ราชบุรี – รฟท.จัดพิธีเชื่อมต่อสะพานขึงรถไฟ ข้ามแม่น้ำแม่กลองแห่งแรกในประเทศไทย

ราชบุรี – รฟท.จัดพิธีเชื่อมต่อสะพานขึงรถไฟ ข้ามแม่น้ำแม่กลองแห่งแรกในประเทศไทย

ราชบุรี – รฟท.จัดพิธีเชื่อมต่อสะพานขึงรถไฟ ข้ามแม่น้ำแม่กลองแห่งแรกในประเทศไทย

วันนี้ (24 มิ.ย.) จัดพิธีเชื่อมต่อบรรจบสะพานขึงรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงสุดท้าย แห่งแรกในประเทศไทย โดยมีนายอุดม เพชรคุต รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายจเร รุ่นฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย, พลตรีวิกร เลิศวัชรา รองเจ้ากรมการทหารช่าง,นายดนุช ยนตรรักษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ.เอส, แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด และน.ส.กุลวลี นพอมรบดี สส.ราชบุรี เขต1 เข้าร่วมเปิดพิธีเชื่อมตักช่วง สุดท้ายบรรจบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลอง บริเวณสถานที่ก่อสร้างสะพานฝั่งค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จ.ราชบุรี

เนื่องด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ผู้ดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล ระยะทางประมาณ 13 กม. โดยมีบริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วง นครปฐม-หัวหิน สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล ระยะทางประมาณ 93 กม. มีมูลค่างานก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 8,198,000,000 บาท

การก่อสร้างสะพานแห่งนี้เป็นผลสัมฤทธิ์จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทีเกี่ยวข้อง ในการร่วมแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้าง ที่สืบเนื่องมาจากการตรวจพบวัตถุระเบิดสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ในลำน้ำในบริเวณที่จะทำการก่อสร้างสะพานรถไฟ ซึ่งเดิมมีรูปแบบเป็นสะพานเหล็ก แบบมีเสาตอม่ออยู่ในลำน้ำ รูปแบบเดียวกันกับสะพานจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน และจากผลการสำรวจได้มีข้อสรุป ว่าการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดจะมีความเสี่ยงสูงและใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนาน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสะพานรถไฟเป็นแบบผสม กล่าวคือ เป็น แบบคานคอนกรีตสมดุล (Balance Cantilever) ผสมกับการมีเคเบิ้ลขึง (Tession Cable) เรียกชื่อว่าเป็นสะพาน แบบ Extradosed ซึ่งเป็นสะพานซึ่งสำหรับรถไฟแห่งแรกในประเทศไทย มีความยาวสะพานรวม 340 เมตร (1 ช่วงสะพาน 3 ช่วง) โดยช่วงสะพานที่ข้ามแม่น้ำแม่กลองมีความยาว 160 เมตร

ในปัจจุบันการก่อสร้างโครงสร้างหลักของสะพานแล้วเสร็จเกือบสมบูรณ์ และอยู่ในระหว่างการเตรียม ความพร้อมสำหรับการเทคอนกรีตโครงสร้างชิ้นสุดท้ายเพื่อเชื่อมต่อโครงสร้างสะพานทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน เมื่อการก่อสร้างสะพานและโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้การให้บริการเดินรถเชิงพาณิชย์ของรถไฟทางคู่สายใต้ มีความสมบูรณ์สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนได้ดีขึ้น อีกทั้งสะพานแห่งนี้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่จะ เป็นจุดเด่นและสถานที่ท่องเที่ยวของชาวจังหวัดราชบุรีต่อไป

///////////////////////////////////////////////

สุจินต์ นฤภัย (เต้) จ.ราชบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม