..สถาปัตยกรรมทางธรรมชาติอันโดดเด่น

..สถาปัตยกรรมทางธรรมชาติอันโดดเด่น

รังจีบหญิง ที่ยิ่งใหญ่ “รังนกกระจาบ” ..สถาปัตยกรรมทางธรรมชาติอันโดดเด่น

มีการเก็บข้อมูลของคนที่ทำสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ป่า อย่าง “นกกระจาบ” ที่จะต้องบินไปคาบเส้นใบไม้ มาสานทำรัง และพวกเขาต้องทำงานหนัก รังหนึ่งๆต้องบิน ถึงประมาณ 500 เที่ยว มันสร้างรังประมาณ 18 วัน รูปแบบหนึ่งของการดำรงเผ่าพันธุ์ของนกชนิดนี้ นกกระจาบจึงเป็นสถาปนิกแสนขยัน สร้างรังอันซับซ้อนและประณีต จนได้รับการยกย่องว่า เป็นนกช่างสานสถาปนิกเอกของโลกชนิดหนึ่ง แต่นกกระจาบ ที่ทิ้งรัง หรือร้างไปก็คือการสร้างไม่เสร็จ สังเกตว่า รังใด ไม่มีปล่องยาวๆต่อลงมา แสดงว่าเป็นรังร้าง ทำไมถึงร้าง ชีวิตสัตว์คล้ายชีวิตคน เรือนหอร้าง เพราะไร้ซึ่งคู่รัก สร้างแล้วไม่ถูกใจนกตัวเมีย “ไม่ถูกใจคู่รัก” ช่างน่าสงสารเห็นใจจริงๆ รังรักที่ประสบผลสำเร็จ ที่ตัวเมีย แสดงท่าทีพึงพอใจ ด้วยการมุดเข้าไปสำรวจในรัง และบินออกมาเกาะนอกรัง เป็นการส่งสัญญาณตกลงปลงใจ แม้พูดไม่ได้แต่เข้าใจกัน รังนกกระจาบ หรือเรือนหอ ส่วนใหญ่ที่พบเห็นพวกเขาจะสร้าง อยู่ทางด้านทิศตะวันออก เพื่อรับแสงแดดยามเช้า และอากาศไม่ร้อนเกินไปในช่วงบ่ายที่มีต้นไม้ด้านทิศตะวันตกบังเรือนหอของมันอยู่ ซึ่งอากาศไม่ร้อนเกินไป และจะไม่เป็นอันตรายต่อการวางไข่ นอกจากนี้แล้ว นกกระจาบธรรมดา ยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง ห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซากของมัน เพราะพวกมันเริ่มเป็นนกที่หายากมากขึ้น การเขียนถึงนกกระจาบ คือการเรียนรู้นิสัยของสัตว์อย่างนกกระจาบ เพื่อ ช่วยเสริมความเป็นผู้นำให้ เป็นผู้บริหารได้ดีเช่นกัน
เพราะ มนุษย์อย่างพวกเรา อาจเป็นสัตว์ประเสริฐ มีความฉลาด และมีความศิวิไลซ์มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ บนโลก แต่ก็สามารถเรียนรู้แง่มุม นิสัย หรือบุคลิกจากสัตว์หลากหลายชนิดได้เช่นกัน นอกจากนกกระจาบแล้ว เรายังสามารถเรียนรู้จากนิสัย ของนกอินทรีย์ได้ดีเช่นกัน ที่เขาชอบล่าเหยื่อ ที่ยังมีชีวิตเท่านั้น ซึ่งนำมาปรับใช้ในโลกแห่งการทำงานได้ว่า คนเป็นผู้นำจะต้องไม่ยึดติดอยู่แต่กับความสำเร็จเดิม ๆ ที่ผ่านมาแล้ว แต่ควรให้ความสำคัญกับอนาคต เป้าหมายที่ยังรอคอยอยู่ เป็นต้นฯ

บทความโดย/บก.น้ำ

สนใจลงโฆษณาโทร.093-3427988

บทความ รายงานพิเศษ