ราชบุรี – ปศุสัตว์จ.ราชบุรี ชี้แจงกรณีชาวบ้านร้องเรียนมีการขนหมูตายจากฟาร์ม
จากกรณีที่มีการเสนอข่าวเรื่องชาวบ้านจาก 6 ตำบล 4 อำเภอ นำภาพการขนหมูตายโดยไม่ทราบสาเหตุ เข้าร้องเรียนปศุสัตว์จังหวัดราชบุรีขอให้เข้าตรวจสอบถึงที่มาและที่ไปของการขนย้ายหมู หวั่นกลัวจะเข้าโรงชำแล่ะและนำออกมาขายให้ผู้บริโภคโดยไม่ผ่านการตรวจสอบโรคนั้น
วันนี้( 28 ม.ค. 65) สนง.ปศุสัตว์จ.ราชบุรีได้ประกาศเป็นเอกสารชี้แจงถึงกรณีชาวบ้านร้องเรียนมีการขนย้ายหมูตายออกจากฟาร์ม และกังวลหมูอาจเป็นโรคนั้น เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 มีตัวแทนประชาชนในจังหวัดราชบุรี ได้เข้าร้องเรียนกับผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้นำภาพรถขนสุกรตายในพื้นที่อำเภอปากท่อ และอำเภอเมืองราชบุรี และได้ยื่นรายละเอียดร้องต่อสื่อมวลชนว่ามีการขนย้ายสุกรตายออกจากฟาร์มเป็นประจำ และนำสุกรตายเหล่านี้ไว้ที่ใด ป่วยเป็นโรคหรือไม่และมีการระบาดในพื้นที่จังหวัดราชบุรีหรือไม่ เพราะอาจสร้างผลกระทบให้กับประชาชนในพื้นที่เมื่อนำสุกรไปชำแหละขายเพื่อบริโภคกับประชาชน
โดยข้อเท็จจริงสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี ได้รับเรื่องร้องเรียนของประชาชน และได้รายงานเบื้องต้นกับนายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ว่าในกรณีการเกิดโรคระบาด โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(AFS) ระหว่างวันที่ 8-9 มกราคม 2564 กรมปศุสัตว์ส่งชุดเฉพาะกิจเข้าตรวจสอบเก็บตัวอย่าง เพื่อค้นหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ชุดเฉพาะกิจได้เข้าตรวจสอบฟาร์มสุกร 7 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และนำตัวอย่างเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติกรมปศุสัตว์ ผลปรากฏว่าไม่พบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี
ซึ่งการดำเนินการ 1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี จะดำเนินการตรวจสอบสถานะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(AFS) ในพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับการร้องเรียน จากกลุ่มบุคคล เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 ได้แก่ฟาร์มในพื้นที่ตำบลห้วยไผ่ ตำบลน้ำพุ อำเภอเมืองราชบุรี และพื้นที่ หมู่ 4 หมู่ 6 ของตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ รวมทั้งสิ้น 33 ฟาร์ม โดยกระทำการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 มกราคม2565
2. ในส่วนของรูปถ่ายภาพยานพาหนะที่มีลักษณะการบรรทุกซากสุกรทั้ง 3 คัน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรีอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อแจ้งความดำเนินคดีความผิดฝ่าฝืนกฎหมาย ตาม พรบ.โรคระบาตสัตว์ พ.ศ.2558
3. ให้กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ร่วมกับปศุสัตว์อำเภอ เข้มงวดการออกใบอนุญาต เคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ รวมถึงชากสัตว์ที่ตายภายในฟาร์มที่ไม่มีวิการโรคระบาด ให้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ออกหนังสือรับรองซาก และอนุญาตให้นำไปเป็นอาหารสัตว์อื่น เช่น จระเข้ ปลา เท่านั้น ส่วนซากที่ไม่เหมาะสมให้ฝัง เผา ทำลายภายในฟาร์ม ไมให้มีการเคลื่อนย้ายออกนอกฟาร์มเป็นอันขาด
4. ให้ปศุสัตว์อำเภอร่วมกับสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ดำเนินการตั้งต่าน ตรวจสอบการระทำผิดตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี ได้รับรายงานว่ามีการพบเชื้อโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกร(AFS) ในพื้นที่อำเภอปากท่อ ได้มีการประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชนิดโรคแอฟริกาในสุกร(AFS) ข้อที่ 3 ห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ตามข้อ 2 เข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตโรคระบาดเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้น ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายตามาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 หากฝ้าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 65 แห่งประราชบัญญัติโรคระบาตสัตว์ พ.ศ. 2558
///////////////////////////////////
สุจินต์ นฤภัย (เต้) จ.ราชบุรี