บิ๊กโจ๊ก ตรวจชื่นชม สมาร์ท เซฟตี้ โซน สภ เมืองมุกดาหาร

บิ๊กโจ๊ก ตรวจชื่นชม สมาร์ท เซฟตี้ โซน สภ เมืองมุกดาหาร

มุกดาหาร บิ๊กโจ๊ก ตรวจชื่นชม สมาร์ท เซฟตี้ โซน สภ เมืองมุกดาหาร
มุกดาหาร – บิ๊กโจ๊ก ตรวจชื่นชมโครงการ สมาร์ท เซฟตี้ โซน (SMART SAFETY ZONE 4.0 ) สภ.เมืองมุกดาหาร ทำดีเป็นระบบนำเทคโนโลยีมาใช้ป้องกันอาชญากรรม
เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 65 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป.1) ประธานกรรมการประเมินโครงการ สมาร์ท เซฟตี้ โซน 4.0 ( SMART SAFETY ZONE 4.0 ) พร้อมด้วยคณะะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินการโครงการ สภ.เมืองมุกดาหาร ซึ่งเป็นโรงพักนำร่อง หนึ่งในร้อยสถานีตำรวจ เฟสที่ 2 ตามโครงการตลอดจนติดตามความคืบหน้า ในการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการป้องกันอาชญากรรม เพื่อให้การป้องกันอาชญากรรมในโครงการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี พล.ต.ต.ชัชชัย วงค์สุนะ ผบก.ภ.จว.มุกดาหาร , พ.ต.อ.เกียรติภูมิ สุวรรณไตรย์ ผกก.สภ.เมืองมุกดาหาร พ.ต.ท.ฉัตรมงคล บุญกลาง รอง ผกก.สืบสวน สภ.เมืองมุกดาหาร และภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรม (Big SIX) ในพื้นที่ตามโครงการ โดยมีตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และสื่อมวลชน ร่วมรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินการโครงการ และชมวีดิทัศน์การปฏิบัติการที่สำคัญในโครงการ
สำหรับสถานที่สำคัญในเขต สมาร์ท เซฟตี้ โซน 4.0 (SMART SAFETY ZONE 4.0 ) สภ.เมืองมุกดาหาร 1.ร้านทอง 12 แห่ง 2.ธนาคาร 4 แห่ง 3.โรงพยาบาล 1 แห่ง 4.ส่วนราชการ 1 แห่ง 5.โรงแรม/ที่พัก 3 แห่ง 6.ตลาดอินโดจีน 7. ตลาดราตรี และ 8.วัด 2 แห่ง ขอบเขตพื้นที่โครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0 ความยาวถนนรอบพื้นที่ ระยะทาง 3.59 กิโลเมตร ขนาดพื้นที่จัดโครงการ ขนาด 0.42 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนยอดแก้วศรีวิชัย ชุมชนศรีสุมังค์ และชุมชนหลังศูนย์ราชการ ส่วนประชากรในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ประชากรรวม 33,017 คน เพศชาย 15,954 เพศหญิง 17,063 คน จำนวนครัวเรือน 1,251 หลังคาเรือน
การดำเนินการตามโครงการ สมาร์ท เซฟตี้ โซน 4.0 (SMART SAFETY ZONE 4.0 ) โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันเหตุอาชญากรรมในพื้นที่โครงการ ดังนี้ 1.จัดตั้งห้องศูนย์ปฏิบัติการควบคุมสั่งการ ccoc ประกอบด้วย ระบบวิทยุสื่อสาร,ระบบ Police I Lert U , ระบบ crimes , ระบบ Polce 4.0 , กล้อง license plate และจอแสดงพิกัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ 2.มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ประจำห้อง CCOC ตลอด 24 ชั่วโมง 3.มีการเชื่อมโยงกล้อง CCTV จากภาครัฐ และภาคเอกชน มายังห้อง CCOC 4.มีสายตรวจโดรนสำหรับ สังเกตการณ์ และสกัดจับคนร้าย 5.มีระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านทาง QR-CODE ในรูปแบบวิดีโอคอล 6.การรับแจ้งเหตุผ่าน Application Police I lert you และ LINE OA และ 7.ตู้แดง QR Code สแกนผ่าน Application Police 4.0 โดยร่วมบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ Big SIX เป็นประจำ โดยมีการจัดการประชุมคณะกรรมการ Big SIX ทุกเดือน และ มีการลงพื้นที่พบปะประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสอบถามความต้องการของประชาชน ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงจุดล่อแหลมต่างๆ ในพื้นที่โครงการ เช่น การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดไฟฟ้าส่องสว่าง, การติดตั้งกล้อง CCTV , การติดตั้งจุดตรวจตู้แดง QR-CODE ,การทำกิจกรรมปรับภูมิทัศน์ และประชาสัมพันธ์พื้นที่ในโครงการเป็นประจำ ซึ่งจากการสำรวจความหวาดกลัวและความเชื่อมั่น สภ.เมืองมุกดาหาร ประชาชนในพื้นที่โครงการ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ถึง เดือนมิถุนายน 2565 1.ระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนมีสถิติที่ลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือน ผ่านตัวชี้วัด ที่ สตช.กำหนดน้อยกว่าร้อยละ 40% ลงมา ( สภ.เมืองมุกดาหาร 19.58 ) 2.ระดับความพึงพอใจต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของตำรวจมีสถิติที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือนผ่านตามตัวชี้วัดที่ สตช. กำหนดมากกว่าร้อยละ 80% ขึ้นไป ( สภ.เมืองมุกดาหาร 92.25 )
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป.1) กล่าวว่า สมาร์ท เซฟตี้ โซน 4.0 (SMART SAFETY ZONE 4.0 ) เป็นแนวคิดของท่าน ผบ.ตร.ใช้การป้องกันนำมาปราบปราม ตามจริงแล้วโครงการนี้เป็นโครงการที่ ท่าน ผบ.ตร. ย่อมาจากโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเอาตำรวจมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น เวลาเกิดเหตุใตชุมชน ตำรวจสามารถปกป้องได้ เดิมมีตำรวจกับประชาชน ที่เพิ่มขึ้นมาคือเทคโนโลยี จึงต่อยอดมาเป็นดรงการ สมาร์ท เซฟตี้ โซน 4.0 (SMART SAFETY ZONE 4.0 ) ซึ่งเป็นเทรนใหม่ของโลก
ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป.1) กล่าวต่ออีกว่า การนำเทคโนโลยีมาเพิ่มมากขึ้น โครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0 เป็นการรองรับของผู้ว่า ฯ เป็นจังหวัด สมาร์ท ซิตี้ โครงการดังกล่าว เป็นอีกชื้อหนึ่งของ สมาร์ท ซิตี้ ที่มีตำรวจเป็นเจ้าภาพในด้านความปลอดภัย จังหวัดสมาร์ท ซิตี้ อาจจะมีหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือ ความปลอดภัย จึงเป็นที่ไปที่มาของโครงการนี้
การเริ่มต้นของโครงการนี้เริ่มต้นที่กรุงเทพก่อน จากการดำเนินการ SMART SAFETY ZONE 4.0 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่ง โดยมีผมเป็นตัวขับเคลื่อน โดยใช้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นการสำรวจ โดยโครงการที่ทำอยู่ ประชาชนเขาต้องการหรือเปล่า ถ้าทำไปแล้วประชาชนเขาไม่เอา เขาไม้ต้องการยังฝ่าฝืนทำอีก ไม่มีประโยชน์ต้องเลิก การสำรวจพบว่าประชาชนทั้งประเทศ มีความต้องการให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการต่อไป.. ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป.1) กล่าว…
*****************************


อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ // มุกดาหาร

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม