รองผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดนิทรรศการในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทานครบ 120 ปี

รองผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดนิทรรศการในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทานครบ 120 ปี

ศรีสะเกษ !! รองผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดนิทรรศการในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทานครบ 120 ปี
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. ที่ห้องชุมโครงการชลประทานจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมืองศรีสะเกษ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทานครบ 120 ปี โดยมีนายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ นำตัวแทนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานในจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วยโครงการชลประทานศรีสะเกษ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่างและโครงกำรส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวนา ร่วมในพิธีเปิดนิทรรศการในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทานครบ 120 ปี 13 มิถุนายน 2565 เป็นจำนวนมาก
นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ กล่าวว่า การจัดนิทรรศการในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทาน ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มิถุนายน ของทุกปี กรมชลประทาน ได้จัดขึ้นเป็นประจำทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แต่ด้วยสถานการณ์ การแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด -19 ทำให้รูปแบบของการจัดนิทรรศการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ และในปี 2565 สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย กรมชลประทานจึงได้มีนโยบำยให้จัดกิจกรรมและนิทรรศการขึ้นในทุกจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและความก้าวหน้าโครงการที่สำคัญในจังหวัด ให้กับส่วนราชการ/กลุ่มผู้ใช้น้ำ/ผู้น ำท้องถิ่น/นักเรียนนักศึกษาได้ทราบ ซึ่งจังหวัดศรีษะเกษมีกำหนดจัด นิทรรศการในระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนำยน 2565 ที่โครงการชลประทานศรีสะเกษ ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย การเสวนาในหัวข้อ”การปรับเปลี่ยนปลูกพืชมูลค่าสูงในเขตชลประทำน” การประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การบริหารจัดการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ่ การแสดงนิทรรศการงานด้านบริหารจัดการน้ำและความก้าวหน้าโครงการสำคัญ รวม 12 จุด ประกอบด้วยโครงการพระราชดำริ จ.ศรีสะเกษ การบริหารจัดการน้ำจ.ศรีสะเกษ โครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำห้วยคล้า พื้นที่นำร่องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอำเภอเมืองจันทร์และอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ รางวัตชนะเลิศระดับกรมปี 65 นวัตกรรมกระบวนการสแกน&คลิก รู้เขตชลประทาน ความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาเขื่อนราศีไศล ความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาเขื่อนหัวนา ข้าวโพดหลังนาทางเลือก&ทางรอด ความก้าวหน้าการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ตำบลดู่ อ.ศิลาลาดความก้าวหน้าการก่อสร้าง ปตร.ห้วยสำราญ ความกว้าวหน้าการก่สร้าง ฝายบ้านสะเต็ง (ฝ่ายพับได้แห่งแรกในภาคอีสาน) และน้ำใต้ดินทางเลือกในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5.5 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 3.4 ล้านไร่ และเป็นนาข้าวประมาณ 3 ล้านไร่ มีแหล่งน้ำทั้งจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 3,700 แห่ง ลำห้วยและคลองประมาณ 6,700 กม. ในจำนวนแหล่งน้ำดังกล่าว เป็นแหล่งน้ำที่ดูแลรับผิดชอบของกรมชลประทานโดยตรง ประกอบด้วย เขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 16 แห่ง และแหล่งน้ำที่เป็นโครงการพระราชดำริ 58 แห่ง คลองส่งน้ำและระบบส่งน้ำความยาวประมาณ 244 กม. จังหวัดศรีสะเกษมีปริมาณฝนแฉลี่ยประมาณ 1,445 มม./ปี ปริมาณน้ำท่าประมาณ 2-5 พันล้าน ลบ.ม./ปี จากการประเมินน้ำปริมาณน้ำที่เก็บกักได้ในแหล่งน้ำทั้งจังหวัด ณ สิ้นสุดฤดูฝนปี 2563 ประมาณ 600 ล้านลบ.ม. ในจำนวนนี้ เป็นแหล่งน้ำที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทานประมาณ 347 ล้าน ลบ.ม.และอีกประมาณ 253 ล้านลบ.ม. อยู่ในความดูแลของท้องถิ่นและส่วนราชการอื่น ด้านพื้นที่ชลประทาน กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจโดยตรงในการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน จากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ชลประทานในจังหวัดศรีสะเกษรวมประมาณ 400,000 ไร่ และยังอยู่ในความดูแลของกรมชลประทานประมาณ 200,000 ไร่ ที่เหลืออีกประมาณ 200,000 ไร่ เป็นพื้นที่ชลประทานที่ดูแสโดยท้องถิ่นและส่วนราชการอื่น พืชที่ปลูกในเขตชลประทาน 95 % เป็นนาข้าวและอีก 5 % เป็นพืชไร่และพืชอื่นๆ และจากการติดตามข้อมูลต่างๆพบว่าเกือบทั้งหมด เป็นข้าวคุณภาพทั่วไป จะมีพืชที่ชลประทานบางส่วนที่ผลผลิตข้าวคุณภาพประเภทข้าวพันธุ์ ได้แก่ บางส่วนของพื้นที่ชลประทานอ่างฯห้วยตามาย เป็นตัน และนอกจากนี้ ในฤดูแล้งเกือบ100% จะปลูกข้าวนาปรัง
***********


ข่าว/ภาพ บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม