พังงา จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พังงา จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พังงา จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. ที่ วัดราษฎร์อุปถัมภ์ (วัดบางเหรียง) อ.ทับปุด จ.พังงา ว่าที่ร้อยตรี กิตติภพ รอดดอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานเปิดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โดยมี ศาล ทหาร ตำรวจ จิตอาสาพระราชทาน 904 หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี ถวายพระราชกุศล น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ พร้อมทั้งเป็นการรวมพลังความสามัคคีทำกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ให้เกิดความสะอาดสวยงามเหมาะสม

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 2  ในราชวงศ์จักรี พระราชสมภพ เมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตลอดระยะเวลาครองราชย์สมบัติ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2352 – พ.ศ.2367 เป็นเวลา 15 ปี ทรงพระวิริยอุตสาหะ ปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ ประกอบด้วย ด้านการค้ากับต่างประเทศ ทั้งชาวจีน แขก และฝรั่งชาติตะวันตก ด้านทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงบำเพ็ญพระองค์เป็นแบบอย่าง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทรงดำเนินนโยบายกับต่างประเทศแบบเป็นมิตรไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ ทำให้ในรัชสมัยของพระองค์ปราศจากสงคราม ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างสงบสุข ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยในสมัยนั้น มีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ท่านมีพระปรีชาสามารถ และมีพระอัจฉริยภาพ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ว่า ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ทรงสร้างสรรค์วรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนมาก เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ และหลวิชัยคาวี.

ภาพ ส.ปชส.พังงา

ศูนย์ข่าวภาคใต้ นสพ.แผ่นดินไทยโพสต์

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม