงาน มีส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวอีกว่า หน่วยงานดังกล่าว หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานยังได้ร่วมในพิธีก่อนการจัดงาน ด้วยพิธีไหว้ศาลหลักเมือง พิธีเปิดงานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ร่วมจัดงานแบบ NEW NOMALL .ร่วมออกบูธจัดนิทรรศการ บริการสินค้าและบริการต่างๆ ของหน่วยงานกว่า 54 บูธ พร้อมเน้นการชมงานและเลือกซื้อสินค้าโดยการ “พกถุงผ้า” แทนการใช้ถุงพลาสติก ตามนโยบายจังหวัดสะอาดของจังหวัดเลย พร้อมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ในพื้นที่และทั่วทุกภูมิภาค อย่างเช่น จัดมุมกาแฟ (Loei Coffee Corner) ส่งเสริมผลิตภัณฑ์กาแฟจังหวัดเลยซึ่งมีมากกว่า 10 ชนิด กิจกรรมพิเศษในวันที่ 4 เม.ย.2564 จะมีการจัดการแข่งขัน “วิ่งดอกฝ้ายบาน มาราธอน จำนวน 4 รุ่น ได้แก่ รุ่น 42,20,10 และ 5 กิโลเมตร อีกด้วย
งานกาชาดจังหวัดเลย นิยมจัดเป็นงานประจำปีมายาวนาน เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น และฝ้ายกำลังออกดอกขาวบานสะพรั่งไปทั่วจังหวัดเลย ต่อมาสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป ฝ้ายซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจังหวัดเลย ขาดการเอาใจใส่ส่งเสริมงาน นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนชื่องาน จากชื่อเดิมเป็น “งานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย ต่อมาเห็นว่ามะขามหวานเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นแทนจำนวนมาก ตามภาวะเศรษฐกิจ จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น”งานกาชาด ดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทยเลย “ มาถึงทุกวันนี้ มีการแสดงศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวจังหวัดรวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย โยงไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่น จึงมีการแสดงสินค้าเกษตร สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคี และรักหวงแหนในวัฒนธรรมพื้นบ้าน อันเป็นการพัฒนาสังคมโดยผ่านกระบวนการแสดงออกร่วมกัน ทางสภาวัฒนธรรมจังหวัด/อำเภอ/ตำบล/เทศบาล และศูนย์วัฒนธรรม ได้ร่วมกันออกร้านในงานนี้ พร้อมทั้งจัดประกวดและสาธิตการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น อีกด้วย
บุญชู ศรีไตรภพ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.เลย