กาญจนบุรี สำนักงานสาธารณสุขกาญจน์ ประชุมคณะกรรมการบริหารงานบริการ ส่วน สคร. 5 ราชบุรี เชิญชวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยงมารับวัคซีนโควิด 19
วันที่ 23 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล ชั้น 3 อาคารสุรพงษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี นพ.นิพนธ์ พัฒนกิจเรือง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบริการผู้ประกันตน จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 1/2564
ส่วน ที่ห้องโถงอาคารมัชฌิมาคาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี นายวรรณะ วีระผาสุก รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรีและคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมรับมอบของบริจาคเครื่องพ่นฆ่าเชื้อจำนวน 2 เครื่อง หน้ากากแรงดันลบจำนวน 25 ชิ้น จากกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย เพื่อส่งมอบให้หน่วยงานใช้ในการป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
สำหรับ ที่ห้องประชุมอาคารหลวงปู่หลิว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี โดยกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี โดยกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคลในชุมชน โดยได้รับเกียรติวิทยากรจากศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี มาบรรยายเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เป็นหนึ่งในประเด็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการต่อไปในยุทธศาสตร์ด้านที่ 1 (คนไทยในศตวรรษที่ 21)
และทางสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสำธารณสุข ขอเชิญชวน ประชำชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยงมารับวัคซีนโควิด 19 เพื่อป้องกันความรุนแรงของการเกิดโรคและลดการป่วย ตาย ทั้งนี้ ขอให้ประชำชนทุกคนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด และเพิ่มความระมัดระวัง ป้องกันตนเอง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ที่พบว่าข้อมูลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีโรคประจำตัว และเป็นผู้สูงอำยุ
แพทย์หญิงรพีพรรณ โพธิ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า ขณะนี้ ประเทศไทยได้มีการจัดหำวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และได้ผ่านการ ขึ้นทะเบียน เพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินช่วงที่มีการระบาดของโรค แต่ในระยะแรกที่มีวัคซีนจำกัด จึงได้จัดสรรวัคซีน ให้กับประชำชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยงมารับวัคซีนที่โรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการให้บริการวัคซีน โดยมี การคัดกรองก่อนการรับวัคซีน และระบบติดตามภายหลังได้รับวัคซีน
จากสถานการณ์ลักษณะทางระบาดวิทยาของกลุ่มผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ระลอกใหม่ ในช่วง 14 สัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 ธ.ค. 63 – 18 มี.ค. 64) พบผู้เสียชีวิต 29 ราย เป็นเพศชาย 22 ราย และเพศหญิง 7 ราย ในช่วงอำยุ 31-92 ปี เฉลี่ยอำยุ 64 ปี ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 86.21 จากข้อมูลการศึกษา ทางระบาดวิทยาดังกล่ำวจะเห็นได้ว่าในระลอกใหม่นี้ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพศชา มีโรคประจำตัว และเป็น ผู้สูงอำยุ ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่หากเจ็บป่วยแล้วอาจมีอำการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ได้ สำหรับ การฉีดวัคซีนโควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ –18 มีนาคม 2564 จำนวน 62,941 ราย และยังไม่พบผู้ที่มีอาการ ไม่พึงประสงค์รุนแรงหลังจากได้รับวัคซีนแต่อย่างใด ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ไม่รุนแรง 3 อันดับแรก ได้แก่ ปวด กล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และคลื่นไส้ ตามลำดับ ซึ่งอำการเพียงเล็กน้อยเหล่ำนี้จะสามารถหายได้เองภายใน 1-2 วัน
สำหรับการรับวัคซีนในช่วงระยะแรก ในช่วงเดือนมีนำคม–พฤษภาคม 2564 จะฉีดให้กลุ่มเป้าหมายใน พื้นที่เสี่ยงก่อน เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคและลดการป่วยตาย ได้แก่ บุคลำกรทางการแพทย์และสาธารณสุข ด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย เช่น ฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ อสม. เป็นต้น และประชำชนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ มะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษา เป็นต้น สำหรับผู้สูงอำยุ 60 ปีขึ้นไป ที่จะมารับวัคซีนจะให้ฉีดของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เนื่องจากมีผลกำรทดลองวิจัยใน กลุ่มประชำกร 18 ปีขึ้นไป โดยไม่ได้จำกัดเพดำนกลุ่มอำยุ และมีผู้ที่เป็นผู้สูงอำยุจำนวนพอสมควรในกำรทดลอง จึงได้รับอนุญาตให้ในกลุ่มผู้สูงอำยุได้
แพทย์หญิงรพีพรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วย เสริมการป้องกันโรค แต่ประชำชนยังต้องปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในการป้องกันโรคโควิด 19 โดยใช้มาตรการเว้น ระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนำมัยหรือหน้ากากผ้า 100% และสแกน “ไทยชนะ” เมื่อเข้าไปในสถานที่ สำธารณะ รวมถึงโหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อใช้ในการติดตามไทม์ไลน์ และผู้สัมผัสเสี่ยง ทั้งนี้ ขอให้ ประชำชนมั่นใจในการดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามอำการหลังรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะสังเกต และถามอำการหลังฉีดทันที, เฝ้าระวังและสังเกตอำการในสถานที่รับวัคซีน 30 นำที จากนั้นจะมีการติดตามอำการ อีกในวันที่ 1, 7 และ 30 ผ่านทางไลน์ “หมอพร้อม” หรือมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล, รพ.สต. หรือ อสม. เป็นผู้ติดตามอาการ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่รับวัคซีนควรสังเกตอำการต่อไปจนครบ 30 วันตามโปรแกรมที่กระทรวง สาธารณสุขวางไว้เพื่อความปลอดภัย หากประชำชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี เบอร์ติดต่อ 032310804 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 ./
/////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์