ราชบุรี-ชุมชนวัดโพธิ์ไพโรจน์เปิดศูนย์เรียนรู้ผักสวนครัว รั้วกินได้ กลางเมืองโพธาราม

ราชบุรี-ชุมชนวัดโพธิ์ไพโรจน์เปิดศูนย์เรียนรู้ผักสวนครัว รั้วกินได้ กลางเมืองโพธาราม

ราชบุรี-ชุมชนวัดโพธิ์ไพโรจน์เปิดศูนย์เรียนรู้ผักสวนครัว รั้วกินได้ กลางเมืองโพธาราม
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยังที่ทำการชุมชนวัดโพธิ์ไพโรจน์ ภายในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลโพธาราม ตั้งอยู่ในวัดโพธิ์ไพโรจน์ภายหลังทราบไอเดียเจ๋ง เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยการนำพืชผักสวนครัวหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาปลูกเพื่อเปิดให้ประชาชนที่มีความสนใจทางด้านสุขภาพเข้ามาศึกษาต่อยอดนำเม็ดพันธุ์กลับไปปลูกที่บ้าน โดยที่ผ่านมามีประชาชน หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจและยื่นมือเข้ามาสนับสนุนพันธุ์ไม้ต่างๆ เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ใจกลางเมือง สำหรับศูนย์เรียนรู้แห่งนี้มีนางเล็ก เลิศผดุงวิทย์ เป็นประธานชุมชนศูนย์เรียนรู้ และมีคณะกรรมการ ที่มีความรู้ในด้านการเกษร ที่สามารถอธิบายรวมถึงสามารถให้ข้อมูลถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของพืชผักแต่ละชนิดได้
นายภาณุ นาคงาม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงบาลโพธาราม ที่ปรึกษาคณะกรรมการชุมชนวัดโพธิ์ไพโรจน์ กล่าวว่า ชุมชนวัดโพธิ์ไพโรจน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลโพธารามได้จัดกิจกรรมผักสวนครัว รั้ว กินได้ซึ่งเราเป็นชุมชนเมืองห่างไกลการเป็นชนบทค่อนข้างจะเยอะ เราเป็นชุมชนเมืองที่มีความพัฒนาเจริญรุ่งเรืองสูง เราก็เลยนำประเด็นตรงนี้มาคิดว่าการเจริญที่ก้าวหน้าสูงมีผลต่อสุขภาพไหม อย่างชุมชนเมืองที่ผมดูแลอยู่มีการเจ็บป่วยเยอะมาก และการเข้าถึงสุขภาพก็เป็นไปได้น้อยส่วนมากจะไปที่อื่นกันหมดก็เลยเอาประเด็นผักสวนครัว รั้วกินได้ที่ในหลวงราชกาลที่9ที่พระราชทานไว้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนเมืองเดินไปด้วยสุขภาพที่ดีได้ก็เลยไปร่วมรวมและปรึกษาคณะกรรมการชุมชนและขอรับข้อมูลจากชาวบ้านร่วมกับปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทางเทศบาลโพธาราม องค์กรภาคีเครือข่าย วัด โรงเรียน หรือองค์กรนอกที่มีความสนใจทางด้านนี้เรียกเข้ามาประชุม ซึ่งได้รับความเอื้อเฟื้ออย่างดีเลยโดยเฉพาะองค์กรนอกนะครับเช่นโรงไฟฟ้าซึ่งอยู่ในเขตราชบุรี จำนวนมากได้นำพืชผัก พืชเถา ซึ่งเป็นห่วงเป็นใยเรื่องสุขภาพ พืชผักและวิธีการที่จะทำอย่างไรให้สุขภาพในชุมชนเมืองอยู่ได้ แต่เรามาแตกแขนงทางความคิดทางด้านวัตถุประสงค์คือเราจะทำอย่างไร คือพิชผักเหล่านี้เรามีจุดเริ่มต้นที่จะทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเมือง ส่วนที่2คือเราแจกพืชพันธุ์ไปตามบ้าน และที่พิเศษกว่านั้นคือทางทีมงานของเราคณะกรรมการของเราจะตามไปเยี่ยมบ้าน เหมือนเยี่ยมคนไข้1คนเลย ไปเยี่ยมไปดูแลเพื่อดูสุขภาพที่จะได้รับอาหาร เช่นบ้านนี้ปลูกผักชนิดนี้ และจะกินอย่างไรให้เกิดสุขภาพที่ดีเราจะไปอธิบาย ถ้าเมื่อใดก็ตามผักที่ขอไปเกิดเหี่ยวตาย เราก็จะไปช่วยเสริม และสิ่งที่ได้มาคือความรักความห่วงใยสุขภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมชุมชนเมืองไม่ค่อยได้สนใจ ก็จะซื้อบริการสุขภาพอย่างเดียวอย่างเช่นมีทีวีก็คือดูทีวีอย่างเดียว ทีวีในบ้านของเราก็คือผลผลิตอยู่ในบ้านของเรา เราสามารถเดินออกมานอกบ้านมาอธิบายว่าแตกต่างจากชุมชนชนบทอย่างไร ไม่มีพื้นที่ เราอยู่ในเมืองก็ทำได้ และทำแล้วไม่ถูกทอดทิ้งเรามีพี่เลี้ยงของเราคือคณะกรรมการที่มีความรู้เดินไปช่วยดูแลอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตการต่อยอดก็จะเป็นไปได้ง่ายขึ้น จากที่เราสัมผัสมาก็คือชุมชนเมืองไม่ค่อยให้ความสนใจด้านสุขถาพ มัดจะซื้อบริการอย่างเดียว แต่ต่อไปในสภาวะเศรฐกิจโลกที่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆมันจะดีขึ้นโดยใช้วิถึชาวบ้านมาประยุคเขตเมือง โดยที่เราจะไม่ทอดทิ้งกันเราใช้ใจแลกใจกัน ศูนย์เรียนรู้เราเปิดให้เข้ามาศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา คือเปิดทุกวันไม่มีวันหยุด จะเป็นหน่วยงาน โรงเรียน เข้ามาได้ครับเรามีคณะกรรมการค่อยให้คำแนะนำ และเราเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนแล้ว เรายังและเป็นศูนย์การเรียนการสอนของ กศน.ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้แขนงอื่นๆอีกด้วย และถ้าชาวบ้านต่างตำบลหรือต่างอำเภอจะเข้ามาศึกษาทางเราก็ยินดีต้อนรับ จะเป็นชุมชนเมืองหรือชุมชนชนบทเราแลกเปลี่ยนกันได้ สำหรับศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ไพโรจน์ เขตเทศบาลโพธาราม

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม