อดีตผู้นำ ประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ จี้ รัฐเดินเครื่อง นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ขอให้รายงานความคืบหน้าทุกเดือน เผยจุดอ่อน คืองานประชาสัมพันธ์ ที่น้อยและไม่ต่อเนื่อง
ในการประชุม คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต. ) ซึ่ง คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้ขอให้ ศอ.บต. รายงานถึงความคืบหน้าของโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ หรือ “เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” หรือ นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง เพราะโครงการนี้ มีประชาชนให้ความสนใจต้องการรับรู้เป็นจำนวนมาก
ซึ่งตัวแทนของ ศอ.บต. ได้แจ้งให้ทราบว่า หลังจากที่มีทางบริษัทผู้ทีเป็นเจ้าของโครงการ ขอเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นในเรื่องของผังเมือง และได้มีการคัดค้าจาก เอ็นจีโอ และ กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านที่”เห็นต่าง” เพื่อให้ชะลอการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นไปก่อน โดยมีการร้องเรียนไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 และต่อมา ครม.ได้ให้ความเห็นชอบให้มีการจัดทำ ( Strategic Envionmental Assessment SEA ) การประเมินสิ่งแวดล้อมด้านยุทธศาสตร์ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ( สศช.)เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ โดย สศช. ได้เชิญ ศอ.บต. เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 5 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 กลุ่มภาครัฐและเอกชน ครั้งที่ 2 กลุ่มผู้ห่วงใยผลจากการพัฒนา ครั้งที่ 3 กลุ่มแนวร่วมการพัฒนา ครั้งที่ 4 กลุ่มวิชาการ ครั้งที่ 5 การรับฟังความเห็นรวมทั้ง 5 กลุ่ม โดยการประชุมครั้งที่ 1 กลุ่มภาครัฐและเอกชน ได้ดำเนินการจัดประชุมไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ก.พ.2565 มีการสรุปผลการประชุม 4 ประเด็นดังนี้ 1 ที่ประชุมมีความคาดหวังว่าการจัดทำแผนพัฒนาโดยใช้ SEA สามารถช่วยป้องกันความขัดแย้ง และเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2 ที่ประชุมเห็นว่า SEA ควรดำเนินการศึกษาในขอบเขตพื้นที่อำเภอจะนะ จ.สงขลา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น และเห็นร่วมกันว่าต้องให้เสร็จใน 1 ปี 3. ประเด็นที่เป็นข้อห่วงใย คือผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นข้อต่อที่จะส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ อาทิ สังคม, วิถีชีวิต ,วัฒนธรรม , ทรัพยากรทางทะเล และสิ่งแวดล้อม 4 .ประเด็นการแต่งตั้งคณะทำงานกำกับการทำ SEA ที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนดให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ และควรให้ความชัดเจนในการกำหนดบทบาทของ ศอ.บต. ในการทำ SEA และขั้นตอนการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แถลงข่าวว่าขบวนการรับฟังความคิดเห็นจะเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม เพื่อที่จะได้ดำเนินการเกี่ยวกับว่าจ้างให้บริษัทไหนมารับรับจ้างการจัดทำSEA เมื่อได้ข้อยุติก็จะมีการนำเสนอ กพต. ต่อไปเพื่อให้ทราบความคืบหน้าในการประชุม กพต. ในครั้งถัดไป
นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ อดีตประธานภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงโครงการ “เมืองต้นแบบที่ 4 หรือ” นิคมอุตสาหรรมจะนะ ว่า เป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมาใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโครงการที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ขาดข้อมูล ขาดความต่อเนื่อง ทำให้การรับรู้ทั้งในเรื่องโครงการ และความคืบหน้าเป็นไปอย่างกระท่อนกระแทน เรื่องข้อมูล เรื่องความคืบหน้าหรือก้าวหน้าของโครงการเป็นเรื่องสำคัญ ที่สภาพัฒน์ฯ และ เอกชนผู้ลงทุน ต้องให้ความสำคัญ เพราะข้อมูล ความคืบหน้าเป็นเรื่องที่ผู้สนใจผู้เกี่ยวข้อต้องใช้ในการตัดสินใจ ในการสนับสนุน หรือ คัดค้าน และเข้าร่วม หรือการวางแผนเพื่อการ”ต่อยอด” โครงการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้ตัดสินใจ ลงทุนในพื้นที่ ในโครงการอื่นๆ เช่นการสร้าง บ้านจัดสรร การสร้างศูนย์การ งานรับเหมา งานก่อสร้าง แม้แต่ร้านค้า ร้านอาหาร ในพื้นที่ แต่เมื่อไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และไม่ทราบถึงความคืบหน้าของโครงการ ทำให้ขาดข้อมูลในการตัดสินใจ ดังนั้นหน่วยงานของรัฐที่เป็น “เจ้าภาพ” โครงการนี้ และ “เอกชน” เจ้าของโครงการ ต้อให้ความสำคัญในเรื่องการ ประชาสัมพันธ์ ที่ต้องต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพได้รับทราบ และมีข้อมูลในการตัดสินใจ จึงขอฝากเรื่องนี้ให้กับ หน่วยงานของรัฐ และ เอกชน เจ้าของโครงการเพื่อพิจารณา