กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติชูความหลากหลายทางวัฒนธรรม จชต.สู่สันติสุข

กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติชูความหลากหลายทางวัฒนธรรม จชต.สู่สันติสุข

กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติชูความหลากหลายทางวัฒนธรรม จชต.สู่สันติสุข

วันนั้( 5 ส.ค.65) ที่บริเวณพื้นที่ วังจะบังติกอ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ชุมชนมุสลิม อ.เมือง จ.ปัตตานี
มีการ เสวนา “พหุวัฒนธรรม กินได้ คุณค่าและมูลค่าบนความแตกต่างที่หลากหลาย” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. และ พลตรี วัฒนา กรมขันธ์ เลขาธิการ กอ.รมน.ภาค 4 สน.
มีหัวหน้าส่วนราชการและพี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อต้องการให้เห็นคุณค่าจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสามารถหยิบยกไปต่อยอดสร้างเป็นมูลค่าด้านสังคม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว สอดคล้องกับนโบาย Soft Power ของรัฐบาลที่ต้องการนำคุณค่าทางวัฒนธรรมของพื้นที่สร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นการให้ความสำคัญกับมิติสังคมพหุวัฒนธรรมของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการสร้างสันติสุขในชายแดนใต้

พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เผยว่า การจัดงาน (พหุ) วัฒนธรรมกินได้ คุณค่าและมูลค่าบนความแตกต่างที่หลากหลายในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างว่าจะทำอย่างไรให้พื้นที่สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ ซึ่งก็แปลว่าทุกคนที่มีความแตกต่างที่อยู่ในพื้นที่ดูแลกัน โดยการปรับตัวเข้าหากัน เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ความสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเกิดขึ้น เมื่อทุกฝ่ายปรับตัวเข้าหากันด้วยความเข้าใจ

นายฉัตรชัย บางชวด รองเลขา สมช. กล่าวว่า การอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดปัตตานีนั้น ต้องเข้าใจท่านและท่านต้องเข้าใจเรา ดำรงอยู่และเข้าใจการ อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลาย

ด้านรองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า สำหรับ ศอ.บต. มีบทบาทในการขับเคลื่อนพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ 4 มิติ คือ 1.เป็นหน่วยปฏิบัติ นำงบประมาณจากรัฐบาล มาสนับสนุนเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้นำศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่และจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมแก่ประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสในการทำกิจกรรมที่สำคัญทางศาสนาในต่างประเทศ อาทิ การสนับสนุนประชาชนไปประกอบพิธีฮัจญ์ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย และส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยพุทธได้มีโอกาสไปแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดียและประเทศเนปาล

2.เป็นหน่วยประสานงานขับเคลื่อนพหุวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัด กอ.รมน. , สมช. และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวทาง soft power

3.เป็นหน่วยงานส่งเสริมมิติวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นที่รู้จัก

และ 4. เป็นหน่วยส่งเสริมอาชีพ ขับเคลื่อนพหุวัฒนธรรม อาทิ การส่งเสริมการเลี้ยงโคบาลในพื้นที่ ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้

ด้านนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในการเสวนาช่วงหนึ่ง ว่า ภาษา คือ หัวใจของ พหุวัฒนธรรม ที่ใช้ในการสื่อสารกันอย่างเข้าใจ จนเกิดเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจตามมา รัฐบาลให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมการศึกษาและด้านภาษาแก่เยาวชน โดยพัฒนาแบบมีส่วนร่วม สานต่อ และอำนวยความสะดวกตามความต้องการของประชาชน ที่จังหวัดปัตตานีมี Soft Power ด้านอาหาร วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นทุนทางสังคม ทำให้คนนอกพื้นที่ได้รู้จัก ประทับใจพื้นที่ปัตตานี
นอกจากนี้ สตรีถือว่า มีบทบาทในการเป็นผู้ดูแลคนในครอบครัว สังคม รัฐบาลจึงชูบทบาทของสตรี มาขับเคลื่อน Soft Power ที่เป็นพหุวัฒนธรรมของชายแดนใต้ เพื่อให้ต่อยอดไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
รองโฆษกรัฐบาลยังกล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งผู้แทนพิเศษ มาทำหน้าที่รับฟังปัญหาและสะท้อนเสียงประชาชน ที่ผ่านมาได้ดำเนินการในเรื่อง ปลดนกกรงหัวจุกออกจากสัตว์ป่าคุ้มครอง เพื่อให้สามารถต่อยอดเป็นอาชีพของคนใน จชต. โดยส่งเสริมให้ขึ้นทะเบียนถูกต้อง ขณะที่ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การบินไทยได้เปิดเส้นทางบินตรง ซาอุดิอาระเบีย – ไทย โดยให้การบินไทย ช่วยโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวชายแดนใต้ ทั้งนี้ มองว่า สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ มาจากความร่วมมือร่วมใจ และบทบาทของผู้หญิงที่จะมีส่วนไปผลักดัน

ภายในงานยังมีการจัดทำขนมโบราณ ตามกิจกรรม (พหุ) วัฒนธรรมกินได้ โดยมีขนม “มาดู กาตง” ขนม “ปูตูฮาลือบอ” ขนม “อาเก๊าะ” รวมถึงการจัดแสดงกีฬาปันจักสีลัต จากนั้นคณะได้เดินทางเยี่ยมชม และรับฟังการดำเนินงานสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิลักษณ์ชายแดนใต้ พร้อมร่วมกิจกรรมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ ในการสาธิตทำผ้าลีมาติก ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

สำหรับการจัดเสวนาฯ ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมลงพื้นที่ของคณะอนุกรรมการบริหารกลไกการสื่อสารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (อกส.จชต.) ภายใต้แผนงานสื่อสารสร้างความเข้าใจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม