กาญจนบุรี เยาวชนสนใจเป็นการสร้างรายได้ ปรับปรุงพันธุ์ไม้ และพัฒนาวงการไม้ประดับของไทย ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

กาญจนบุรี เยาวชนสนใจเป็นการสร้างรายได้ ปรับปรุงพันธุ์ไม้ และพัฒนาวงการไม้ประดับของไทย ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

กาญจนบุรี เยาวชนสนใจเป็นการสร้างรายได้! อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ม.มหิดล กาญจนบุรี เผยกลยุทธ์สร้างแรงบันดาลใจ ให้นักศึกษาเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ไม้ และพัฒนาวงการไม้ประดับของไทย ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

วันนี้ 2 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ สุนทรยาตร ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี กล่าวถึงความร่วมมือ กับ อาจารย์ธนบุตร ปิยะพันธุ์ อาจารย์สอนพิเศษในรายวิชาไม้ประดับว่า

เป็นความตั้งใจที่จะให้นักศึกษาได้พบกับนักปรับปรุงพันธุ์ไม้ประดับ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียน และในการจะเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ไม้ในอนาคต โดยเน้นการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษา ด้านการพัฒนาพันธุ์ไม้ประดับให้เกิดลักษณะใหม่ๆ เพิ่มความน่าสนใจ และการเริ่มต้นด้วยการให้นักศึกษาสนใจอยากรู้ ก็จะสอนได้ง่าย โดยเริ่มจากพืชชนิดที่มีผู้เชี่ยวชาญ พืชที่มีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ และมีผลงานที่โดดเด่น เช่น ไม้ด่าง สายพันธุ์อโกลนีมา หรือชื่อไทย ในปัจจุบันคือ แก้วกาญจนา ที่มีลักษณะด่าง ซึ่งทำให้นักศึกษาเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ ได้เห็นด้านเทคนิคเพิ่มเติม สิ่งที่นักศึกษาได้การเรียนรู้ในสถานที่จริง และการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและสถานที่ใหม่ๆจะทำให้เกิดความกระตือรือร้นและเกิดแรงบันดาลใจไปในเวลาเดียวกันและ ได้ความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ประดับ โดยอาจารย์ธนบุตร ปิยะพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้ที่สนใจพืชชนิดนี้มาหลายสิบปีและมีความชำนาญสูง ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุง และขยายพันธุ์ไม้ประดับสายพันธุ์นี้ ซึ่งเป็นไม้ประดับที่มีขนาดเล็กเจริญเติบโตเร็ว และอายุยืนยาวข้ามปี

และที่ผ่านมา ไม้ประดับสายพันธุ์แก้วกาญจนา ได้เคยสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยหลายพันล้านบาทในการส่งออกไปยังต่างประเทศ แนวโน้วทางการตลาด แก้วกาญจนา เป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งอนาคตคาดว่าในช่วงเวลาหนึ่งก็จะขายได้เรื่อยๆในกลุ่มของผู้ที่สนใจ แต่ในช่วงที่เป็นแฟชั่นก็จะขายได้จำนวนมาก วงรอบของไม้ประดับประเภทนี้ก็จะอยู่ในช่วงประมาณ 20-25 ปีก็จะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นจะมีต้นไม้อยู่หลายชนิดในระหว่างนี้ ที่มีการจำหน่าย ที่เรียกว่าแฟชั่นโดยเฉพาะไม้ด่าง ที่ทำมูลค่าให้กับตลาดวงการไม้ประดับภายในประเทศ อย่างเดียวก็หลายพันล้านบาท ซึ่งนอกจากจะสร้างมูลค่าแล้ว บางสายพันธุ์ก็นำไปใช้เป็นพืชสมุนไพรสำหรับบำรุงร่างกายตามแบบแพทย์แผนไทย เช่น ต้นว่านขันหมากซึ่งในขณะนี้ผมเองเป็นผู้วิจัย”

นอกจากนี้ อาจารย์ธนบุตร ปิยะพันธุ์ อาจารย์สอนพิเศษรายวิชาไม้ประดับ ซึ่งมีความชํานาญพิเศษ ด้านการ ปรับปรุงพันธุ์ไม้ประดับกลุ่ม สายพันธุ์แก้วกาญจนา การขยายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ การออกแบบภูมิทัศน์ และการจัดสวน ได้เปิดเผยข้อมูลการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ไม้ประดับสายพันธุ์แก้วกาญจนา ว่า “ เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงาม ปลูกเลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อย นิยมปลูกลงแปลงเพื่อใช้จัดสวนในที่มีแสงรำไรหรือเป็นไม้กระถางประดับอาคาร จากเดิม ชื่อต้นเขียวหมื่นปี เนื่องจากเป็นไม้ประดับชนิดใบ ที่มีลวดลายบนลำต้น รวมทั้ง ใบที่มีสีเขียวอยู่ได้นาน ถิ่นกำเนิดเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และพบในประเทศไทย โดยมีการเก็บรวบรวมสายพันธุ์ ตั้งแต่พื้นที่ภาคใต้ มาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ก็มีพบที่เขาหินปูนของจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอโกลนีมาหรือเขียวหมื่นปี เป็นไม้ประดับที่มีต้นกำเนิดในป่า การนำมาปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือน หรือเพื่อการจัดประดับตกแต่งภายในสวน จึงต้องผ่านการปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ซึ่งการปรับปรุงพันธุ์มี 2 แนวทางคือ การปรับปรุงพันธุ์ในรุ่นพ่อแม่และการปรับปรุงพันธุ์ในรุ่นลูกเพื่อให้ได้ลูกผสมหรือลูกไม้พันธุ์ใหม่ ๆ

ในปัจจุบัน” มีการศึกษาค้นคว้าทดลอง เพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ให้มากยิ่งขึ้น เช่น สีแดงสลับเขียว หรือสีแดง ลายสดใส สวยงาม แปลกตา มีการขยายพันธุ์โดยผสมเกสร สายพันธุ์ต่าง ๆ ออกมามากมายหลากหลายสายพันธุ์ จนเป็นที่รู้จักอย่างทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แก้วกาญจนา ถือเป็นไม้ประดับ ที่มีความสวยงาม สร้างความสดใส ได้ทุกที่ เช่น ในอาคาร ร้านค้า สำนักงาน บ้านเรือน นอกจากนี้สามารถช่วยลดมลพิษภายในสถานที่ปลูกได้อีกด้วย อายุยืนยาวนาน ผู้ที่ชื่นชอบต้นไม้ จึงให้ความสนใจ ไม้ประดับสายพันธุ์นี้ ซึ่งมีโอกาสจะสร้างรายได้ในอนาคต เนื่องจาก มีความสวยงาม แปลกใหม่ ปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง เรียกได้ว่า “ราชาแห่งไม้ประดับ” ใช้เป็นไม้มงคล ไม้หายาก อายุอยู่ข้ามปี จะเป็นการเพิ่มช่องทาง และโอกาสการสร้างรายได้ให้กับผู้สนใจเพาะเลี้ยงไม้ประดับชนิดนี้ต่อไป

อาจารย์ธนบุตร ปิยะพันธุ์ ได้กล่าว ตอนท้ายว่า สำหรับแนวทางพัฒนาไม้ประดับให้ทรงคุณค่าในอนาคต ได้เล็งเห็นประโยชน์ของ ไม้ประดับ อโลคาเซีย (Alocasia) ไม้ประดับเมืองไทย ซึ่งกำลังมาแรงของคนรักไม้ใบ ในการปรับปรุงพันธ์ อโลคาเซีย (Alocasia) บอนกระดาษ หรือแก้วสารพัดนึก มีถิ่นกำเนิดในนประเทศไทย และพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มไม้ฟอกอากาศที่กำลังเป็นที่นิยม ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาสายพันธุ์อโลคาเซียสายพันธุ์ใหม่ ให้ความมีความแตกต่างสวยงาม ความหลากหลายสายพันธุ์ เช่นนำสายพันธุ์พื้นเมือง จากถิ่นต่าง ๆมาผสมข้ามให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ อันจะเป็นการพัฒนาต่อยอดวงการไม้ประดับของประเทศไทย ให้เกิดคุณค่ามากยิ่งขึ้นและสร้างรายได้ ให้กับผู้สนใจต่อไป./
/////////////////////////////////////


ปรีชา ไหลวารินทร์ / กาญจนบุรี

ข่าววาไรตี้-ท่องเที่ยว-อาชีพ