เปิดใจ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ กับ บทบาทในการทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารในสภาและการทำหน้าที่ ส.ส. ผู้แทนของประชาชน
1. มองโอกาสของพรรคเล็ก ต่อการแก้ไขกม.ลูก2ฉบับอย่างไรในการเลือกตั้งครั้งหน้า
การเลือกตั้งบัติ 2ใบ ก็คือ เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ มันเป็นไปตามหลักการของประชาธิปไตย แต่ตอนนี้เรียนว่า คณะกรรมการธิการวิสามัญ การแก้ไขกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ด้วยการเมือง กำลังพิจารณาซึ่ง ก็เป็นที่ถกเถียงกัน ถึงแม้ว่าในฝ่าย ส่วนใหญ่จะเห็นว่า การคิดคะแนนเลือกตั้ง ในส่วน สส แบบบัญชีรายชื่อ คือจะต้องเอา 100 ไปหารผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งแบบพรรคการเมืองทั้งประเทศจะได้คะแนน สส แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน จะต้องมีคะแนนเท่าไร จากนั้นจะใช้คำนวน จำนวน สส พึงมีแต่ละพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเลือกตั้งทั้งประเทศ ว่าจะได้ สส ปาร์ตี้ลิสพรรคละกี่คน (ไม่เกินจำนวน 100 คน) ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่ ที่คะแนนมีความสัมพันธิ์โดยตรงกับปาร์ตี้ลิส แต่มีบางกระแสข่าวว่าจะใช้วิธีคิดคะแนนแบบการเลือกตั้งอย่างบัตรใบเดียว คือ เอา 500 ที่เป็นจำนวน ส.ส.ทั้งหมดไปหารคะแนนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด เป็นคะแนนของ สส พึงมีแต่ละคน (จำนวน 500 คน) พรรคการเมืองจะมี สส กี่คนอยู่ที่คะแนนรวมที่ผู้มีสิทธิทั้งประเทศเลือก และถ้าได้ สส เขตเท่าไรก็เอาไปลบออกเหมือนในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา วิธีนี้ก็จะทำให้พรรคใหญ่ที่ได้ สส เขตมากเมื่อเอาจำนวน สส เขตไปลบออกแล้วอาจจะไม่ได้ สส ปาร์ตี้ลิสเลยหรือได้น้อย ซึ่งเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่แก้ไขก็คือ เป็นบัตร 2 ใบ เป็นการคู่ขนาน ก็คือ สส ปาร์ตี้ลิสจำนวน 100 คนก็ เอา 100 หารผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งว่า สส ปาร์ตี้ลิส 1 คน ควรมีคะแนนเท่าไหร่ แล้วไปดูคะแนนผลการเลือกตั้งพรรคการเมืองต่างๆว่าจะได้ สนปาร์ตีลิสกี่คน จะสมเหตุสมผลกว่า อย่าไรก็ตามวิธีคิดคะแนน อยู่ที่มติของสมาชิกรัฐสภาที่มี ทั้ง ส.ส.และ ส.ว.รวมอยู่ด้วย เท่าที่ฟังดู ทางฝ่ายพรรคพลังประชารัฐ และพรรคฝ่ายรัฐบาลบางพรรค กับฝ่าย สว. ยังไม่แสดงท่าที ที่ชัดเจน มติรัฐสภาต้องใช้เสียงข้างมาก แต่สำหรับพรรคประชาชาติ เราคิดว่า ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด พรรคประชาชาติได้เตรียมไว้ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้งนี้พรรคประชาชาติจะมี ลักษณะต่างกับพรรคอื่นที่เป็นพรรคส่งเสริมพหุวัฒนธรรม ไม่มีผลมากนัก เราสามารถปรับตัวได้ แต่สำหรับพรรคเล็กอื่น เราก็ต้องยอมรับอาจเสียเปรียบพรรคใหญ่เพราะเวลาประชาชนจะเลือกพรรคการเมืองเขาก็ตะไปเลือกพรรคที่จะไปเป็นรัฐบาล คือพรรคใหญ่ ก็จะทำให้ส.ส.ปาร์ตี้ลิส ของพรรคใหญ่จะเยอะขึ้น แต่ส่วนพรรคประชาชาติ เป็นพรรคเชิงประเด็น เชิงการแก้ปัญหา ที่เป็นปัญหาของคนด้อยโอกส คนเหลื่อมล้ำ เราก็จะได้ประโยชน์ ในกลุ่มคนพวกนี้ที่จะมาเลือก
2. ประเมินไม่ว่า การเลือกตั้งรอบหน้า ฐานเสียงในภาคใต้ จะมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด
ผมคิดว่าการเลือกตั้งทุกครั้งอยู่ที่ความนิยมและความเชื่อมั่นของประชาชน จะดุเดือดการแข่งขันมีทั้งประเทศ การเลือกตั้งใหม่ สส. เขต 400 คน การแพ้ชนะ ส.ส. เขตมันจะอยู่ที่ 1. คะแนนความนิยมพรรค 2.คะแนนนิยมตัวความบุคคล 3.หนีไม่พ้นที่เราจะต้องมาพบปะประชาชน ก็คือ ความเชื่อของมวลชน ซึ่งในส่วนของพรรคประชาชาติ เป็นพรรคที่เราเกิดมา เราต้องการเป็นใหญ่ แต่ในความเป็นไปได้ ฐานของเราเริ่มต้น ใน 3 จังหวัด เราก็คิดว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 12 เขต ก็เป็นจุดหนึ่งที่เป็นจุดแข็ง และนอกจากนั้นเราก็ยังเชื่อว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เราอยากจะเห็นว่าพรรคประชาชาติควรจะเป็นรัฐบาลที่จะมาแก้ปัญหา เราเชื่อมั่นว่าถ้าเราเป็นรัฐบาล ปัญหาของประเทศชาติปัญหาความยากจนปัญหาความเหลื่อมล้ำปัญหาความ อยุติธรรมต่างๆปัญหาใหญ่ก็คือปัญหาคนไม่เท่ากับคน คือยังมีการพัฒนาเชิงนายทุนมาก่อนประชาชนมาทีหลัง พรรคประชาชาติจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้ และเราเชื่อว่าการแก้ปัญหาในลักษณะโครงสร้างให้สมดุล มันจะแก้ไขปัญหาประเทศชาติโดยเร็ว
วันนี้ประชาชนเราตื่นรู้ ผมอยากให้มองว่ามันเป็นโอกาสของประชาชน การแข่งขันของบางพรรคและบางคนอาจจะเป็นการแข่งขันเรื่องอำนาจเรื่องเงินตราเป็นการประมาทประชาชนเกินไป ประชาชนจะมองว่าเขาจะมีอนาคต เขามีความหวังหรือไม่ เป็นเรื่องที่พรรคการเมืองจะต้องไปแข่งขันตรงนั้น ในพื้นที่ภาคใต้ก็ต้องยอมรับว่า เป็นพื้นที่ที่ประชาชนตื่นรู้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในสามจังหวัด ที่เราจะเห็นเวลาเลือกตั้งท้องถิ่น มีการเปลี่ยนแปลงคนเก่ามากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นไม่ใช่ว่าคนที่เคยได้เป็นส.ส.จะได้เป็นต่อ ก็ถือว่าเป็นพื้นที่แข่งขันและพื้นที่ที่มีลักษณะอัตลักษณ์จะต่างกับบางพื้นที่
3. มองว่าเราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลมอง และคาดหวังว่า จะได้เห็นอะไรใน การอภิปรายที่จะเกิดขึ้นรอบนี้อย่างไีร
จุดยืนของพรรค ในการอถิปรายไม่ไว้วางใจในฐานนะพรรคฝ่ายค้าน เมือเปิดการประชุมสภาสมัยหน้า ที่จะยื่น ไม่ไว้วางใจรัฐบาล ตามมาตรา 151 ในส่วนของพรรคประชาชาติ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เราทำงานเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นทีม ในขณะนี้แต่ละพรรคการเมือง ผมคิดว่าวันอภิปรายไม่สำคัญเท่าเนื้อหาข้อมูลที่จะอภิปราย ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ อย่ามองว่ารัฐบาลเสียเปรียบ เราต้องมองว่าฝ่ายค้านอาจจะเสียเปรียบก็ได้ ถ้าข้อมูลที่ไปอภิปราย เป็นข้อมูลที่ คือประชาชนฟังซ้ำๆอยู่ไม่มีอะไรใหม่ ซึ่งตรงนี้ก็ขอเรียนว่าในส่วนของพรรคประชาชาติ เราคิดว่าเรามีข้อมูลที่สามารถพูดไปแล้ว ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลไม่สมควรจะบริหารประเทศ หรือรัฐบาลต้องมาตอบคำถามว่าทำไมทำให้ประเทศชาติและประชาชนเสียหาย เป็นเรื่องที่สำคัญกว่าการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ผมให้ความสำคัญเรื่องเนื้อหาและข้อมูลข้อเท็จจริงที่จะใช้ในการอภิปรายมากครับ
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าถ้าเสียงในสภาของรัฐบาลเยอะกว่า เราก็มีปรากฏการณ์ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ยังไงรัฐบาลก็จะพยายามลากไป แต่เราก็อยากเห็นว่าการอภิปราย ถ้าเนื้อหาที่เราเห็นว่าชัดเจนจริงพรรคที่ร่วมรัฐบาลใกล้จะเลือกตั้ง ถ้าพรรคที่ร่วมรัฐบาลยังอุ้มไป เราคิดว่าความละอายต่อใจ หรือจะถูกประชาชนลงโทษอาจจะทำให้เปลี่ยนใจได้ ถ้าคนที่ไม่ได้กระทำผิดไม่ควรจะอุ้มคนที่กระทำผิด เราหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนะ
5. มองกรณีข่าวยุบพรรค ในซีกฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะเป็นก้าวไกล หรือเพื่อไทยอย่างไร
วันนี้บ้านเมืองเราเต็มไปด้วยข่าวลือ แต่ในข้อเท็จจริงอาจไม่มีจริง สำหรับสองพรรคที่ตั้งคำถาม ก็ยังไม่เห็น 2 พรรคได้ทำผิดอะไร พรรคที่จะควรยุบ ในความเห็นส่วนตัวควรเป็นพรรคของรัฐบาลมากกว่า ที่ทั้งเรื่องการครอบงำชัดเจน ทั้งการครอบงำการบริหารราชการและทั้งในสภาด้วย ทั้งเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการทุจริต ถ้าจะไปยุบพรรคควรยุบพรรคฝ่ายรัฐบาล กระแสที่ปล่อยให้ฝ่ายค้าน ก็น่าจะเป็นการต้องการที่จะให้ส.ส. ของพรรคบางพรรคให้ย้ายพรรคหรือย้ายข้างไปอยู่ฝ่ายรัฐบาลก็ได้ แต่มองเป็นอย่างนั้น ไม่เชื่อว่าจะทำอะไรแบบไม่มีหลักฐานนะ มองเหมือนเป็นเกมการเมืองเรื่องของจิตวิทยา เป็นวิธีเดียวที่จะทำลายฝ่ายตรงข้ามเพราะว่าเห็นกระแสนิยมของประชาชนที่มีต่อฝ่ายค้าน ในบางพื้นที่สูงมาก คนจะมาเลือกไปค้านเยอะ วิธีการหนึ่งที่จะบีบได้จะต้องถูกยุบพรรคการเมือง ผมเองไม่เชื่อว่าจะมีการทำได้ ถ้าเกิดมีการทำจริงๆและจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดีคือกระแสจะมานิยมฝ่ายค้านจะยิ่งมากขึ้น
6. ความสัมพันธ์ทักษิณ และความเป็นไปได้ที่พรรคประชาชาติจะเป็นพรรคสำรอง
ประเด็นที่เป็นพรรคสำรองต้องตอบว่าไม่ใช่ ไม่มี และผมมั่นใจว่าพรรคเพื่อไทยเต็มไปด้วยผู้รู้ทางกฎหมาย ผู้รู้ทางการวางยุทธศาสตร์ ทั้งพรรคเพื่อไทยรวมถึงพรรคก้าวไกลเท่าที่สัมผัส ท่านจะมีผู้หลักผู้ใหญ่ที่ดูเรื่องการทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ความเห็นว่าที่จะยุบ 2 พรรคนี้ ในสมองผมไม่มีเลย แต่ต้องเรียนว่าวันนี้ความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทยมันมีรากเหง้ามานานแล้ว ความขัดแย้งส่วนหนึ่งก็หนีไม่พ้น เกิดจากการยึดอำนาจปี 2490 เป็นต้นมา แล้วก็มันเป็นกระแสชาตินิยมกระแสของคนกลุ่มน้อยกับกระแสประชาธิปไตยและโดยเฉพาะกระแสความขัดแย้งใน 3 ทศวรรษหลังนี้ มันเกิดจากการพัฒนาชนบท ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย คนในชนบทมองว่าการเมืองนำไปสู่การกระจายอำนาจ กระจายทรัพยากรกระจายความอยู่ดีกินดี ให้กับประชาชน จึงมีกระแสโดยเฉพาะสมัยนายกทักษิณ จึงมีกระแสของคนชนบท หรือคนที่อยู่ห่างไกลว่าการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เป็นการเมืองที่สามารถทำให้ประชาชนมีความหวัง มีโอกาส และทำให้ประชาธิปไตยกินได้จนได้รับความเชื่อมั่นและนิยมชมชอบจากประชาชน จึงทำให้กลุ่มคนที่มุ้งเรื่องอำนาจนิยม รู้สึกเป็นความขัดแย้ง จึงเข้ามายึดอำนาจขึ้นและการยึดอำนาจครั้งนี้ พอยึดอำนาจมาหลายปีเราจะเห็นว่าวันนี้สิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าเผด็จการหรือการใช้อำนาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหรือความอยู่ดีกินดีของประชาชนได้ มันจึงเป็นความขัดแย้ง ดังนั้น อย่างที่เรียนว่าพรรคประชาชาติเป็นพรรคสํารองคงไม่ใช่ เพราะ พรรคประชาชาติเราพัฒนาตัวเองให้เป็นพระของประชาชน เวลาเราจะส่งผู้สมัคร อย่าง 12 เขต เราไปถามประชาชนนะไม่ได้ถามผู้สมัคร แต่วันนี้เราก็ถาม เช่น ทำโพธิ์บ้าง ถามกลุ่มบ้าง ว่าเขาก็จะเลือกคน ว่าควรจะเป็นคนนั้นคนนี้ ซึ่งอันนี้พอพรรคเราเป็นสถาบันของประชาชน เราจึงเป็นพรรคสำรองของพระใครไม่ได้
7. พล.อ.ประวิตร ให้ข่าวว่าจะยุบสภาหลังประชุมเอเปก 2565 คุณทวี คิดอย่างไร
อยากเรียนว่าในทางกฎหมายนี้ มันมีอำนาจของนายก ท่านนายกท่านจะอยู่ครบ 4 ปี ก็วันที่ 23 หรือ 22 มีนาคม 2566 คือรัฐบาลนี้ก็ต้องไป ตามวาระของรัฐธรรมนูญ แต่ว่าในเรื่องของการยุบสภาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว แต่ในมุมมองของผมและนายกรัฐมนตรีจะอยู่ได้ไม่เกินเดือนสิงหาคม เพราะว่ารัฐธรรมนูญเขียนไว้เป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 8 ปี ที่ท่านจะครบตามรัฐธรรมนูญอันนี้ได้มุมมองของผมนะครับ ซึ่งถ้าท่านจะคิดว่าท่านจะอยู่เกินเดือนสิงหาคมนี้ ท่านอาจจะใช้องค์กรอิสระหรือศาลรัฐธรรมนูญช่วยท่านแต่เชื่อว่าจะเป็นผลร้ายแต่ท่านด้วย ในทางความเห็นของผม เมื่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับแก้ไขเสร็จซึ่งคาดว่าเดือนพฤษภาคม คงเสร็จๆแล้ว ในหลักการท่านควรจะยุบเพราะว่ารัฐธรรมนูญเปลี่ยนไปแล้ว ระบบการเลือกตั้งเป็นไปแล้ว เมื่อไม่มีกฎหมายมาบังคับ อยากให้ท่านมองท่านนายกอภิสิทธิ์ เมื่อปี 2554 เราได้แก้รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นลักษณะอย่างนี้ พอแก้เสร็จกฎหมายประกอบเสร็จท่านก็ยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ การเลือกตั้งเป็นเรื่องที่เปิดโอกาส คืนอำนาจให้ประชาชน และในกติกาที่เราเห็นร่วมกัน อันนี้ผมคิดว่าควรจะมีการยุบสภา หลังจากการแก้กฎหมายลูกเสร็จ ส่วนจะยุบสภาผู้แทนหรือ ไม่ยุบ นี้เป็นอำนาจท่านนายกเพียงผู้เดียว ที่พฤติกรรมท่านนายกมองเป็นเรื่องของการบริหาร อำนาจ ผลประโยชน์และตำแหน่งมากกว่า มองประชาชน ซึ่งก็ยากที่จะเข้าใจท่านได้