มุกดาหาร โครงการนาคาพิทักษ์ รักษ์ประชา แนวคิดแบบบูรณาการแก้ปัญหายาเสพติด

มุกดาหาร โครงการนาคาพิทักษ์ รักษ์ประชา แนวคิดแบบบูรณาการแก้ปัญหายาเสพติด

มุกดาหาร โครงการนาคาพิทักษ์ รักษ์ประชา แนวคิดแบบบูรณาการแก้ปัญหายาเสพติด
มุกดาหาร – โครงการนาคาพิทักษ์ รักษ์ประชา เป็นโครงการของตำรวจภูธรภาค 4 แนวคิดแบบบูรณาการแก้ปัญหายาเสพติด และติดตามประเมินพฤติกรรมหลังผู้ป่วยหยุดเสพ คือหนึ่งในภารกิจสำคัญ
เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายงาน ภารกิจศูนย์วิทยุรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร รับแจ้งเหตุผู้ป่วย หรือ ผู้เสพยาบ้า มีพฤติกรรมรุนแรง เกิดอาการคลุ้มคลั่ง หรือ พยายามทำร้ายคนในครอบครัว ต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าไประงับเหตุ หรือ ควบคุมตัว เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา
เมื่อได้รับแจ้งเหตุศูนย์วิทยุ 191 จะประสานไปยังสถานีตำรวจท้องที่ ซึ่งแต่แห่งจะมีชุดปฏิบัติการ 1 ชุดเข้าระงับเหตุทันที ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 3-5 คน โดยมีไม้ง่ามเป็นอุปกรณ์หลัก
การติดตามและประเมินพฤติกรรมหลังผู้ป่วยหยุดเสพ คือหนึ่งในภารกิจสำคัญ ขั้นตอนนี้กำลังใจจากคนในครอบครัวสำคัญที่สุด /โดยจะมีตำรวจออกพบปะเยี่ยมเยียนพร้อมกับผู้ปกครอง และ ผู้ดูแลในชุมชน เพื่อสร้างระบบการเฝ้าติดตามป้องกันเหตุรุนแรง และ นำผู้ป่วยออกจากวงจรยาเสพติด
นางธนพร มูลพรม ( แม่ผู้บำบัดยาเสพติด นายชุติเทพ คำนิสา อายุ 25 ปี เสพมาประมาณ 3 ปี ) อายุ 48 ปี บ้านเลขที่ 172/1 หมู่ 6 บ้านด่านคำ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ตอนแรกลูกชายไม่มีงานทำ แล้วไปคบเพื่อนพากันไปเสพยา แม่ก็ไม่รู้ว่าไปเสพที่ใหน สังเกตจากพฤติกรรม และร่างกายซูบผอม ลูกชายแต่งงานแล้วมีบุตร 1 คน เลิกกับภรรยา ต่อมาก็พาเพื่อนมามั่วสุมเสพยาที่บ้านพัก ก็เลยอยากแยกออกจากเพื่อน ตักเตือนก็ไม่ฟัง จะเอาเพื่อนมากกว่าแม่ และก็ได้แจ้งเจ้าหน้ที่ตำรวจ เข้ามาร่วมจัดการ ก็ได้บอกทางตำรวจว่า อยากเอาไปบำบัดหน่อย ปรึกษากับตำรวจ และทางตำรวจก็ได้เข้ามาตรวจเยี่ยมทุกคน พอตำรวจมาตรวจก็เจอสารเสพติดจริง ๆ ตำรวจก็ถามว่าจะเอาไปเข้าค่ายบำบัดไหม ก็ได้ส่งไปที่ค่ายกฤษศรีวรา จังหวัดสกลนคร อยากให้ลูกชายลูกชายหาย อยากให้ออกห่างจากเพื่อน อยากให้เลิกเสพยา ให้กลับมาเหมือนเดิม ไปบำบัดได้ 4 เดือน ออกมาก็มีอาการเบลอ และส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลมุกดาหาร ประมาณ 2 เดือน ออกจากโรงพยาบาล มาทานยาที่บ้านเวลาทานยาก็ซ๊อค ต่อมาก็เข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก ออกมาก็ไม่ได้ทานยาอีกเลย แม่ก็ไปปรึกษากับทางตำรวจอีก ไม่ให้เขาทานยา ให้เขารักษาตัวเองแบบธรรมชาติ อยากให้ดอกาสเขา เผื่อเขาเลิกได้ ปัจจุบันอาการลูกชายก็ดีขึ้น
ด้านนายไพบูลย์ มณีวรรณ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 บ้านด่านคำ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า โครงการนาคาพิทักษ์นี้ดีมาก ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ามาร่วมบูรณาการกันในชุมชน ชาวชุมชนก็ได้รับความร่วมมือกับกับคณะกรรมการหมู่บ้าน รพ.สต. และ อสม. เมื่อมีโครงการนี้เกิดขึ้นยอมรับสถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นมาก มีคณะกรรมการทุกชุดที่คอยสอดส่องดูแลลูกบ้านแต่ละคุ้ม แต่ละจุด เพื่อให้สถานการณ์ยาเสพติดผ่อนคลายลง ปัจจุบันยาเสพติดในชุมชนแทบจะไม่มีแล้ว ส่วนทางผู้บำบัดในชุมชนก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลอยู่เป็นประจำ โดยชุมชนทำงานร่วมกันกับตำรวจ
พล.ต.ต. ชัชชัย วงศ์สุนะ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ยาเสพติดของจังหวัดมุกดาหาร ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีโครงการนโยบายดำเนินการเกี่ยวกับการบำบัด การค้นหาผู้ป่วย ผู้เสพ เป็นโครงการชุมชนยั่งยืน โดยให้สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ ได้ดำเนินการโครงการเกี่ยวกับยาเสพติด ให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับชาติ
พล.ต.ต. ชัชชัย วงศ์สุนะ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับโครงการต่อมาเป็นโครงการนาคาพิทักษ์ เป็นโครงการของตำรวจภูธรภาค 4 ให้นโยบายตำรวจในสังกัดทั้ง 12 จังหวัด โครงการนี้จะเข้าไปดูแลผู้ป่วย ซึ่งมีอาการป่วยทางจิต เกี่ยวกับมีการใช้สารเสพติด ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของสาธารณสุขมาก่อน หรือผู้ป่วยที่ยังไม่ถูกค้นพบ เกิดอาการหลอน เกิดอาการคุ้มคลั่ง ก่อเหตุ ทำร้ายร่างกายญาติ พี่น้องประชาชน พ่อแม่ ทางตำรวจภาค 4 ได้ดำเนินการโครงการนี้มาถือว่าประสบผลสำเร็จ ลดปัญหาความรุนแรงก่อเหตุของผู้ป่วยทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดแนวชายแดน การแพร่ระบาดของยาเสพติด อาจจะเป็นการนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามามุกดาหารแล้วลำเลียงพื้นที่ตอนในของประเทศ นโยบายการสกัดกั้นของตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร ได้บูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบนบก อาทิ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ตชด. ทหาร นรข. ตำรวจน้ำ ตม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันบูรณาการในการสกัดกั้นตรวจค้น จับกุม เพื่อลดการลำเลียง ผ่านเส้นทางเข้าไปตอนใน และที่สำคัญมุกดาหาร ผู้ป่วยทางจิตที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ยังไม่มีการก่อเหตุรุนแรง เพราะว่านโยบายดูแลผู้ป่วย ใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกอำเภอเข้าไปช่วยดูแลตรวจสอบ ใช้สายตรวจ ใช้ตำรวจชุมชน เข้าตรวจผู้ป่วยว่าเป็นอย่างไรเวลาอยู่กับครอบครัว ขาดยาก็ประสานสาธารณสุข เพื่อจะควบคุมอาการและบำบัด ยังไม่มีเหตุรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยใช้สารเสพติด……พล.ต.ต. ชัชชัย กล่าว…….
สำหรับ “โครงการนาคาพิทักษ์ รักษ์ประชา” ของตำรวจภูธรภาค 4 เป็นแนวคิดแบบบูรณาการแก้ปัญหา โดยจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชจากการเสพยาเสพติด เพื่อประเมินความเสี่ยงในการก่อเหตุ รวมทั้งสร้างภาคีเครือข่ายท้องถิ่นดูแล เจ้าหน้าที่ก็มีทักษะระงับเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เกิดความปลอดภัยจังหวัดมุกดาหารเป็น 1 ใน 12 จังหวัดภาคอีสาน ที่นำร่อง ” โครงการนาคาพิทักษ์ รักษ์ประชา ” เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดชายแดนแม่น้ำโขง พบการลักลอบนำเข้ายาเสพติด มีแหล่งพักยาในชุมชน และเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของประเทศไทย..
*******************************


อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ // มุกดาหาร

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม