กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ผ2021)

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป แต่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัวตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอจากอุทกภัย วาตภัย

#วันนี้ในอดีต เมื่อ 11 ปีที่แล้ว กับเหตุการณ์ #น้ำท่วมหาดใหญ่ จ.สงขลา หนักที่สุดในรอบหลายสิบปีเนื่องจากมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2553 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตและทรัพย์สินในหลายพื้นที่ของภาคใต้

สาเหตุเกิดจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน น้ำไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตร วาตภัยและคลื่นมรสุมซัดฝั่ง

พายุฝนพัดถล่มภาคใต้อย่างหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลท่วมหลายจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้รับผลกระทบแสนสาหัส น้ำจากพื้นที่รอบนอกอำเภอไหลทะลักเข้าใจกลางเมืองหาดใหญ่ และมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆระดับน้ำเฉลี่ยประมาณ 2-3 เมตร

สถานการณ์น้ำท่วมหาดใหญ่ น้ำท่วมสงขลา วันที่ 3 พฤศจิกายน ประชาชนติดค้างอยู่ในบ้านหลายหมื่น ขณะที่ความช่วยเหลือจากภายนอกเข้าไปอย่างยากลำบาก เผยน้ำท่วมรุนแรงสุดในรอบ 70 ปี ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วมทั้งจังหวัด 16 อำเภอ

เหตุการณ์ครั้งนั้น ร.ล. (เรือหลวง) จักรีนฤเบศร เดินทางออกจากท่าเรือสัตหีบได้เข้าเทียบท่าที่จังหวัดสงขลา 5 วัน เข้าช่วยเหลืออีกแรง ทั้งนี้ บนเรือมีอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือครบครัน รวมถึงโรงพยาบาลขนาดเล็กสามารถรับคนไข้ได้อย่างน้อย 15 เตียง และมีโรงครัวประกอบอาหาร เพื่อสามารถประกอบอาหารสดแล้วส่งให้กับผู้เดือดร้อนได้ทันที

สถานการณ์น้ำท่วมสงขลาวันที่ 4 พฤศจิกายน ระดับน้ำ ลดลงเกือบทุกพื้นที่แล้ว ซึ่งระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ก็เริ่มใช้งานได้ตามปกติในบางจุด เช่นเดียวกับระบบไฟฟ้า แต่ก็มีบางหมู่บ้านที่ยังไม่สามารถเปิดใช้บริการได้ ส่วนระบบประปานั้น เจ้าหน้าที่จะเร่งดำเนินการ แต่คาดว่าการฟื้นฟูระบบต้องใช้เวลาและยังไม่สามารถผลิตน้ำประปาได้ทันที

สถานการณ์น้ำท่วมสงขลาวันที่ 5 พฤศจิกายน แม้ระดับน้ำในหาดใหญ่จะลดลงจนเป็นปกติแล้ว แต่อำเภออื่น ๆ ในจังหวัดสงขลา ยังประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก

โดยชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ที่โดนพายุดีเปรสชั่นพัดถล่ม เมื่อคืนวันที่ 1 ที่ผ่านมา ทั้งอำเภอสทิงพระ สิงหนคร ระโนด กระแสสินธุ์ และบางส่วนของอำเภอเมือง ยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก

เนื่องจาก ความช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง โดยมีบ้านเรือนของประชาชน อย่างน้อย 8,000 หลัง ที่ถูกพายุพัดได้รับความเสียหาย ระบบไฟฟ้า ประปา และการสื่อสาร ถูกตัดขาด 5 วันแล้ว บางพื้นที่ยังถูกน้ำท่วมและประชาชนบางส่วนยังไร้ที่อยู่อาศัย

#กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานปริมาณน้ำฝน 4 วัน ระหว่างวันที่ 30 ต.ค.ถึง 1 พ.ย.สามารถวัดน้ำฝนได้เกือบ 800 ม.ม. ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หากเปรียบเทียบกับการเกิดอุทกภัยรุนแรงบริเวณ จ.สงขลา ปี 2519 วัดปริมาณฝน 4 วัน ได้ 646 ม.ม.

ปี 2531วัดปริมาณฝน 4 วัน ได้ 374.7 ม.ม. ปี 2543 วัดปริมาณฝน 4 วัน ได้ 554.9 ม.ม. และในปี 2553 วัดปริมาณฝน 4 วัน ได้เกือบ 800 ม.ม. ถือว่ามีฝนตกหนักมากขึ้นเท่าตัว และทำให้น้ำท่วมหนักในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ เป็นประวัติศาสตร์ในรอบร้อยปีของ จ.สงขลา

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และอดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการไม่มีนโยบายการเตือนภัยธรรมชาติที่ชัดเจนของภาครัฐ ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ไม่สนใจหรือขาดการประสานงานกัน ข้อมูลจากการทำนายล่วงหน้านับเดือนจึงไม่มีประโยชน์

“การเตือนภัยธรรมชาติ หลัก ๆ ต้องมี 3 อย่างด้วยกัน คือข้อมูล ผู้ที่นำข้อมูลนี้ไปใช้ในการปฏิบัติ และการเตือนภัย แต่ปัญหาคือต่างคนต่างทำ สุดท้ายก็ไม่มีประโยชน์อะไรขึ้นมา กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนภัยมาแล้ว 20 กว่าฉบับ มีการบอกถึงขั้นฝนจะตกหนักตรงนั้นตรงนี้ ปริมาณแบบนี้จะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

ถ้าคนที่ได้รับการเตือนถือไปปฏิบัติตาม เอาไปบอกผู้บริหารท้องถิ่น ให้มีคำสั่งอพยพ หรือหาทางป้องกัน หากระสอบทราย ขุดลอกหนองบึงให้ทางน้ำไหลได้คล่อง รวมทั้งเตือนประชาชนให้ยกของไว้ล่วงหน้า หรือเตรียมอาหารกักไว้ ความเสียหายมันก็จะน้อยลง”

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมที่สร้างผลกระทบอย่างมากแก่ประชาชนและธุรกิจในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2519 ปี 2531 ปี 2543 และล่าสุดคือปี 2553

ภาพ : ข่าว : Internet : #สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย #KasemLimaphan #เกษม_ลิมะพันธุ์

บทความ รายงานพิเศษ