ศรีสะเกษ !! สามจังหวัดทุ่งกุลาร้อง MOU พัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรทุ่งกุลาร้องด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพืชสมุนไพร
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ถนนเทพา ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปีจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นางสาวปราณี วงศ์บุตร หัวหน้าสำนักงจังหวัดมหาสารคาม ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัชศรีสะเกษ อ.สุบรรณ์ ทุมมา ผู้ช่วยอธิการบดีประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ มหาวิทยาลัยเท๕โนโลยีราชมงคลอีสาน และดร.นายวิวรรธน์ กฤษฎาสิมะ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพืชสมุนไพร โดยมีนายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ ร้อเอ็ด มหาสารคาม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรทั้ง 3 จังหวัด เข้าร่วมในพีธีเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมพืชสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยืนต่อไป
นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีมีพื้นที่ติดทุ่งกุลาร้องไห้ประกอบด้วย ๕ จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร และสุรินทร์ พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มีโจทย์ขับเคลื่อนทั้งเรื่อง ข้าวหอมมะลิ พืชหลังนา ปศุสัตว์ สิ่งทอ และรวมไปถึงพืช สมุนไพร โดยมีการเชื่อมโยงตลาดภาคเอกชนได้แก่ บริษัท โอสถสภา และบริษัทกุ้ยลิ้มฮี้ง ในการรับซื้อผลผลิตนำร่องใน ๓ จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และมหาสารคามและนำร่องสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ขิง ไพล และฟ้าทะลายโจร ที่มีการปลูกในพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ตามวาระขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด บนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร มีกลไกขับเคลื่อนระดับจังหวัด เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรที่จะผลิตด้วยแปลงที่มี GAP และได้รับมาตรฐาน Gl ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุเรียนภูเขาไฟ หอมแดง และพริก ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษถือเป็นดินแดนมหัศจรรย์ เพราะเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมีพื้นที่ปลูกหอมแดงอันดับ 1 ของประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเลี้ยงโคขุน เพื่อพัฒนายกระดับสู่การเป็นเนื้อระดับพรีเมียมในชื่อโคเนื้อดอกลำดวน และที่สำคัญยังมีพืชเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใหม่เป็นที่น่าสนใจของเกษตรกร คือ “กาแฟโรบัสต้าศรีสะเกษ” ที่มีคุณภาพสูงและเอกลักษ์เฉพาะตัว และพืชสมุนไพรที่จะผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของจังหวัดศรีสะเกษโดยมีพื้นที่ปลูกสมุนไพรทั้งสิ้น 317 ไร่ เกษตรกร 256 คน ประกอบด้วยฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ไพล มะขามป้อมกระเจี๊ยบแดง อัญชัน เพชรสังฆาต หญ้าดอกขาว รางจืด กระชายขาว ข่าเหลือง ขิง และมีการแปรรูปผลิตยาสมุนไพรและยาแผนโบราณที่โรงพยาบาลห้วยทับทัน และยังมีโรงพยาบาลขุนหาญ และโรงพยาบาลเบญจลักษ์ ที่มีโรงงงานแปรรูปอบแห้ง ทำลูกประคบ และผลิตเวชสำอาง นอกจากนี้พบว่าสมุนไพรที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ มีสารสำคัญสูงกว่าค่ามาตรฐานถึงร้อยละ 35 – 250 ปริมาณโลหะหนักและสารเคมีทางการเกษตรไม่เกินมาตรฐาน เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ผลิตยาสมุนไพรและเครื่องสำอางที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค การผลิตพืชสมุนไพรในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และความร่วมมือในการดำเนินงานทางจังหวัดศรีสะเกษ จะร่วมขับเคลื่อนและผลักดันในเรื่องต่างๆ ดังนี้ สนับสนุนและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากการดำเนินงานไปขยายผลสู่ชุมชน สร้างกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตพืช สมุนไพรให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด บรรจุแผนงานการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร การพัฒนาต่อยอดให้ได้มาตรฐานด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นแผนงานของจังหวัด เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับทักษะเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานในจังหวัด อาทิศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สำนักงานเกษตรจังหวัดสาธารณสุขจังหวัด รวมทั้งมหาวิทยาลัย ในการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันนำเทคโนโลยีไปขยายผลในวงกว้างสนับสนุนบุคลากร ทำหน้าที่รับผิดชอบประสานงานติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่ดำเนินงานของจังหวัดศรีสะเกษต่อไป
**************
ข่าว /ภาพ …… บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ