เลย-ปศุสัตว์เลยเร่งกำจัดโรค”เพริส”ในสุกร
อ.เมืองเลย จ.เลย สนง.ปศุสัตว์จังหวัดเลย เร่งจัดชุดออกตรวจและกำจัดสุกรที่ป่วยด้วยโรค”เพริส” ในรัศมี 5 กม.
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 23 มิ.ย.2564 นายสุวัฒน์ มัตราช ปศุสัตว์จังหวัดเลย กล่าวว่า โรคเพริสในสุกรหรือ พี อาร์ อาร์ เอส (PRRS: Porcine Reproductive and Respiratory Syndrom)ได้ระบาดเข้ามาในพื้นที่จังหวัดเลยเป็นบริเวณกว้าง จึงได้ออกประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ..ศ. 2558 ตามที่ได้ตรวจพบเชื้อโรคนี้ ซึ่งเป็นโรคระบาดในสุกรและหมูป่า เช่น ที่บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ 3 ต.ตาดข่า อ.หนองหิน จ.เลย และที่ อ.ปากชม ซึ่งโรคนี้เป็นโรคระบาดอย่างร้ายแรงที่ติดต่อในสัตว์เลี้ยง เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค อาศัยอำนาจตามความในมาตรการ 2 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.2564 ถึงวันที่ 13 ก.ค.2564 ช่วงระยะเวลานั้น ปศุสัตว์แต่ละอำเภอออกประกาศเขตรับผิดชอบ เฝ้าระวังตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ของโรคฯ
นายสุวัฒน์ มัตราช ปศุสัตว์จังหวัดเลย กล่าวว่า พร้อมออกคำเตือนไปยังประชาชนและเกษตรกรว่าเมื่อได้มีประกาศเขตโรคระบาดและสงสัยว่ามีโรคระบาดขึ้นแล้ว เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์มีหน้าที่ปฏิบัติตาม ตามมาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 โดยสังเขป คือ ห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสุกรและหมูป่า หรือชากสัตว์ ดังกล่าวภายในเขตนั้น หรือเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซาก สัตว์ เข้าในหรือออกนอกเขตนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ ห้ามมิให้เจ้าของหรือบุคคลใดเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยไปจากบริเวณนั้น และให้เจ้าของแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือสารวัตร หรือสัตแพทย์ และแต่กรณีภายใน 12 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่สัตว์ป่วย ในกรณีสัตว์ตายให้เจ้าของควบคุมชาก นั้นให้คงอยู่ ณ ที่สัตว์นั้นตาย และห้ามมีให้เจ้าของสัตว์หรือบุคคลอื่นใดเคลื่อนย้ายหรือกระทำการใดแก่ซากสัตว์นั้นและเจ้าของแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสารวัตร หรือสัตวแพทย์ แล้วแต่กรณีภายใน 12 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่สัตว์ตาย ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสารวัตรหรือสัตวแพทย์ ไม่อาจมาตรวจซากนั้นภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาสัตว์ตาย ให้เจ้าของฝังซากสัตว์นั้น ใต้ระดับผิวไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร สำหรับซากสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
ทั้งนี้เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของสัตวแพทย์ทุกประการ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติหรือคำสั่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โรคของสุกรนี้เป็นการระบาดที่เกิดจากที่เกษตรกร ซื้อลูกหมูต่างพื้นที่ ต่างจังหวัด ที่เกิดโรค เข้ามาเลี้ยงในพื้นที่ กำจัดสุกรจากจุดเกิดที่โรค รัศมี 5 กม. ทั้งหมด เพื่อตัดวงจร ครับ แต่จะเสนอค่าชดเชยให้เกษตรกรในอัตราร้อยละ 75 ของมูลค่าราคาสัตว์ที่ประเมินในปัจจุบัน และโรคนี้จะไม่ติดต่อกับคน
———————-///——————
บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย